Business

ผลกระทบโควิด ต่อตลาดแรงงาน ใช้ ‘3R’ ปรับทักษะยุคดิจิทัล

ผลกระทบโควิด เปลี่ยนวิถีการทำงานนิว นอร์มอล แมนพาวเวอร์กรุ๊ป แนะใช้ 3R ปรับทักษะรับยุคดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงเร็ว คาด 1 ปี เห็นภาพอุตสาหกรรมฟื้นตัว เร็ว – ช้า

จากสถานการณ์ความผันผวนทางเศรษฐกิจทั่วโลก ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ในปีที่ผ่านมา ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อวิถีการทำงานในรูปแบบการทำงานทางไกลที่สอดคล้องกับวิถีความปกติใหม่ (New Normal) นอกจากนี้ ผลกระทบโควิด ยังทำให้เห็นการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น ทั้งจากฝั่งนายจ้าง และแรงงาน

ผลกระทบโควิด

นายโจนาส ไพรซิง ประธานกรรมการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร แมนพาวเวอร์กรุ๊ป เปิดเผยว่า การเปลี่ยนแปลงด้านแรงงานครั้งใหญ่ ซึ่งเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ในปีที่ผ่านมา จากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งเป็นวิกฤติด้านสุขภาพ และพัฒนาไปสู่ภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจกับสังคม

ในช่วงแรก ภาคอุตสาหกรรมทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการบริการ การเดินทางและแม้แต่การผลิต เกิดภาวะหยุดชะงักในชั่วข้ามคืน ขณะที่อุตสาหกรรมอื่น ๆ ได้แก่ เทคโนโลยี การดูแลสุขภาพ โลจิสติกส์และการค้าปลีก มีความต้องการด้านแรงงานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และต่อเนื่อง

ในเวลาเดียวกัน องค์กรต่าง ๆ มีการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงาน เป็นรูปแบบดิจิทัลมากขึ้น ในขณะที่ประชากร 93% มีวิธีการทำงาน รูปแบบการใช้ชีวิต และการบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก และเกิดขึ้นเร็วกว่าที่คาดการณ์

การระบาดของโควิด-19 ส่งผลต่อบทบาทของเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งสนับสนุนให้เกิดการสร้างงาน และผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อวิถีชีวิต ของผู้คน และสร้างโลกที่เชื่อมโยงกันมากขึ้น มีความยืดหยุ่นด้านกำลังคน รวมถึงการเรียกร้องให้เกิดการผสมผสาน ระหว่างชีวิตส่วนตัวและการทำงานที่ดีขึ้น การมีทักษะที่สูงขึ้นและการมีอิสระในการทำงานมากขึ้น ทั้งในแง่ของวิธีการ เวลาและสถานที่งาน

ภาพที่เกิดขึ้นดังกล่าว เรียกว่า THE EMERGENCE OF THE K RECOVERY หรือ การฟื้นตัวในรูปแบบตัวเค ซึ่งจากผลการวิจัย คาดการณ์ว่าในอีก 1 ปีต่อจากนี้ จะเห็นภาพและความเร็วในการฟื้นตัวในสองระดับ ดังนี้

การฟื้นตัวในรูปแบบตัวเค

อุตสาหกรรมบางอย่าง และผู้คน ที่จะกลับมาฟื้นตัวเร็วขึ้นและดีขึ้น ได้แก่

  • นักวิเคราะห์การจัดการและองค์กร
  • ผู้เชี่ยวชาญด้านการสนับสนุนทางโลจิสติกส์และคลังสินค้า
  • ผู้จัดการโครงการ
  • ช่างซ่อมเครื่องจักรวิศวกรหุ่นยนต์
  • วิศวกรเทคโนโลยีการเงิน
  • พันธมิตรทางธุรกิจด้านทรัพยากรมนุษย์
  • นักพัฒนาแอปพลิเคชั่น
  • นักวิเคราะห์ข้อมูลหรือผู้เชี่ยวชาญด้านกระบวนการอัตโนมัติ

งานมีความเสี่ยงและมีความต้องการกำลังลดลง ได้แก่

  • พนักงานให้ข้อมูลลูกค้าและพนักงานบริการลูกค้า
  • ช่างติดตั้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม
  • คนงานก่อสร้าง
  • เสมียนกรอกข้อมูล
  • ผู้จัดการฝ่ายบริการธุรกิจและธุรการ
  • พนักงานบัญชี
  • การจัดทำบัญชีและบัญชีเงินเดือน หรือพนักงานธนาคาร

ทั้งนี้สิ่งสำคัญในการรับมือการเปลี่ยนแปลงในยุค New Normal นี้ การพัฒนาทักษะ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการทำงานเป็นหัวใจสำคัญ ความสามารถในการปรับตัวทุกสถานการณ์การเปลี่ยนแปลง การคิดเชิงวิพากษ์และการวิเคราะห์ความคิดสร้างสรรค์ หรือความคิดริเริ่ม ล้วนเป็นส่วนเสริมรองรับการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้

จากการสอบถามนายจ้างมากกว่า 26,000 ราย ในกว่า 40 ประเทศ ระบุว่า วิกฤติโควิด-19 ส่งผลให้เห็นถึงการปรับกระบวนการทำงานเข้าสู่ระบบดิจิทัล ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ในภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว เพื่อการผสมผสานที่ดีที่สุด ระหว่างบุคลากรที่มีความสามารถ และเทคโนโลยี ทั้งในส่วนหน้าและส่วนกลาง

เทคโนโลยี

องค์กรจึงมีความซับซ้อนมากขึ้น เนื่องจากกำลังเตรียมพร้อม โดยการมุ่งเน้นการวางแผนด้านแรงงาน และความยืดหยุ่นของห่วงโซ่อุปทานที่เพิ่มขึ้น เพื่อจัดการกับความไม่แน่นอนและความเสี่ยง

การค้นพบครั้งนี้ทำให้เห็นว่า องค์กรขนาดใหญ่ที่มีจำนวนพนักงาน 250 รายขึ้นไป วางแผนที่จะปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานเป็นรูปแบบดิจิทัลมากขึ้น และมีการจ้างงานมากที่สุด

ในทางกลับกัน องค์กรขนาดเล็ก ได้รับผลกระทบมากที่สุด จากการระบาดใหญ่ และมีความเป็นไปได้ว่า จะระงับแผนการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานเป็นรูปแบบดิจิทัล และลดแผนการจ้างงาน

สิ่งที่น่าจับตามองคือ อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญที่สุด จากภาวะวิกฤติในช่วงเริ่มต้น ได้แก่ ภาคการผลิต การก่อสร้าง และการค้าปลีก ได้ถูกแยกออกจากกัน อุตสาหกรรมบางอย่าง ใช้ระบบอัตโนมัติ และระบบดิจิทัล เพื่อที่จะปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว ในขณะที่อุตสาหกรรมอื่น ๆ ใช้วิธีการรอ สังเกตการณ์ และระงับแผนดังกล่าว

จากผลวิจัยพบว่า ภาวะวิกฤติด้านสุขภาพ, เศรษฐกิจและสังคม ทำให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคลมีความสำคัญมากขึ้นกว่าที่เคยเป็นมา เนื่องจากบริษัทต่าง ๆ ต้องใช้แนวทางการให้ความสำคัญแก่บุคลากรเป็นอันดับแรก และเห็นว่า ฝ่ายทรัพยากรบุคคล เป็นรากฐานของกลยุทธ์ทางธุรกิจ

นับจากปี 2564 เป็นต้นไป ผู้นำฝ่ายทรัพยากรบุคคล เล็งเห็นว่า สุขภาพและสุขภาวะของพนักงาน เป็นสิ่งสำคัญที่สุด โดยมีความสำคัญเป็นสองเท่า ในลำดับความสำคัญถัดจากการสร้างรูปแบบการทำงานใหม่ และการผลักดันให้มุ่งเน้นไปที่การเพิ่มทักษะ การเรียนรู้และการพัฒนา ผู้นำฝ่ายทรัพยากรบุคคล 63% เห็นว่า สุขภาพและสุขภาวะ ของพนักงานเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด

ในขณะที่องค์กรต่าง ๆ กำลังเปลี่ยนแปลง และปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานเป็นรูปแบบดิจิทัลอย่างรวดเร็ว และในวงกว้าง ความต้องการด้านทักษะก็เปลี่ยนไปเช่นกัน ภายในปี 2568 มนุษย์และเครื่องจักร จะแยกหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับงานออกจากกัน 50-50 โดยจะเกิดงานใหม่ 97 ล้านตำแหน่งในภาคส่วน AI (ปัญญาประดิษฐ์) เศรษฐกิจสีเขียวและเศรษฐกิจใส่ใจ

การเรียนรู้เพื่อที่จะเรียนรู้: แนวโน้มการเรียนรู้แบบกระชับ การฝึกอบรมมีแนวโน้มว่าจะสั้นลง และเกี่ยวข้องกับบทบาท และหน้าที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น ทางด้านพนักงานต้องการเนื้อหาที่มีความเกี่ยวข้อง ที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย และมีความเกี่ยวข้องกับตนเอง ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต

นายจ้างกำลังถูกแยกออกจากกัน

การเริ่มใหม่เพื่อพัฒนาทักษะ – หลักการ 3 อาร์ (The 3 Rs)

การเริ่มใหม่ (Renew) การปรับทักษะใหม่ (Reskill) และ การจัดสรรบุคลากรใหม่ (Redeploy) จะเข้ามาช่วยในส่วนการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานเป็นรูปแบบดิจิทัล องค์กรต่าง ๆ ต้องหาวิธีการใหม่ ๆ ในการทำสิ่งเก่า ๆ หรือวิธีการใหม่ ๆ ในการทำสิ่งใหม่ เนื่องจากทั้งธุรกิจดั้งเดิม และธุรกิจใหม่ ต่างก็ต้องปรับตัว ใช้นวัตกรรมดิจิทัลและใช้ประโยชน์จากโอกาสทางระบบออนไลน์ให้เร็วที่สุด

ผลการวิจัยที่แมนพาวเวอร์กรุ๊ปได้จัดทำขึ้น เป็นการสะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลง และการคาดการณ์ที่เกิดขึ้น หลังวิกฤติโควิดในปีแรก สู่ปีถัดไป ซึ่งทักษะการทำงานนับเป็นหัวใจสำคัญ ที่นายจ้างต้องการ และลูกจ้างต้องพัฒนาทักษะรองรับการเปลี่ยนแปลงที่หลาย ๆ สิ่งเกินการคาดการณ์ การช่วยให้ผู้คนเตรียมทักษะล่วงหน้า เพิ่มทักษะและปรับทักษะใหม่ดังนั้น ถึงเวลาสำคัญที่ทุกองค์กร และบุคลากร ต้องพร้อมรับมือกับทุกการเปลี่ยนแปลง

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo