Business

เปิดประเทศ คลายล็อก ภาระตรวจ ATK พุ่งพรวด ‘หมออดุลย์’ แนะวิธีประเมินความเสี่ยงก่อนตรวจ

ผู้ประกอบการหนักใจ ภาระตรวจ ATK พุ่ง หลังเปิดประเทศ คลายล็อก หมออดุลย์ แนะทางออก ใช้วิธีประเมินความเสี่ยง 5 ข้อก่อนตรวจ ลดภาระ สร้างความเชื่อมั่นลูกค้า

ศ.คลินิก นพ.อดุลย์ รัตนวิจิตราศิลป์ รองคณบดีฝ่ายสารสนเทศคณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก บันทึกเรื่องน่ารู้ by Dr.Adune ประเด็นภาระตรวจ ATK ของผู้ประกอบการ ที่เพิ่มสูงขึ้นหลังการเปิดประเทศ คลายล็อก พร้อมแนะวิธีช่วยลดภาระ ดังนี้

ภาระตรวจ ATK

เปิดกิจการแล้วภาระการตรวจ ATK สูงมาก ทำยังไงดี

ตรวจ ATK พนักงาน บุคลากรทุกคน ทุกสัปดาห์คงไม่ไหวแน่

ยามที่ประเทศ resume เข้าสู่ new normal เพื่อให้การดำเนินชีวิต การดำเนินธุรกิจ การทำกิจกรรม กลับเข้าสู่ภาวะปกติ มีโจทย์หนึ่ง ที่ยังค้างคาใจผู้ประกอบการ คือ ถ้าจะให้มั่นใจว่ากิจการเราปลอดภัย คนที่จะมาติดต่อมีความไว้ใจ จะทำอย่างไร ตรวจ ATK พนักงาน บุคลากรทุกคน ทุกสัปดาห์คงไม่ไหวแน่

แต่ถ้าไม่มีมาตรการที่เข้มข้น ถ้าคนมาติดต่องาน หรือ ใช้บริการ ติดเชื้อไปจากเรา เสียชื่อ และ อาจจะทำให้ลูกค้าห่างหายไปหาคนอื่น หรือ ถ้าติดกันเองในหมู่พนักงาน หรือบุคลากร ความเสียหาย คือ นอกจากค่าใช้จ่ายในการรักษาแล้ว ยังขาดคนทำงานอีก

ปัญหาเรื่องนี้ จึงเป็นหนึ่งในปัญหาที่ต้องคิด ในช่วยที่จะ resume กิจการ

หมออดุลย์ e1624384308988

ที่ได้ยินกัน คือ ทุกคนที่เป็นบุคลากรที่จะเข้าทำงาน จะต้องตรวจ ATK และ ตรวจทุกสัปดาห์

สำหรับ องค์กรขนาดเล็ก ก็อาจจะไม่เท่าไหร่ แต่ถ้าองค์กรที่มีบุคลากร หรือพนักงานจำนวนมาก หลักพัน หลักหมื่น การดูแล ก็เป็นเรื่องใหญ่มาก และเป็นต้นทุนสูงมาก ซึ่ง ไม่น่าจะ practical ไม่สามารถทำได้จริง ทำได้สักพัก ก็อาจจะเริ่มหย่อน ซึ่งตอนที่หย่อน ก็จะเกิดปัญหาขึ้น เป็นความเสี่ยงแบบหนึ่ง

วิธีประเมินความเสี่ยง ลดภาระตรวจ ATK

วิธีที่น่าจะได้ผลกว่า คือ การ identified กลุ่มเสี่ยง และตรวจ ATK เฉพาะกลุ่มเสี่ยง ซึ่งมี best practice ซึ่งมีคำถามประเมินความเสี่ยง ดังนี้

1. ไข้(ตามที่รุ้สึก แม้วัดอุณหภูมิแล้วไม่มีไข้)

2. น้ำมูกไหล จาม ไอ เจ็บคอ หรือ จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส

อดุลย์

3. กินอาหาร สูบบุหรี่ ดื่มสุรา สังสรรค์ การชุมนุมอื่นๆ โดยไม่ได้ใส่หรือใส่หน้ากากฝ่ายเดียว ไม่เว้นระยะห่าง

4. พักร่วมห้องหรือ ร่วมบ้านกับผู้ที่สงสัยติดเชื้อ

5. ใช้บริการหรือทำงานในสถานที่เสี่ยง เช่น ผับ บาร์ คาเฟ่ ร้านอาหาร ตลาด ฯลฯ ที่เพิ่งประกาศพบผู้ติดเชื้อ

6. ไม่มีข้อใด ๆ ข้างต้น

ถ้ามีความเสี่ยงข้อใดข้อหนึ่งใน 1-5 ก็ให้ตรวจ ATK ตามเงื่อนไข เมื่อทำแบบนี้ ก็ลดการตรวจ ATK ที่ไม่จำเป็น ขณะเดียวกันก็ไม่หละหลวม จนทำให้เกิดความเสี่ยง

เป็นวิธีที่น่าจะนำไปใช้ได้สำหรับกลุ่มผู้ให้บริการ หรือเจ้าของกิจการ โรงงาน โรงพยาบาล เพื่อให้ผู้รับบริการรู้สึกถึงความมั่นใจครับ

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo