Business

เช็คด่วน!! นายจ้างต้องรู้ 8 ขั้นตอนนำเข้าต่างด้าว – คุมเข้มสกัดโควิด-19

แรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน แจงยิบขั้นตอนนำแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงาน กับนายจ้างในประเทศตาม MOU ภายใต้สถานการณ์โควิด-19 เพื่อรับทราบ 8 ขั้นตอนนำเข้า พร้อมระยะเวลาดำเนินการ ค่าใช้จ่ายแต่ละขั้นตอน คุมเข้มการแพร่ระบาดโควิด-19 ในประเทศ 

กรมการจัดหางาน แจ้งสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ประชุมชี้แจงแนวทางการนำแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงาน ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในวันนี้ (30 พ.ย.) เพื่อให้นายจ้าง สถานประกอบการ และผู้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวมาทำงาน ได้รับทราบขั้นตอนการนำเข้า การจัดเตรียมเอกสารเพื่อดำเนินการยื่นคำร้องขอนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศ

ก่อนหน้านี้ ที่ประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2564 มีมติรับแรงงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ เข้ามาทำงานตามบันทึกข้อตกลงอย่างถูกกฎหมาย

แรงงานต่างด้าว

 

แรงงานต่างด้าว เปิด 8 ขั้นตอนนำเข้า 

ล่าสุด กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการต่างประเทศ และตัวแทนผู้ประกอบการ ได้สรุปขั้นตอนการนำแรงงานต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศตาม MOU (ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019) ทั้งหมด 8 ขั้นตอน ประกอบด้วย
1.การยื่นแบบคำร้อง
ขอนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศ

ยื่น ณ กรมการจัดหางาน/สจจ. สจก. 1-10
ที่สถานประกอบการตั้งอยู่โดยมีเอกสารและหลักฐาน
– แบบ นจ.2
– หนังสือแต่งตั้ง
– สัญญาจ้างงาน
– เอกสารนายจ้าง

ระยะเวลาดำเนินการ 4 วันทำการ

2. การจัดส่งคำร้องความต้องการจ้าง
แรงงานต่างด้าว
กรมการจัดหางาน/สจจ. สจก. 1-10 มีหนังสือ แจ้งความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าว ผ่านสถานทูตประเทศต้นทางประจำประเทศไทย ไปยังประเทศต้นทาง

ระยะเวลาดำเนินการ 3 วันทำการ

3.การดำเนินการของประเทศต้นทาง
รับสมัคร คัดเลือก ทำสัญญา และทำ Name List ส่งให้กรมการจัดหางานผ่านสถานทูตประเทศ ต้นทางประจำประเทศไทย กรมการจัดหางาน
จัดส่งบัญชีรายชื่อคนงานต่างด้าวให้กับนายจ้าง

ระยะเวลาดำเนินการของประเทศต้นทาง

4.การยื่นคำขอรับใบอนุญาตทำงาน
แทนคนต่างด้าว
ยื่น ณ สจจ./สจก. 1-10 ที่สถานประกอบการตั้งอยู่
โดยมีเอกสาร และหลักฐาน
1. บัญชีรายชื่อคนต่างด้าวที่ประเทศต้นทางรับรอง
2. แบบ บต.31 หรือ บต.33 พร้อมเอกสารและหลักฐาน
3. หลักฐานการได้รับวัคซีนโควิด-19 หรือใบรับรองแสดงประวัติการเคยติดเชื้อมาก่อนในช่วงไม่เกิน 3 เดือน
4. หนังสือยืนยันการรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องในการกักตัว ได้แก่ ค่าสถานที่กักกัน ค่าตรวจโรคโควิด-19 ค่าบริการทางการแพทย์ ค่ารักษากรณีติดเชื้อโควิด-19 รวมถึงกรณีป่วย
ฉุกเฉินหรือโรคอื่นระหว่างกักตัว/กรมธรรม์ที่คุ้มครองการรักษาโรคโควิด -19
5. หลักฐานยืนยันว่ามีสถานที่กักตัวตามที่ราชการกำหนด
6. หลักฐานที่ยืนยันว่ามียานพาหนะเพื่อรับคนต่างด้าวไปยังสถานที่กักตัว
7. กรณีเข้าประกันสังคมซื้อประกันสุขภาพกับบริษัทประกันภัย 4 เดือน
8. กรณีเข้าประกันสังคม นายจ้างแจ้งขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตน
– ชำระค่าคำขอและค่าใบอนุญาตทำงาน (2 ปี) 1,900 บาท
– วางเงินประกัน (กรณีนายจ้างดำเนินการด้วยตนเอง)
หลักประกัน 1,000 บาท/คนต่างด้าว 1 คน
ระยะเวลาดำเนินการ 4 วันทำการ

5.การอนุญาตให้นำคนต่างด้าว
เข้ามาทำงานกับนายจ้างในประเทศ
กรมการจัดหางานออกหนังสือ
– แจ้งสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ ประเทศต้นทาง (กัมพูชา ลาว) / สถานเอกอัครราชทูตเมียนมาประจำประเทศไทย
– แจ้งสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) ค่าธรรมเนียมตรวจลงตราวีซ่า 2,000 บาท/คน ณ สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ ประเทศ
ต้นทาง (ลาว/กัมพูชา)หรือ ณ ด่านตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) (เมียนมา)
* อนุญาตให้นำเข้าตามจำนวนสถานที่รองรับ
ในการกักตัว โดยห่างกันตามระยะเวลา
การกักตัว (7 วัน หรือ 14 วัน) ระยะเวลาดำเนินการ 3 วันทำการ

6. จุดผ่านแดน/ด่านตรวจคนเข้าเมือง
คนต่างด้าวแสดงหลักฐาน
1. หนังสือยืนยันการอนุญาตให้เข้ามาทำงานพร้อมบัญชี
รายชื่อ
2. ใบรับรองแพทย์ที่แสดงว่าไม่เป็นโรคโควิด-19 (โดยวิธีRT-PCR หรือ ATK ไม่เกิน 72 ชั่วโมงก่อนเดินทาง)
3. หลักฐานการได้รับวัคซีนโควิด-19 หรือใบรับรองแสดง ประวัติการเคยติดเชื้อมาก่อนในช่วงไม่เกิน 3 เดือน
4. ตรวจลงตราอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร 2 ปี
5. เดินทางไปยังสถานที่กักตัวโดยยานพาหนะที่แจ้งไว้ (ไม่เดินทางร่วมกับบุคคลอื่น และหยุดพัก ณ สถานที่ใดๆก่อนถึงสถานที่กักกัน)
ระยะเวลาดำเนินการ 1 วันทำการ

แรงงานต่างด้าว

แรงงานต่างด้าว  กำหนดระยะเวลากักตัว

7. สถานที่กักตัว
1. ตรวจสุขภาพ 6 โรค ตามกฎกระทรวงกำหนดคุณสมบัติและโรคต้องห้าม
2. กรณีฉีดวัคซีนครบโดส เข้ารับการกักตัวอย่างน้อย 7 วัน ขณะอยู่ในสถานที่กักตัวตรวจโรคโควิด -19 จ านวน 2 ครั้ง (โดยวิธี RT-PCR)
ครั้งที่ 1 ไม่เกินวันแรกของการกักตัว
ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 6-7 ของระยะเวลาที่ถูกกักตัว
3. กรณีฉีดวัคซีนยังไม่ครบตามเกณฑ์หรือยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีน เข้ารับการกักตัวอย่างน้อย 14 วัน ขณะอยู่ในสถานที่กักตัวตรวจโรคโควิด -19 จำนวน 2 ครั้ง (โดยวิธี RT-PCR)
ครั้งที่ 1 ไม่เกินวันแรกของการกักตัว
ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 12 -13 ของระยะเวลาที่ถูกกักตัว
4. กรณีตรวจโรคไม่ผ่าน (พบเชื้อ) เข้ารับการรักษาโรค โดยค่าใช้จ่ายนายจ้าง/กรมธรรม์รับผิดชอบ
5. เมื่อผลตรวจโควิด –19 ครั้งที่ 2 ไม่พบเชื้อ จึงจะฉีดวัคซีนให้แก่คนต่างด้าว
6. นายจ้าง/ผู้รับอนุญาตฯ รับคนต่างด้าวไปยังสถานประกอบการ
ระยะเวลาดำเนินการตามระยะเวลากักตัว

8. การอบรมและรับใบอนุญาตทำงาน
การอนุญาตให้นำคนต่างด้าว
เข้ามาทำงานกับนายจ้างในประเทศ
1. คนต่างด้าวรับการอบรม ผ่านระบบ video conference ณ สถานประกอบการ
2. รับใบอนุญาตทำงาน ณ สำนักงานจัดหางานที่สถานประกอบการตั้งอยู่ พร้อมทั้งแจ้งเข้าทำงาน นายจ้างแจ้งการจ้างคนต่างด้าว และแสดงหลักฐาน
– การกักตัวครบกำหนดและไม่พบเชื้อโควิด -19 /รักษาหายแล้ว
– ใบรับรองแพทย์ (6 โรค)
(รับใบอนุญาตทำงานภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่เข้ารับการอบรม)
ระยะเวลาดำเนินการ 1 วันทำการ

อย่างไรก็ตาม การนำแรงงานต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศตาม MOU จะต้องดำเนินการตามขั้นตอนดังกล่าว

ทั้งนี้แนวทางการนำแรงงานต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศตาม MoU ประเทศกัมพูชา ลาว เมียนมา ต้องปฎิบัติดังนี้

แรงงานต่างด้าว

แรงงานต่างด้าว

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo
ทีมบรรณาธิการข่าว The Bangkok Insight