Business

เปิดเทรนด์ท่องเที่ยวหลังโควิด คนรุ่นใหม่-ครอบครัว พร้อมออกเที่ยว แนะกลยุทธ์ ‘ROADMAP’ รับปีหน้าฟื้น

แนวโน้มธุรกิจท่องเที่ยวหลังโควิด “นีโอ ทัวริสซึ่ม” คนรุ่นใหม่ กลุ่มครอบครัว พร้อมออกเที่ยวหลังรับวัคซีน ชี้ธุรกิจร้านอาหาร คาเฟ่ ประกันการเดินทางเสริมโควิดรับอานิสงส์ 

ผศ. ดร.บุญยิ่ง คงอาชาภัทร หัวหน้าสาขาการตลาด วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) กล่าวว่า ซีเอ็มเอ็มยู ได้จัดทำวิจัยเรื่อง NEO TOURISM ท่องเที่ยวมิติใหม่ เจาะอินไซต์นักเดินทาง  เพื่อให้ธุรกิจการท่องเที่ยวปรับตัวให้ทัน NEXT NORMAL หรือการเปลี่ยนแปลงหลังพายุโควิด-19 สงบลง และให้สอดรับกับพฤติกรรมนักเดินทางที่เปลี่ยนไป

ท่องเที่ยวหลังโควิด

ทั้งนี้ ได้เน้นสำรวจกลุ่มเป้าหมาย 1,098 คน ซึ่งจะเป็นกลุ่มนักเดินทางหลัก หลังได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว 2 กลุ่ม ดังนี้

1. กลุ่มคนรุ่นใหม่ (Young Neo Traveler) อายุ 18-35 ปี ยังไม่มีบุตร ซึ่งจะเป็นกลุ่มแรกออกเดินทางที่ผู้ประกอบการต้องให้ความสำคัญ และปรับเปลี่ยนวิธีการให้บริการเพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของกลุ่มนี้

2. กลุ่มครอบครัว (Family Neo Traveler) อายุ 27-45 ปีขึ้นไป ที่มีสมาชิกมากกว่า 2Gen ขึ้นไป เป็นกลุ่มคนที่มีบุตรแล้ว นับเป็นคนส่วนใหญ่ของสังคมไทยในปัจจุบัน และมีค่าใช้จ่ายต่อทริปสูงกว่ากลุ่มอื่นๆ

ข้อมูลน่าสนใจ พบเทรนด์ฺท่องเที่ยวหลังโควิด ดังนี้

ปัจจัยที่ทำให้นักเดินทางกลับมาท่องเที่ยวอีกครั้ง

อันดับ 1 ยอดผู้ติดเชื้อลดลง น้อยกว่า 500 คนต่อวัน โดยกลุ่มคนรุ่นใหม่และกลุ่มครอบครัว คิดเห็นตรงกัน 48%

อันดับ 2 สัดส่วนประชากรที่ได้รับวัคซีน มีมากกว่า 70% ทั่วประเทศ

อันดับ 3 ตนเองได้รับวัคซีนที่มั่นใจ

4. สถิติความต้องการในการท่องเที่ยว 1

เมื่อพิจารณาสถิติความต้องการในการท่องเที่ยว พบว่า กลุ่มคนรุ่นใหม่ 45.8% และกลุ่มครอบครัว 52.2% ยังรู้สึกกังวล โดยรอสถานการณ์คลี่คลายก่อน รองมา กลุ่มคนรุ่นใหม่ 43.8% และกลุ่มครอบครัว 28.3% ต้องการเที่ยวโดยเร็วที่สุด ตามด้วยกลุ่มคนรุ่นใหม่ 10.4% และกลุ่มครอบครัว 19.6% เที่ยวก็ได้ ไม่เที่ยวก็ได้

นิยมท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติมากสุด หลังโควิด-19

จากการวิจัยพบว่า กลุ่มคนรุ่นใหม่ 45% และกลุ่มครอบครัว 61% ต้องการออกไปสัมผัสธรรมชาติเนื่องจากอยู่ที่บ้านมาระยะนาน และการท่องเที่ยวในประเทศจะเป็นตัวเลือกที่นักเดินทางต้องการมากที่สุด

7. 3 อันดับจังหวัดแรกที่กลุ่มคนรุ่นใหม่อยากไปมากที่สุด

 

