Business

วัดชีพจรตลาดแรงงาน ไตรมาส 1/2564 ว่างงานพุ่งทุบสถิติรอบ 5 ปี ท่องเที่ยวกระทบสูงสุด

จ๊อบส์ ดีบี เผยสถานการณ์ตลาดแรงงานไทยครึ่งปีแรก ท่ามกลางโควิดระลอก 4 พบไตรมาสแรก ตัวเลขว่างงานสูงสุดในรอบ 5 ปี ธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยว ได้รับผลกระทบสูงสุดตลอดกว่า 1 ปี

นางสาวพรลัดดา เดชรัตน์วิบูลย์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า สถานการณ์ตลาดแรงงานไทย หลังวิกฤตการณ์โควิดระลอกที่ 3 และ 4 ในช่วงครึ่งปีแรก ของปี 2564 พบว่า ไตรมาสที่ 1 ของปี 2564 อัตราการว่างงานรายไตรมาสในประเทศไทยสูงสุด เมื่อเทียบกับ 5 ปีย้อนหลัง และสูงที่สุดตั้งแต่เกิดวิกฤติโควิด อยู่ที่ 1.96% จากการลดจำนวนแรงงานและฤดูกาลโยกย้ายประจำปี

จ๊อบส์ ดีบี

ในทางกลับกัน ความต้องการแรงงานในประเทศไทย ทั้งจากบนแพลตฟอร์มหางาน และช่องทางสื่อกลางออนไลน์อื่น ๆ ในช่วงครึ่งปีแรก ของปี 2564 กลับฟื้นขึ้นมา 6.7% เมื่อเทียบกับช่วงครึ่งปีหลังของปี 2563 โดยมีอัตราการแข่งขันที่ 80 ใบสมัครต่อ 1 ประกาศงาน

จากข้อมูลจำนวนประกาศงานบน จ๊อบส์ ดีบี ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2564 พบว่า กลุ่มสายงานที่เป็นที่ต้องการมากที่สุด ได้แก่

1. สายงานขาย บริการลูกค้า และพัฒนาธุรกิจ คิดเป็น 15.3%

2. สายงานไอที คิดเป็น 14.8%

3. สายงานวิศวกรรม คิดเป็น 10.0%

ตราว่างงาน

กลุ่มสายงานที่มีจำนวนประกาศงานเติบโตขึ้นมากที่สุด ได้แก่

1. สายงานการจัดซื้อ เพิ่มขึ้น 43.0%

2. สายงานขนส่ง เพิ่มขึ้น 37.4%

3. สายงานประกันภัย เพิ่มขึ้น 36.4%

ธุรกิจที่มีอัตราการฟื้นตัวสูงสุดพิจารณาจำนวนความต้องการแรงงาน ได้แก่ กลุ่มธุรกิจอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มธุรกิจประกันภัย และกลุ่มธุรกิจการผลิต

ต้องการงาน 10 อันดับ

ส่วนธุรกิจที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ได้แก่

  • กลุ่มธุรกิจการเดินทางและท่องเที่ยว คิดเป็น 51%
  • กลุ่มธุรกิจบริการเฉพาะกิจ คิดเป็น 22%
  • กลุ่มธุรกิจสินค้าอุตสาหกรรม คิดเป็น 21%

นอกจากนี้ยังพบว่า อัตราการแข่งขันลดลงในเชิงจำนวนอยู่ที่ 80 ใบสมัครต่อ 1 ประกาศงาน และยอดจำนวนใบสมัครงานเพิ่มขึ้น 12%

อย่างไรก็ตาม หลังวิกฤติโควิด พบว่า คนทำงานเปลี่ยนความคิดเรื่องวิถีในการเลือกสถานที่ทำงาน โดยคนทำงานสามารถปรับตัวกับการทำงานระยะไกลได้ดีขึ้น โดยกว่า 73% ของคนทำงาน เลือกที่จะทำงานแบบผสมผสาน ระหว่างการทำงานที่ออฟฟิศ สลับกับการทำงานระยะไกล และความต้องการในการเข้าไปทำงานที่ออฟฟิศแบบเต็มเวลา ลดลงเหลือเพียงแค่ 7%

ส่วนปัจจัยหลักที่คนทำงานให้ความสำคัญมากที่สุดในการเข้าทำงานหลังวิกฤติโควิด-19 ได้แก่ 1. อัตราเงินเดือนและผลตอบแทน 2. ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเพื่อนร่วมงานและ 3. ความรู้สึกภาคภูมิใจกับงาน

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo