Business

เช็คที่นี่กลุ่มได้สิทธิ์! รัฐโหมแจก 8.5 หมื่นล้าน เงินเยียวยาโควิด 6 โครงการ

รัฐโหมแจกเงินเยียวยา เช็คด่วน! กลุ่มได้สิทธิ์ รับเงินเยียวยาโควิด 6 โครงการ กรอบวงเงิน 85,500 ล้านบาท เพื่อบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายของประชาชน ท่ามกลางการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2564 ได้อนุมัติมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ระยะเร่งด่วน ในกรอบวงเงิน 85,500 ล้านบาท เพื่อบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายของประชาชน ท่ามกลางการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อประชาชนในทุกกลุ่มสาขาอาชีพ โดยโครงการที่รัฐอนุมัติเยียวยาประชาชนประกอบด้วย
1.โครงการเราชนะ กรอบวงเงิน 67,000 ล้านบาท
เพิ่มวงเงินให้ประชาชน รวม 2,000 บาท จ่ายสัปดาห์ละ 1,000 บาท ใช้จ่ายได้ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564
2. โครงการ ม.33 เรารักกัน  กรอบวงเงิน 18,500 ล้านบาท
เพิ่มวงเงินให้ผู้ประกันตน มาตรา 33 รวม 2,000 บาท จ่ายสัปดาห์ละ 1,000 บาท ใช้จ่ายได้ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564
สำหรับในระยะต่อไป ภายใต้กรอบวงเงิน 140,000 ล้านบาท  ยังมีโครงการดังนี้
3. โครงการคนละครึ่ง เฟส3
วงเงินไม่เกิน 3,000 บาท ใช้จ่ายวันละไม่เกิน 150 บาท เริ่มเดือนกรกฎาคม เป็นต้นไป
 4. โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ระยะที่ 3  
กลุ่มเป้าหมาย 13.65 ล้านคน สนับสนุนค่าครองชีพเดือนละ 200 บาท ระยะเวลา 6 เดือน เริ่มกรกฎาคม – ธันวาคม 2564
5. โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ
กลุ่มเป้าหมาย 2.5 ล้านคน สนับสนุนค่าครองชีพเดือนละ 200 บาท ระยะเวลา 6 เดือน เริ่มกรกฎาคม – ธันวาคม 2564
6. โครงการ “ยิ่งใช้ ยิ่งได้”
รัฐสนับสนุน e-Voucher ให้กับประชาชนที่ใช้ซื้อสินค้า อาหาร เครื่องดื่ม และบริการกับผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่เกิน 5,000 บาทต่อคนต่อวัน สูงสุดไม่เกิน 7,000 บาทต่อคน เมื่อประชาชนใช้จ่ายกับร้านค้าดังกล่าว จะได้รับ e-Voucher จากรัฐในช่วงเดือนกรกฎาคม – ธันวาคม 2564
รัฐโหมแจกเงินเยียวยา
นาวสาวรัชดา ธนาดิเรก  รองโฆษกรัฐบาล ระบุว่าในส่วนความคืบหน้า 3 โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ คนละครึ่งเฟส3 เราชนะ และ ม.33 เรารักกัน ทางกระทรวงการคลัง เผยความคืบหน้าโครงการ “คนละครึ่ง” เฟส 3 มีกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 31 ล้านคน แบ่งเป็น
1. ผู้ที่ได้รับสิทธิ์โครงการคนละครึ่ง เฟส 1 และ เฟส 2 จำนวน 15 ล้านคน ซึ่งกลุ่มนี้ไม่ต้องลงทะเบียนใหม่ จะได้รับวงเงินโดยอัตโนมัติ
2. ผู้ที่ไม่เคยได้รับสิทธิ์มาก่อน จะเปิดให้ลงทะเบียนเพิ่มอีก 16 ล้านคน ส่วนวันลงทะเบียนนั้น ทางกระทรวงการคลังจะแจ้งให้ทราบเร็วๆ นี้
โครงการ “คนละครึ่ง” เฟส 3 จะได้รับวงเงินคนละ 3,000 บาท โดยใช้จ่ายผ่านแอปฯ เป๋าตัง กับร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ วันละไม่เกิน 150 บาท จนครบวงเงิน
โครงการ “เราชนะ” กลุ่มเป้าหมาย 32.9 ล้านคน
โครงการ “ม.33 เรารักกัน” กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 9.29 ล้านคน รัฐบาลจะเพิ่มวงเงินให้อัตโนมัติคนละ 2,000 บาท โดยไม่ต้องลงทะเบียนใหม่ และคาดว่าจะสามารถเพิ่มวงเงินเข้าระบบได้ภายในเดือนพฤษภาคมนี้ และใช้จ่ายได้จนถึงสิ้นเดือนมิถุนายน 2564
รัฐโหมแจกเงินเยียวยา

เช็คเงื่อนไขเลยใครได้เงินเยียวยา

เงื่อนไขการใช้สิทธิของประชาชนในโครงการคนละครึ่ง เป็นโครงการที่รัฐช่วยจ่าย 50% ผู้ได้รับสิทธิจ่ายเอง 50% โดยใช้สิทธิผ่านแอปฯ เป๋าตัง จำกัดสิทธิไม่เกิน 150 บาท/วัน โดยที่ยอดรวมการใช้สิทธิ “คนละครึ่ง” ไม่เกิน 3,500 บาท ตลอดโครงการ ไม่หักสิทธิ หากใช้ไม่หมดในแต่ละวันโดยระบบจะคืนสิทธิที่ไม่ได้ใช้เข้ายอดรวมของผู้ได้รับสิทธิ และจะคำนวณสิทธิใหม่ในเวลา 6.00 น. ของทุกวัน
 คุณสมบัติผู้มีสิทธิเข้าร่วมโครงการ
มีบัตรประจำตัวประชาชนเป็นบุคคลสัญชาติไทย
อายุตั้งแต่ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ณ วันที่ลงทะเบียน
ไม่เป็นผู้ได้รับสิทธิโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (ผู้ได้รับสิทธิบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ สามารถตรวจสอบมาตรการสนับสนุนเพิ่มเติมจากภาครัฐฯ ได้ที่ www.cgd.go.th
จำนวน 5 ล้านคน หรือจนกว่าสิทธิจะหมด
เริ่มลงทะเบียนได้ตั้งแต่ 16 ธ.ค. 63 และสามารถใช้สิทธิได้ตั้งแต่ 1 ม.ค. 64 – 31 มี.ค. 64
ประเภทร้านค้าที่สามารถเข้าร่วมโครงการ
เป็นกิจการประเภท ร้านอาหาร/เครื่องดื่ม/สินค้าทั่วไป ซึ่งเป็นผู้ประกอบการรายย่อย
ไม่ได้จดทะเบียนในรูปแบบนิติบุคคล
ไม่เป็นร้านสะดวกซื้อที่เป็นธุรกิจเฟรนไชส์
โครงการเราชนะ คุณสมบัติผู้มีสิทธิ์ลงทะเบียน
  • ผู้มีสัญชาติไทย 18 ปีขึ้นไป
  • ไม่เป็นผู้ประกันตน มาตรา 33
  • ไม่เป็นข้าราชการ
  • ไม่เป็นข้าราชการการเมือง
  • ไม่รับบำนาญหรือเบี้ยหวัดจากราชการ
  • ไม่มีรายได้เกิน 3 แสนบาท
  • เงินฝากทุกบัญชีไม่เกิน 5 แสนบาท

3 กลุ่มที่ได้สิทธิโครงการ “เราชนะ”

กลุ่มที่ 1 ผู้ที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (บัตรคนจน) จำนวนประมาณ 14 ล้านคน
กลุ่มบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ไม่ต้องลงทะเบียน โดยได้รับสิทธิ์ทันที แบ่งเป็น ผู้ที่มีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาท จะได้รับเพิ่มสัปดาห์ละ 675 บาทต่อสัปดาห์ หรือ 2,700 บาทต่อคนต่อเดือน บาท
ผู้ที่มีรายได้เกิน 30,000 บาทแต่ไม่เกิน 1 แสนบาท จะได้รับเงินเพิ่มเป็น 700 บาทต่อสัปดาห์ หรือคิดเป็น 2,800 ต่อเดือน
การโอนเงิน จะโอนเงินให้สัปดาห์ละครั้ง โดยเงินจะเข้าครั้งแรก วันที่ 5 กุมภาพันธ์ และต่อไปจนกว่าจะครบ 7,000 บาท
รัฐโหมแจกเงินเยียวยา
กลุ่มที่ 2 ผู้ที่เปิดใช้งานแอพพลิเคชั่น “เป๋าตัง” และผ่านการยืนยันตัวตนแล้ว
กลุ่มที่อยู่ใน G-wallet เช่น ผู้ที่ลงทะเบียนคนละครึ่ง เราเที่ยวด้วยกัน ไม่จำเป็นต้องลงทะเบียน แต่จะต้องกด Consent หรือ “ยินยอม” เพื่อให้รัฐเข้าไปตรวจสอบข้อมูลในเรื่องของรายได้เพิ่มเติม
โดยผู้ที่มีสิทธิ์จะต้องมีเงินฝากในบัญชีไม่เกิน 500,000 บาท โดยเมื่อตรวจสอบแล้วผู้ได้รับสิทธิ์จะได้รับเงินเข้าเป๋าตังเช่นเดียวกัน โดยจะได้เป็นรายสัปดาห์ สัปดาห์ละ 1,000 บาท โดยจะเริ่มจ่ายครั้งแรกในวันที่ 18 กุมภาพันธ์นี้
กลุ่มที่ 3 ผู้ที่ไม่มีข้อมูลอยู่ในระบบฐานข้อมูลของรัฐ
ผู้ที่ไม่ได้ลงทะเบียนในโครงการคนละครึ่ง หรือประชาชนที่ไม่ได้มีฐานข้อมูล จะเปิดให้ลงทะเบียนใน www.เราชนะ.com วันที่ 8 กุมภาพันธ์ โดยจะโอนเงินช่วยเหลือทุกวันพฤหัสของสัปดาห์ โดยจะเริ่มจ่ายงวดแรกวันที่ 18 กุมภาพันธ์ เป็นต้นไป
บุคคลที่อยู่ในกลุ่มที่ 3 ได้แก่ หาบเร่ แผงรอย อาชีพอิสระ เกษตกร ผู้อยู่ในระบบประกันสังคม มาตรา 39 และมาตรา 40 ผู้มีเงินฝากรวมทุกบัญชีไม่เกิน 500,000 บาท (ณ วันที่ 31 ธ.ค.2562)
ผู้ที่มีเงินได้พึงประเมินไม่เกิน 300,000 บาท ในปีภาษี 2562
ทั้งนี้ ผู้ที่ได้รับสิทธิ์ จะสามารถใช้วงเงินได้ถึงเดือน พฤษภาคมนี้เท่านั้น หากใช้สิทธิ์ไม่หมดไม่มีสิทธิ์ใช้เงินต่อ อีกทั้ง ผู้ได้รับสิทธิ์จะไม่สามารถเบิกเงินสดได้ ต้องนำไปใช้ผ่านระบบเพื่อชำระค่าสินค้า เครื่องดื่ม และอาหาร ค่าโดยสารรถจักรยานยนต์สาธารณะ รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกินเจ็ดคน (TAXI – METER) และรถตู้โดยสารประจำทางที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย
รวมทั้งบริการต่าง ๆ ยกเว้นสลากกินแบ่งรัฐบาล เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บุหรี่ หรือยาสูบที่มีชื่อเรียกอย่างอื่น ในส่วนผู้ประกอบการ/ร้านค้าที่จะเข้าร่วมโครงการฯ ต้องไม่เป็นผู้ประกอบการ/ร้านค้า ที่เป็นนิติบุคคล โดยเป็นผู้ประกอบการ/ร้านค้า/บริการรายย่อยที่มีสถานประกอบการเป็นหลักแหล่งและตรวจสอบได้ หรือเป็นร้านค้าของกองทุนหมู่บ้านหรือกองทุนชุมชนเมืองหรือวิสาหกิจชุมชน

 สำหรับโครงการ”ม. 33 เรารักกัน”

ผู้ได้รับสิทธิ์ตามโครงการฯ ต้องเป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติ ดังนี้
1. มีสัญชาติไทย
2. เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 โดยมีข้อมูลในระบบประกันสังคม ณ วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบโครงการ ม.33 เรารักกัน (15 ก.พ.) หรือเคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2564 (วันที่ถูกตัดสิทธิ์จากโครงการเราชนะ)
3. ไม่เป็นผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและไม่ได้รับสิทธิ์โครงการเราชนะ
รัฐโหมแจกเงินเยียวยา
4. ไม่มีเงินฝากในสถาบันการเงินรวมกันทุกบัญชีเกิน 500,000 บาท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563 ในลักษณะดังต่อไปนี้
เงินฝาก ได้แก่ เงินฝากกระแสรายวัน, เงินฝากออมทรัพย์, เงินฝากประจำ, บัตรเงินฝาก, ใบรับฝากเงิน และผลิตภัณฑ์เงินฝากอื่นใดที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน
คำนวณจากบัญชีเงินฝากในธนาคารพาณิชย์ทุกแห่ง ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
ไม่รวมคำนวณเงินฝากใน “บัญชีร่วม” กับ “บัญชีเพื่อ” และสลากออมทรัพย์ไม่รวมคำนวณเงินฝากในรูปสกุลเงินตราต่างประเทศ
5. ผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่มีคุณสมบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการฯ ผ่านเว็บไซต์ www.ม33เรารักกัน.com ตั้งแต่วันที่ 21 ก.พ. – 7 มี.ค. 2564
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขสำหรับผู้ประกันตนที่เข้าร่วมโครงการฯ ผู้เข้าร่วมโครงการฯ ต้องปฏิบัติตามสาระสำคัญของโครงการฯ รวมถึงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของโครงการฯ
ห้ามผู้เข้าร่วมโครงการฯ กระทำการใดๆ ที่สร้างความเข้าใจผิดต่อมาตรการและ/หรือโครงการของรัฐ หรือก่อให้เกิดอุปสรรคต่อการดำเนินโครงการฯ หรือมาตรการอื่นๆ ของรัฐ

หากผู้เข้าร่วมโครงการฯ ไม่ปฏิบัติตามหรือฝ่าฝืนหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขของโครงการฯ ผู้เข้าร่วมโครงการฯ จะต้องชดใช้ความเสียหายใดๆ ที่เกิดขึ้นให้แก่รัฐภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งถึงการกระทำดังกล่าว โดยชดใช้ความเสียหายผ่านช่องทางที่กระทรวงแรงงานกำหนด

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo
ทีมบรรณาธิการข่าว The Bangkok Insight