8. 3 อันดับจังหวัดแรกที่กลุ่มครอบครัวอยากไปมากที่สุด 1

ผลสำรวจของกลุ่มคนรุ่นใหม่ 71% และกลุ่มครอบครัว 92% ซึ่งจังหวัดท่องเที่ยวที่จะได้รับความนิยมสูงสุด 3 จังหวัดแรกในกลุ่มคนรุ่นใหม่ ได้แก่ เชียงใหม่ ภูเก็ต ชลบุรี ตามลำดับ ส่วนกลุ่มครอบครัว ได้แก่ เชียงใหม่ ประจวบคีรีขันธ์ ชลบุรี ตามลำดับ

ธุรกิจรับอานิสงส์ท่องเที่ยว

การท่องที่ยวหลังโควิด-19 พบว่าธุรกิจที่ได้รับอานิสงส์ ระหว่างทริปที่นักเดินทางโหยหาที่สุด คือ ธุรกิจกลุ่มร้านอาหารและคาเฟ่ ซึ่งกลุ่มคนรุ่นใหม่ มักมีพฤติกรรมตระเวนหาอาหารโดยจะเลือกร้านที่ไม่แออัด มีพื้นที่นั่งด้านนอก เหมาะแก่การเลี่ยงการนั่งทานอาหารที่ทุกคนต้องถอดหน้ากาก หรือเน้นแบบธรรมชาติ ชมวิวทิวทัศน์

ขณะที่กลุ่มครอบครัว ให้ความสำคัญต่อการพักผ่อนในที่พักเป็นหลักมากกว่า โดยเปลี่ยนเป็นทานอาหารในโรงแรมเป็นหลัก เพราะเชื่อมั่นในการรักษาความสะอาดของภาชนะในโรงแรม และจะเลือกทำกิจกรรมในโรงแรมมากขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงในการเดินทาง ซึ่งมาตรการรักษาความสะอาด บรรยากาศของสถานที่ และบริการของพนักงาน จะเป็นสิ่งสำคัญที่นักเดินทางพิจารณามากขึ้นและพร้อมบอกต่อเมื่อรู้สึกประทับใจ

ท่องเที่ยวหลังโควิด

อีกหนึ่งการค้นพบที่น่าสนใจคือ ธุรกิจประกันเดินทางเสริมเรื่องโควิด-19 อาจจะเป็นบริการที่มาแรง เพราะกลุ่มคนรุ่นใหม่สนใจซื้อประกันมากถึง 59.4% ขณะที่กลุ่มครอบครัวสนใจซื้อประกัน พุ่งสูงถึง 71.7%

ข้อมูลงบประมาณ และระยะเวลาในการท่องเที่ยว

  • กลุ่มคนรุ่นใหม่ จะเลือกจัดแผนการเดินทางที่ 3-4 วัน เดินทางเป็นกลุ่ม 3-4 คน ตั้งงบประมาณต่อคนไว้ 3,000-5,000 บาท
  • กลุ่มครอบครัว เลือกจัดทริป 3-4 วัน เฉพาะคนในครอบครัว ตั้งงบประมาณต่อครอบครัวลดลงเหลือ 3,000-5,000 บาท

การใช้ช่องทางออนไลน์ในการใช้หาข้อมูลก่อนการเดินทาง

  • กลุ่มคนรุ่นใหม่ นิยมดูข้อมูลผ่านแพลตฟอร์ม เฟซบุ๊ก (Facebook) 31.1% รองมาคือเว็บไซต์ Google 29.4% และ YouTube 21.9%
  • กลุ่มครอบครัว นิยมดูข้อมูลผ่านเว็บไซต์ Google 38.6% รองมาคือ เฟซบุ๊ก (Facebook) 29.8% และ YouTube 19.8%

14. 3 อันดับช่องทางนิยมที่ใช้หาข้อมูลก่อนการเดินทาง

ความเปลี่ยนแปลงที่พบได้ชัดเจนคือ นักเดินทางเลือกติดต่อตรงกับโรงแรม (Direct To Hotel: D2H) เพิ่มขึ้น โดยกลุ่มคนรุ่นใหม่เพิ่มขึ้น 2% และกลุ่มครอบครัวเพิ่มขึ้น 6% ขณะที่การติดต่อจองที่พักผ่าน Online Travel Agent เช่น Booking.com, Agoda ลดน้อยลง กลุ่มคนรุ่นใหม่ ลดลง 5% และกลุ่มครอบครัวลดลง 3%

