Business

รีบเลย!! แบบฟอร์มรับเงินชดเชย ‘ว่างงาน – ตกงาน’ รับสูงสุด 10,500 บาท  

ขอรับเงินชดเชย แจ้งผู้ประกันตนมาตรา 33  เร่งโหลดเอกสารให้พร้อม แบบฟอร์มขอรับเงินชดเชย กรณีว่างงาน – ตกงาน  รับ 70% สูงสุด 10,500 บาท  

สำนักงานประกันสังคม อนุมัติสิทธิประโยชน์กรณีว่างงาน เพื่อช่วยเหลือผู้ประกันตนมาตรา 33 โดยผู้ประกันตนที่มีสิทธิต้องส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือนใน 15 เดือนย้อนหลัง ก่อนวันที่ว่างงาน ซึ่งมีรายละเอียดต่างกันไปในแต่ละกรณี ประกันสังคมเปิดขั้นตอนลงทะเบียนรับเงินชดเชยกรณีว่างงาน รับเลย 70% ของค่าจ้าง

ขอรับเงินชดเชย

ขอรับเงินชดเชย อย่าลืมโหลดเอกสารให้พร้อม

อย่าลืมโหลดเอกสารให้พร้อม แบบฟอร์มรับเงินชดเชย กรณีว่างงาน-ตกงาน 70% สูงสุด 10,500 บาท
ขอรับเงินชดเชย

ขอรับเงินชดเชย ขั้นตอนลงทะเบียนว่างงาน

-กรณีถูกเลิกจ้าง

ได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 180 วัน ในอัตรา ร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย

โดยคำนวณจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท และฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท

ตัวอย่างเช่น ผู้ประกันตนมีเงินเดือนเฉลี่ย 10,000 บาท จะได้รับเดือนละ 5,000 บาท

เงื่อนไขการรับเงินชดเชย: ต้องส่งเงินประกันสังคมครบ 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนถูกเลิกจ้าง

โดยต้องขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานและรายงานตัวผ่านเว็บไซต์ : https://e-service.doe.go.th

ขอรับเงินชดเชย

 

กรณีลาออกเอง หรือหมดสัญญาจ้างงาน

ได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 90 วัน ในอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้างเฉลี่ย

โดยคำนวณจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท และฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท

ตัวอย่างเช่น ผู้ประกันตนมีเงินเดือนเฉลี่ย 10,000 บาท จะได้รับเดือนละ 3,000 บาท

เงื่อนไขการรับเงินชดเชย: ต้องส่งเงินประกันสังคมครบ 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนลาออก

โดยต้องขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานและรายงานตัวผ่านเว็บไซต์ : https://e-service.doe.go.th

นอกจากนี้  ยังสามารถใช้สิทธิสวัสดิการจากประกันสังคมต่อได้อีก 6 เดือน โดยไม่ต้องจ่ายเงินประกันสังคมภายในระยะเวลานั้น เช่น ค่าทำฟัน ค่ารักษาพยาบาล ค่าคลอดบุตร เป็นต้น

 ว่างงาน-ตกงาน เอกสารที่ต้องใช้ 

-แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน ในกรณีว่างงาน หรือ สปส. 2-01/7

-บัตรประจำตัวประชาชน พร้อมสำเนา

-รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว จำนวน 1 รูป (รูปถ่ายต้องมีอายุไม่เกิน 6 เดือน)

-หนังสือรองรับการออกจากงาน สำเนาการแจ้งการลาออก หรือ สปส. 6-09

(กรณีที่ไม่มีสำเนา สปส. 6-09 ก็ยังคงสามารถขึ้นทะเบียนว่างงานได้)

-หนังสือหรือเอกสารแจ้งให้ออกจากนายจ้าง (หากมี)

-สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์ของธนาคาร โดยชื่อที่ระบุในหน้าสมุดบัญชีต้องเป็นชื่อของผู้ประกันตนที่ทำการลงทะเบียนว่างงาน

 

ขอรับเงินชดเชย

 วิธีการลงทะเบียนว่างงาน

ไม่จำเป็นต้องไปเดินเรื่องที่ สำนักงานประกันสังคมด้วยตัวเองอีกแล้ว สามารถดำเนินการผ่านช่องทางออนไลน์ได้ มาดูกันเลยทำอย่างไรบ้าง

1. ผู้ที่ต้องการลงทะเบียนว่างงานทำการเข้าเว็บไซต์ของกรมจัดหางาน

จากนั้นทำการลงทะเบียนให้เรียบร้อยโดยใช้ข้อมูลจากบัตรประชาชน  สามารถลงเบียนว่างงานออนไลน์ก่อน

แล้วค่อยยืนเอกสารว่างงานประกันสังคม อย่าลืมว่าต้องทำภายใน 30 วัน!

เว็บไซต์สำหรับการลงทะเบียน : https://e-service.doe.go.th

2. ลงทะเบียนเข้าใช้งาน  สำหรับผู้ที่ยังไม่เคยขึ้นทะเบียนว่างงาน และยังไม่มีรหัสผ่านเข้าใช้ระบบ

3. ทำตาม 4 ขั้นตอนหลักจนครบถ้วน

3.1 อ่านข้อตกลงของการใช้บริการ ก่อนกดขั้นตอนต่อไป

3.2 ตรวจสอบเลขบัตรประจำตัวประชาชน

3.3 กรอกข้อมูลส่วนตัว

3.4 บันทึกการลงทะเบียน

4. ผู้ประกันตน จะได้รับหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนกรณีว่างงาน และวันที่นัดรายงานตัวของผู้ประกันตน ซึ่งสามารถพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ได้

5. พิมพ์เอกสาร  

– ใบนัดรายงานตัว
– แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน กรณีว่างงาน (สปส.2-01/7)

6. ยื่นที่สำนักงานประกันสังคม 

โดยเอกสารที่ต้องเตรียมคือ

– แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน กรณีว่างงาน (สปส.2-01/7) ที่กรอกรายละเอียดครบถ้วน

– สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ประกันตน

– สำเนาสมุดบัญชีธนาคารที่เป็นชื่อผู้ประกันตน ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด(มหาชน)  ธนาคารกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)  ธนาคารทหารไทย จำกัด(มหาชน) ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)  ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย

ขอรับเงินชดเชย

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo
ทีมบรรณาธิการข่าว The Bangkok Insight