Business

‘เยียวยาคนทำงานกลางคืน’ มาตรา 33-39-40 ประกันสังคมแจงชัดได้เงินช่วยแบบไหน?

เยียวยาคนทำงานกลางคืน ประกันสังคม แจงมาตรการเยียวยา คนทำงานกลางคืน ย้ำชัด ว่างงานด้วยเหตุสุดวิสัย เบิกจากกองทุนประกันสังคมได้ 50% ของค่าจ้าง ย้ำชัดเบิกว่างงานย้อนหลังได้ ส่วนแรงงานอิสระ อย่างนักดนตรี สามารถสมัครมาตรา 40 รับเงินเยียวยาคนละ 5,000 บาท ได้ 
นางสาวลัดดา แซ่ลี้ โฆษก สำนักงานประกันสังคม ให้สัมภาษณ์ผ่านช่อง NBT ประเด็น “การเยียวยา คนทำงานกลางคืน” เมื่อเร็วๆนี้ กล่าวถึงการช่วยของรัฐบาลคือ การเยียวยา แต่การช่วยของสำนักงานประกันสังคม คือการจ่ายว่างงานด้วยเหตุสุดวิสัย ถ้าเป็นลูกจ้างมาตรา 33 แล้วรัฐสั่งให้ปิดสถานบันเทิง ลูกจ้าง มาตรา 33 ไม่ได้ทำงานสามารถเบิกเงินจากกองทุนประกันสังคม กรณีว่างงานด้วยเหตุผลสุดวิสัยไก้ นายจ้างไม่ต้องแจ้งออกสามารถเบิกว่างงานได้ 50% คราวละ 90 วัน
เยียวยาคนทำงานกลางคืน

เยียวยาคนทำงานกลางคืน ประกันสังคมแจงข้อเท็จจริง 

ในส่วนของสถานบันเทิงถูกสั่งปิด มาตั้งแต่เดือนเมษายน 2564 ครั้งแรก 8 วัน ครั้งที่ 2 อีก 8 วัน สามารถเบิกจากกองทุนประกันสังคม กรณี ว่างงานด้วยเหตุสุดวิสัย โดยที่ไม่ต้องแจ้งลูกจ้างออก นายจ้างยื่นเรื่องผ่านทางระบบ e-service รับรองว่า “ลูกจ้างได้หยุดจริง ไม่มีค่าจ้าง” ตามที่รัฐสั่งให้ปิดต่อเนื่องมาจนถึงเดือนมิถุนายน 2564 พอมาเดือนมิถุนายนก็มีอีกคำสั่งที่สั่งให้ปิด นายจ้างจะได้รับคราวละ 90 วัน ตามคำสั่ง
ขณะที่นายนนทเดช บูรณะสิทธิพร  ตัวแทนสมาพันธ์ผู้ประกอบอาชีพธุรกิจกลางคืนและธุรกิจบันเทิงแห่งประเทศไทย ผู้ร่วมรายการ  กล่าวว่า สิ่งที่อยากจะแจ้งคือตัวเขาเอง และร้านขนาดกลาง ขนาดเล็ก หลาย ๆร้าน เป็นบุคคล หลายๆร้านไม่เข้าระบบประกันสังคมมาตรา 33 ซึ่งมีเยอะมาก โดยเฉพาะนักดนตรีส่วนใหญ่ไม่ใช่พนักงานประจำของร้าน ถึงแม้ร้านนั้นๆจะเข้าระบบประกันสังคมมาตรา 33 ก็ตาม แต่นักดนตรี จะไม่ได้เป็นลูกจ้างประจำ ตามมาตรา 33 ซึ่งเพิ่งจะมาลงสมัครมาตรา 40
ขณะที่นางสาวลัดดา ชี้แจงว่าประกันสังคมมีผู้ประกันตนอยู่ 3 มาตรา คือมาตรา 33 ลูกจ้างที่อยู่ในสถานประกอบการ ที่นายจ้างขึ้นทะเบียนประกันสังคมให้ อย่างกรณี นักดนตรี เป็นแบบจ้างเหมาไม่ได้เป็นลูกจ้าง อาจจะ มาร้องเป็นครั้งคราว หรือจ่ายเป็นครั้งคราว เรียกว่า“จ้างเหมาบริการ” เลยไม่ได้ในนิติสัมพันธ์ว่าเป็นลูกจ้างนายจ้าง ก็ไม่ได้ขึ้นทะเบียนมาตรา 33 ให้
เยียวยาคนทำงานกลางคืน
ส่วนนายจ้าง ที่เป็นสถานคลับและบาร์ จะขึ้นทะเบียนให้แก่พนักงานเสริฟ แม่ครัว อาจจะเป็นลูกจ้างตามมาตรา 33 ตามบริษัทมาก่อนแล้วก็ลาออก แต่เขาก็สามารถสมัครมาตรา 39 ได้ อีกอาชีพที่ไม่ได้ทำงานตามมาตรา 33 ไม่ได้เป็นมาตรา 39 เราก็เปิดอีกช่องทางคือ อาชีพอิสระ มาตรา 40 ซึ่งทั้ง 3 มาตรา ประกันสังคมดูแลอยู่
ส่วนมาตรา 39 และมาตรา 40 เราไม่ได้ดูแลกรณีว่างงงานเหตุสุดวิสัย เพราะเขาเป็นอาชีพอิสระ เรื่องนี้ทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เลยขอเงินรัฐบาลมาเยียวยาให้ เป็นเงินกู้ของรัฐบาล ไม่ใช่เงินของกองทุนประกันสังคม เราต้องแยกกัน เบิกจ่ายเหตุสุดวิสัย เป็นเงินกองทุนประกันสังคม “เยียวยา” เป็นเงินกู้ของรัฐ ที่จะมาช่วยเยียวยาทั้งมาตรา 33, 39 และ 40 รวมทั้งนายจ้าง ที่เป็นเจ้าของสถานประกอบการก็ได้เช่นเดียวกัน โดยนายจ้างจะได้ 3,000 บาท ต่อลูกจ้าง 1 คน แต่ต้องมีลูกจ้างไม่เกิน 200 คน ก็ประมาณ 600,000 บาท ถ้าเป็นนายจ้างที่มีลูกจ้างไม่เกิน 200 คน ช่วยเยียวยามาตรา 33 อีกคนละ 2,500 บาท ส่วนมาตรา 39 และ40 ได้รับคนละ 5,000 บาท

เยียวยาคนทำงานกลางคืน แบบไหนถึงได้เงิน 

ถามว่ามีผลย้อนหลังไปถึงปีที่ผ่านมาได้หรือไม่ นางสาวลัดดา กล่าวว่าถ้าศบค.สั่งปิดสถานบันเทิง โดยที่นายจ้างไม่ได้จ้างค่าจ้าง ลูกจ้างไม่ได้ทำงาน อันนี้ประกันสังคมจ่ายต่อละคำสั่ง 90 วัน แต่ทั้งนี้ลูกจ้างต้องมีการส่งเงินสมทบ 6 เดือน ภายใน 15 เดือน ถ้าหยุุดไปนานๆ ก็จะหลุด 6 เดือน เพราะว่า 90 วัน 90 วัน สองครั้งคือ 180 วัน ทีนี้พอจะให้หยุดอีกเงินสมทบก็ไม่มี 6 เดือน ภายใน 15 เดือนตามเงื่อนไข
ดังนั้นลูกจ้างมาตรา 33 ต้องส่งเงินสมทบ 6 เดือน ภายใน 15 เดือน ลูกจ้างถึงจะมีสิทธิรับกรณีว่างงาน หากจะได้ย้อนหลังก็ต้องเข้าไปที่ระบบ e-service ของนายจ้าง กรณีว่างงานเหตุสุดวิสัย นายจ้างสามารถยยื่นเรื่องผ่านระบบ e-service เข้าไป นายจ้าง ก็รับรองไปว่า หยุดตั้งแต่เมื่อไหร่ที่รัฐมีคำสั่งให้ปิด
เยียวยาคนทำงานกลางคืน
ส่วนผู้ประกันตนมาตรา 39  รัฐบาลประกาศหยุดเดือนกรกฎาคม ทั้งหมด 29 จังหวัดตอนแรกหยุดก่อน 13 จังหวัดตอนแรก 10 จังหวัดต่อมาประกาศหยุดเพิ่มอีก 3 จังหวัด แล้ว 16 จังหวัด เป็นปัญหาว่า 10 จังหวัดแรกกับ 3 จังหวัดต่อมา เขาหยุดตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ตอนแรกขอเงินให้คนละ 1 เดือน คือ 5,000 บาท พอ 16 จังหวัดมาหยุดทีหลัง คือเดือนสิงหาคม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน  บอกว่า 13 จังหวัดแรก หยุดมา 2 เดือนแล้วคือเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม เพราะฉะนั้น 13 จังหวัดแรกจะให้ 2 เดือน คือเดือนละ 5,000 บาท 2 เดือนเท่ากับคนละ 10,000 บาท  ส่วน 16 จังหวัดเพิ่งหยุด เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา
นางสาวลัดดา กล่าวว่าส่วนที่มีข้อเสนอให้จ่ายเงินเยียวยาได้ 4 หรือ 5 ได้ไหมประเด็นนี้อยู่ที่คำสั่งของรัฐบาลว่าจะให้หยุดหรือไม่ และอยู่ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานว่าจะขอเงินเยียวยาให้ได้อีกหรือไม่ สำคัญที่สุดอยู่ที่เงินกู้ของรัฐบาล เพราะส่วนนี้ไม่ใช่เงินจากกองทุนประกันสังคม เป็นเงินกู้ของรัฐบาล ที่ให้ประกันสังคมมาจ่ายให้ เนื่องจากประกันสังคมมีฐานข้อมูลของผู้ประกันตนที่ชัดเจน สามารถขอเงินจากสภาพัฒน์ได้ แต่ขอยืนยันว่า”เบิกว่างงานด้วยเหตุสุดวิสัยย้อนหลังได้”
อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo
ทีมบรรณาธิการข่าว The Bangkok Insight