ธุรกิจการท่องเที่ยวนับจากนี้ ควรเสริมทำ D2H หรือ Direct To Hotel เพิ่มมากขึ้น ให้สอดรับกับพฤติกรรมนักเดินทางที่เปลี่ยนไป รวมทั้งควรชูจุดขายด้านการสื่อสารกับนักเดินทางโดยตรง ผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ เช่น LINE OA, Facebook, Instagram เป็นต้น  รวมถึงการติดต่อลูกค้าโดยตร

ด้าน นางสาวธรชญาน์ สุขสายชล นักศึกษาปริญญาโท วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) และหัวหน้าทีมวิจัย กล่าวว่า จากการวิเคราะห์ข้อมูลวิจัย ทำให้ค้นพบแนวโน้มการท่องเที่ยวใหม่ (NEO TOURISM TRENDS) 3 ข้อที่ต้องให้ความสำคัญ ประกอบด้วย

1. Nature Seeking ตามหาธรรมชาติ

2. Hygieneaholic ติดสะอาด

3. Flexi Needed ต้องการความยืดหยุ่น

3 Neo Tourism Trends

นอกจากนี้ ยังแนะนำกลยุทธ์การตลาดรูปแบบใหม่ เพื่อธุรกิจท่องเที่ยวโดยเฉพาะ ที่เรียกว่า ROADMAP STRATEGIES  ที่จะเป็นแนวทางการรับมือของธุรกิจในภาคการท่องเที่ยวไทยสู่ยุค NEO TOURISM รับปี 2565 ครั้งสำคัญ ดังนี้

  • R: Reliable Service ยกระดับความน่าเชื่อถือในการบริการ

ธุรกิจต้องมีมาตรการรองรับที่ชัดเจน ทั้งในด้านสุขอนามัยความปลอดภัย คุณภาพของสินค้าและบริการ รวมถึงศักยภาพของบุคลากรที่แสดงถึงความพร้อมในการให้บริการ

  • O: Optimized Experience ประสบการณ์ที่แปลกใหม่ ปรับให้โดนใจนักท่องเที่ยว

ธุรกิจต้องสร้างประสบการณ์ท่องเที่ยวรูปแบบใหม่โดยปรับให้เหมาะกับพฤติกรรมการท่องเที่ยวที่เปลี่ยนแปลงไป

  • A: Anti-Disease ปลอดเชื้อ ปลอดโรค ปลอดโปร่ง และปลอดภัย

ธุรกิจต้องเน้นเรื่องความสะอาด ปลอดภัย มีแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจน เพื่อแสดงความมั่นใจต่อนักเดินทาง เช่น เปลี่ยนจาก Welcoming Drink เป็น Welcoming hygienic kit set มอบหน้ากากผ้าสกรีนโลโก้โรงแรม หรือ ATK (home use) เป็นของที่ระลึก

  • D: Direct to Hotel ดีลตรงกับโรงแรม แต้มต่อโดนใจ จัดให้ไม่อั้น

ธุรกิจต้องรู้จักสร้างช่องทางการขายที่เข้าถึงผู้บริโภคโดยตรง ตัดคนกลางออกจากกระบวนการซื้อขาย เพื่อลดช่องว่างในการสื่อสาร และมอบบริการที่ตรงตามความต้องการของลูกค้าได้มากขึ้น

  • M: Media Matching ใช้สื่อหลากหลายเพื่อกระจายความเสี่ยง

เจาะกลุ่มเป้าหมายต่างวัยต่างสไตล์ โดยการใช้ช่องทาง การสื่อสารที่หลากหลาย

  • A: Alliance กระชับมิตรกับคู่ค้า เพื่อจัดการบริการแบบเกื้อหนุน

สร้างเครือข่ายทางธุรกิจเพื่อผนึกกำลัง รังสรรค์บริการที่ครบครันสมบูรณ์แบบ

  • P: Part of Community ขับเคลื่อนชุมชน ควบคู่กับพัฒนาธุรกิจตนให้ยั่งยืน

การที่ธุรกิจเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนชุมชนผ่านรูปแบบการให้บริการที่กระจายรายได้สู่ท้องถิ่น ให้บริการบนพื้นฐานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมโดยรอบ รวมไปถึงการพัฒนาธุรกิจของตนเพื่อให้พร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลง สู่การเป็นธุรกิจที่ยั่งยืน

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo