Business

ลดหย่อนภาษีปี 2564 สำคัญ!! รายการพื้นฐานที่ต้องรู้ รวมไว้ที่นี่

เช็คความพร้อม ยื่นภาษี รวมรายการลดหย่อนภาษีปี 2564 สำหรับคนไทยทุกคนที่มีเงินได้เกิน 120,000 บาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 

กรมสรรพากร กำหนดให้รายได้ที่จะนำมาหักภาษี จะคิดจากการนำเงินได้ทั้งปี หักค่าใช้จ่าย และหักลดหย่อนภาษีที่มีทั้งหมด โดยเงินได้ทั่วไป (เงินเดือน โบนัส หรือค่าจ้าง) สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 50% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท

ลดหย่อนภาษีปี 2564

หากรายได้สุทธิไม่เกิน 150,000 บาท ก็จะได้รับการยกเว้นภาษี แต่ถ้าเกินกว่านั้น ก็จะเสียภาษีในอัตราเริ่มต้น 5% และจะสูงขึ้นตามอัตราภาษีแบบขั้นบันได แต่รายการลดหย่อนภาษีจะช่วยทำให้รายได้สุทธิให้ลดลง จึงเสียภาษีน้อยกว่าคนที่ไม่มีรายการลดหย่อนภาษีเลย

รายการสำหรับใช้ลดหย่อนภาษีปี 2564

ลดหย่อนภาษีส่วนตัวและครอบครัว

1. ลดหย่อนภาษีส่วนตัว

ลดหย่อนได้ 60,000 บาททันที โดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ

2. ลดหย่อนภาษีคู่สมรส

ลดหย่อนได้ 60,000 บาท โดยต้องเป็นคู่สมรสที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย และคู่สมรสต้องไม่มีรายได้

3. ลดหย่อนภาษีบุตร

ลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท เฉพาะบุตรอายุไม่เกิน 20 ปี หรือไม่เกิน 25 ปีและกำลังเรียนอยู่

แต่ในกรณีลูกคนที่ 2 ขึ้นไป และเกิดตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นไป จะลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท

4. ลดหย่อนภาษีบิดามารดา

ลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท โดยบิดามารดาต้องมีอายุ 60 ปีขึ้นไป และมีรายได้ทั้งปีไม่เกิน 30,000 บาท โดยใช้สิทธิ์ซ้ำระหว่างพี่น้องไม่ได้

5. ลดหย่อนภาษีผู้พิการ

ลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท โดยผู้ลดหย่อนภาษีต้องเป็นผู้ดูแลที่ระบุอยู่ในบัตรคนพิการเท่านั้น

6. ค่าฝากครรภ์และทำคลอด

ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 60,000 บาท โดยครอบคลุมทั้งค่าฝากครรภ์ ค่ายาและเวชภัณฑ์ ค่าทำคลอด และค่ากินอยู่ในสถานพยาบาล

ลดหย่อนภาษีปี 2564

ลดหย่อนภาษีด้วยเบี้ยประกัน

1. เบี้ยประกันชีวิตทั่วไป รวมถึงประกันแบบสะสมทรัพย์

สามารถลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท โดยประกันต้องคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป

2. เบี้ยประกันสุขภาพตัวเอง

เบี้ยประกันสุขภาพ รวมถึงเบี้ยประกันอุบัติเหตุที่คุ้มครองสุขภาพ สามารถลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 25,000 บาท และเมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตทั่วไปแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท

3. เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา

ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่รวมกันไม่เกิน 15,000 บาท และสามารถรวมประกันสุขภาพพ่อแม่ของคู่สมรสมาลดหย่อนภาษีได้ ในกรณีที่คู่สมรสไม่มีรายได้

4. เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ

ลดหย่อนภาษีปี 2564ได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15% ของรายได้รวมทั้งปี และต้องไม่เกิน 200,000 บาท หรือต้องไม่เกิน 300,000 บาท หากไม่มีการลดหย่อนภาษีด้วยเบี้ยประกันชีวิต และเมื่อรวมกับหมวดการลงุทนเพื่อการเกษียณแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท

ลงทน ภาษี

ลดหย่อนภาษีด้วยการลงทุนกองทุน

1. กองทุนประกันสังคม

ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 5,100 บาท (จากเดิมไม่เกิน 9,000 บาท)

2. กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)

ลดหย่อนได้ไม่เกิน 30% ของรายได้รวมทั้งปี แต่ไม่เกิน 500,000 บาท เมื่อรวมกับกองทุนเพื่อการเกษียณอื่น ๆ

3. กองทุนบำเหน็จบำนาญราชการ (กบข.)/กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD)/กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน

ลดหย่อนได้ไม่เกิน 15% ของรายได้รวมทั้งปี แต่ไม่เกิน 500,000 บาท เมื่อรวมกับกองทุนเพื่อการเกษียณอื่น ๆ

4. กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF)

ลดหย่อนได้ไม่เกิน 30% ของรายได้รวมทั้งปี แต่ไม่เกิน 500,000 บาท เมื่อรวมกับกองทุนเพื่อการเกษียณอื่น ๆ

5. กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.)

ลดหย่อนได้ไม่เกิน 13,200 ต่อปี แต่ไม่เกิน 500,000 บาท เมื่อรวมกับกองทุนเพื่อการเกษียณอื่น ๆ

ลดหย่อนภาษีด้วยเงินบริจาค

1. เงินบริจาคทั่วไป

ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10% ของรายได้หลังหักค่าลดหย่อน

2. เงินบริจาคเพื่อการศึกษา กีฬา พัฒนาสังคม และโรงพยาบาลรัฐ

ลดหย่อนได้ 2 เท่าของเงินบริจาคจริง แต่ไม่เกิน 10% ของรายได้หลังหักค่าลดหย่อน

3. เงินบริจาคพรรคการเมือง

ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท

ภาษีบ้าน

ลดหย่อนกลุ่มอสังหาริมทรัพย์

1. ดอกเบี้ยที่อยู่อาศัย

สำหรับผู้ที่ซื้อบ้านหรือคอนโด สามารถนำดอกเบี้ยที่จ่ายให้กับธนาคารมาลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 100,000 บาท

วิธีตรวจสอบสิทธิลดหย่อน

1. เข้าเว็บไซต์กรรมสรรพากร

2. เลือก My Tax Account (บริการตรวจสอบข้อมูลลดหย่อนและสิทธิประโยชน์ทางภาษี)

3. คลิกเข้าระบบ กรอกหมายเลขผู้ใช้และรหัสผ่านเดียวกับระบบ e-Filing

4. เลือกรายการลดหย่อน

เอกสารที่ต้องเตรียมใช้สิทธิลดหย่อนภาษีปี 2564

รูปแบบการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามีอยู่ 2 แบบ คือ ภ.ง.ด.90 (สำหรับผู้มีรายได้นอกเหนือจากเงินเดือน) และ ภ.ง.ด.91 (สำหรับผู้มีรายได้เป็นเงินเดือนโดยไม่มีรายได้เสริมอื่น) และจะต้องเตรียมเอกสารดังนี้

  • หนังสือรับรองภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (ใบ 50 ทวิ) สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับใบ 50 ทวิ
  • รายการลดหย่อนภาษีที่รวบรวมทั้งปี เช่น ค่าเลี้ยงดูบุตร ค่าเลี้ยงดูบิดามารดา
  • เอกสารประกอบการลดหย่อนภาษี เพื่อกรอกแบบฟอร์มการยื่นจ่ายภาษี

สถานที่สำหรับการยื่นภาษี

  • ยื่นภาษีด้วยตัวเองที่กรมสรรพากร หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา
  • ยื่นภาษีออนไลน์ผ่านทางเว็บไซต์กรมสรรพากร https://www.rd.go.th
  • ยื่นภาษีผ่านแอปพลิเคชัน RD Smart Tax โดยการลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากรเป็นอันดับแรก จึงจะสามารถยื่นผ่านแอปพลิเคชันได้

จะเห็นได้ว่าการยื่นภาษีจะมีรายการลดหย่อนภาษีปี 2564 ขั้นพื้นฐานมากมาย ซึ่งอาจมากพอที่จะทำให้หลาย ๆ คนไม่ต้องเสียภาษี แต่สำหรับผู้ที่มีเงินเดือนสูง รายการลดหย่อนภาษีพื้นฐานและมาตรการพิเศษต่าง ๆ ทุกรายการ ก็ถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ประหยัดภาษีได้มากที่สุด

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo