Business

ลูกหนี้มีเฮ! ครม.ไฟเขียวร่างกฎหมายล้มละลาย เพิ่มยอดหนี้ขอฟื้นฟูเป็น 50 ล้านบาท

ร่างกฎหมายล้มละลาย ผ่าน ครม. อนุมัติลูกหนี้ SMEs เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการได้ เพิ่มยอดหนี้ขอฟื้นฟูเป็น 50 ล้านบาท ลดขั้นตอนและใช้ระยะเวลาน้อยลง

นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2564 ว่า สืบเนื่องจากพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 หรือ ร่างกฎหมายล้มละลาย ในส่วนกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ที่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) หมวด 3/2 ยังไม่สามารถช่วยเหลือลูกหนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ตกงานหนี้ ปิดกิจการ ๒๑๐๘๑๐ 0

นอกจากนี้ ยังมีข้อจำกัดในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้ เช่น

1. จำนวนหนี้ที่ขอฟื้นฟูกิจการไม่สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน

2. ลูกหนี้ที่สามารถยื่นฟื้นฟูกิจการได้ จำกัดเฉพาะลูกหนี้ที่มีลักษณะเป็น SMEs ที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) หรือจดทะเบียนกับหน่วยงานอื่นของรัฐเท่านั้น 3.

3. เงื่อนไขการยื่นขอฟื้นฟูกิจการมีขั้นตอนที่ยุ่งยาก

ดังนั้น เพื่อเป็นการช่วยเหลือลูกหนี้ได้อย่างทั่วถึง มีประสิทธิภาพ และไม่ตกเป็นบุคคลล้มละลาย ครม.จึงมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ในส่วนกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ

พร้อมกันนี้ ได้เร่งผลักดันให้เป็นกฎหมาย ที่ต้องปฏิรูปในระยะเร่งด่วน เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ หลังการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

นางสาวรัชดา ธนาดิเรก
รัชดา ธนาดิเรก

สำหรับร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ มีหลักการสำคัญในการสร้างกลไกให้ลูกหนี้ที่เป็น SMEs สามารถเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการได้ เช่นเดียวกับการฟื้นฟูกิจการปกติ ลดขั้นตอนและใช้ระยะเวลาที่สั้นกว่า โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้

1. เพิ่มเติมจำนวนหนี้ของลูกหนี้ ซึ่งเป็นบริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด หรือนิติบุคคลอื่น ตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ที่สามารถร้องขอให้มีการฟื้นฟูกิจการได้ จาก “จำนวนไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท” เป็น “ไม่น้อยกว่า 50 ล้านบาท” เพื่อให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน

การเพิ่มจำนวนหนี้ดังกล่าว อ้างอิงจากข้อมูลเชิงสถิติระหว่างปี 2560-2563 คดีที่ศาลมีคำสั่งรับคำร้องขอลูกหนี้ มีจำนวนหนี้มากกว่า 50 ล้านบาท กว่า 90% ของคดีทั้งหมด

2. กำหนดกระบวนพิจารณา เกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ที่มีลักษณะเป็น SMEs ดังนี้

  • ยกเลิกเงื่อนไขที่กำหนดให้ลูกหนี้ที่เป็น SMEs ต้องขึ้นทะเบียนกับ สสว. หรือที่จดทะเบียนกับหน่วยงานอื่นของรัฐ จึงจะสามารถร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการได้
  • กำหนดให้ลูกหนี้สามารถยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ได้ โดยที่ยังไม่ต้องจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการเสนอศาลเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ และให้มีการพักชำระหนี้ เมื่อศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ ทั้งนี้ ลูกหนี้สามารถยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราว ก่อนศาลมีคำสั่งฟื้นฟูกิจการได้
  • ครม.

3. กำหนดให้มีกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการแบบเร่งรัด ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ลูกหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการ ได้แก่ ลูกหนี้ที่เป็นองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่และลูกหนี้ที่เป็น SMEs สามารถเลือกยื่นคำร้องขอให้มีการฟื้นฟูกิจการแบบเร่งรัดได้ โดยแนบแผนพร้อมหลักฐานแสดงว่า เจ้าหนี้ได้มีมติยอมรับแผนแล้ว (prepackaged plans) ต่อศาล โดยให้ศาลพิจารณาคำร้องขอดังกล่าวเป็นการด่วน

แต่หากศาลมีคำสั่งยกคำร้องขอ เพราะแผนไม่เข้าหลักเกณฑ์ ลูกหนี้อาจยื่นคำร้องขอให้มีการฟื้นฟูกิจการอีกได้ โดยไม่ติดเงื่อนไขข้อห้ามเรื่องระยะเวลา 6 เดือนนับแต่วันที่ศาลยกคำร้องขอกระบวนพิจารณา เกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการแบบเร่งรัด

กฎหมายฉบับนี้ จะเป็นเครื่องมือทางกฎหมายที่สำคัญ ในการช่วยเหลือลูกหนี้ ที่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ที่ประสบปัญหาขาดสภาพคล่องทางการเงิน .shได้รับโอกาสฟื้นฟูกิจการ และไม่ตกเป็นบุคคลล้มละลาย อันจะเป็นการบรรเทาผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของประชาชนและการประกอบธุรกิจของภาคเอกชน อีกทั้งยังเป็นการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo