Economics

ครม.จัดหนักทุ่ม 2.3 แสนล้านเยียวยาโควิดระลอกใหม่ ใครได้บ้างเช็คเลย!

ที่ประชุม ครม. ไฟเขียว มาตรการเยียวยา โควิดระลอกใหม่ ผ่านโครงการเราชนะ – คนละครึ่งเฟส 3 – ม33เรารักกัน – บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ คาดใช้งบทั้งสิ้น 235,500 ล้านบาท

นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบ มาตรการเยียวยา รอบใหม่ผ่านโครงการเราชนะ – คนละครึ่งเฟส 3 – ม33เรารักกัน – บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ – พักชําระหนี้สถาบันการเงินเฉพาะกิจ ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 235,500 ล้านบาท ประกอบด้วยมาตรการ และโครงการต่างๆ ดังนี้

มาตรการบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนในระยะเร่งด่วน

1. โครงการเราชนะ จํานวนกลุ่มเป้าหมายประมาณ 32.9 ล้านคน โดยเป็นการขยายเพิ่มวงเงินช่วยเหลือให้ประชาชนอีกสัปดาห์ละ 1,000 บาท เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ โดยมีระยะเวลาการใช้จ่ายสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2564 กรอบวงเงินประมาณ 67,000 ล้านบาท

2. โครงการ ม33 เรารักกัน จํานวนกลุ่มเป้าหมายประมาณ 9.27 ล้านคน โดยเป็นการขยายเพิ่มวงเงินช่วยเหลือให้กับผู้ประกันตน มาตรา 33 อีกสัปดาห์ละ 1,000 บาท เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ โดยมีระยะเวลาการใช้จ่ายสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2564 กรอบวงเงินประมาณ 18,500 ล้านบาท

3. มาตรการบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ลดค่าไฟฟ้าและน้ำประปา โดยให้ความช่วยเหลือลดค่าไฟฟ้าและค่าน้ำประปา ตามมาตรการเดิมที่ได้ดําเนินการในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม 2564

มาตรการเยียวยา

ส่วนมาตรการในระยะต่อไป เมื่อสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในระลอกเดือนเมษายน 2564 คลี่คลายลง กรอบวงเงินเบื้องต้น 140,000 ล้านบาท โดยจะขอใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกําหนดฯ ส่วนมาตรการลดภาระค่าครองชีพให้แก่ประชาชน ในกลุ่มที่จําเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือทางการเงินจากภาครัฐอย่างต่อเนื่อง ได้แก่

โครงการเพิ่มกําลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ระยะที่ 3 จํานวนกลุ่มเป้าหมายประมาณ 13.65 ล้านคน โดยการให้ความช่วยเหลือด้วยการลดภาระค่าครองชีพให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เพิ่มเติมเดือนละ 200 บาท ระยะเวลา 6 เดือน (เดือนกรกฎาคม-ธันวาคม 2564)

โครงการเพิ่มกําลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ กลุ่มเปราะบาง จํานวนกลุ่มเป้าหมายประมาณ 2.5 ล้านคน โดยการให้ความช่วยเหลือด้วยการลดภาระค่าครองชีพให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ เพิ่มเติมเดือนละ 200 บาท ระยะวลา 6 เดือน (เดือนกรกฎาคม-ธันวาคม 2564)

ส่วนมาตรการเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยให้ความสําคัญกับการกระตุ้นกําลังซื้อของประชาชน ในกลุ่มที่มีรายได้ปานกลางและรายได้สูง ได้แก่

โครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจจนถึงระดับฐานราก เพิ่มอุปสงค์การบริโภคภายในประเทศ โดยการลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนในส่วนของค่าอาหาร 50% ของสินเชื่อที่อนุมัติทั้งหมด 20,000 ล้านบาท รวมทั้งสิ้นไม่เกิน 10,000 ล้านบาท ทั้งนี้ กระทรวงการคลัง อยู่ระหว่างการเสนอมาตรการดังกล่าวให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาตามขั้นตอน

โครงการ “ยิ่งใช้ยิ่งได้” โดยรัฐสนับสนุน e-Voucher ให้กับประชาชนที่ใช้จ่ายซื้อสินค้า ค่าอาหารและเครื่องดื่ม และค่าบริการ กับผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่เกิน 5,000 บาท/คน/วัน สูงสุดไม่เกิน 7,000 บาท/คน โดยเมื่อประชาชนใช้จ่ายดังกล่าว จะได้รับสนับสนุน e-Voucher จากภาครัฐ ในช่วงเดือนกรกฎาคม-กันยายน 2564 และสามารถนํา e-Voucher ไปใช้จ่ายได้ในเดือนสิงหาคม-ธันวาคม 2564 ทั้งนี้ คาดว่าจะมีประชาชนเข้าร่วมโครงการฯ ประมาณ 31 ล้านคน

ส่วนมาตรการช่วยเหลือด้านการเงิน และลูกหนี้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มาตรการสินเชื่อสู้ภัยโควิด-19 เป็นการให้สินเชื่อ เพื่อเพิ่มสภาพคล่องชั่วคราวในการดำรงชีวิตให้แก่ประชาชน และบรรเทาความเดือดร้อนสำหรับผู้ได้รับผลกระทบจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยมีกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่

  • ผู้มีรายได้ประจำ เช่น พนักงาน/ลูกจ้าง หน่วยงานเอกชนที่มีเงินเดือนประจำ เป็นต้น
  • ผู้ประกอบอาชีพอิสระ เช่น ผู้ประกอบการรายย่อย พ่อค้า แม่ค้า หาบเร่แผงลอย เป็นต้น
  • เกษตรกรรายย่อย หรือลูกจ้างภาคการเกษตรที่มีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินฉุกเฉิน ผ่านธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สนับสนุนสินเชื่อวงเงินรวม 20,000 ล้านบาท (ธนาคารออมสิน และ ธ.ก.ส. แห่งละ 10,000 ล้านบาท) คิดอัตราดอกเบี้ยคงที่ (Flat Rate) ไม่เกิน 0.35% ต่อเดือน ระยะเวลากู้ไม่เกิน 3 ปี (ปลอดชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 6 งวดแรก)

มาตรการเยียวยา

ทั้งนี้ ให้ธนาคารออมสิน และ ธ.ก.ส. พิจารณาจัดลําดับความสําคัญของลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบตั้งแต่มากไปหาน้อย เพื่อดูแลลูกหนี้ในแต่ละกลุ่มได้อย่างเหมาะสม ระยะเวลาดําเนินงานถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 โดยมีกรอบวงเงินงบประมาณ รัฐบาลชดเชยความเสียหายที่เกิดจากหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-Performing Loans: NPLs) 100% สำหรับ NPLs ที่ไม่เกิน 50% ของสินเชื่อที่อนุมัติทั้งหมด 20,000 ล้านบาท รวมทั้งสิ้นไม่เกิน 10,000 ล้านบาท ทั้งนี้ กระทรวงการคลัง อยู่ระหว่างการเสนอมาตรการดังกล่าวให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาตามขั้นตอน

ส่วนมาตรการพักชําระหนี้ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ เป็นการให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจ (SFs) ขยายระยะเวลาพักชําระหนี้ให้แก่ลูกค้ารายย่อย ออกไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 ตามความสมัครใจ โดยการพักชําระเงินต้น เพื่อลดภาระการชําระหนี้เป็นการชั่วคราวให้แก่ลูกหนี้ หรือเพื่อนําเงินงวดที่จะต้องชําระหนี้ไปเป็นสภาพคล่องในการดําเนินชีวิตประจําวัน หรือเพื่อการประกอบธุรกิจในช่วงที่มีความไม่แน่นอนสูง โดยวิธีการชําระหนี้ที่พักชําระไว้ดังกล่าวจะต้องไม่เพิ่มภาระให้แก่ลูกหนี้มากจนเกินควร เมื่อพิจารณาอัตราดอกเบี้ยตลอดระยะเวลาสัญญาเงินกู้ ซึ่งรวมถึงดอกเบี้ยกรณีที่ SFIs ได้พิจารณาพักชําระไว้ด้วย

นอกจากนี้ ให้ SFts พิจารณาจัดลําดับความสําคัญของลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบตั้งแต่มากไปหาน้อย เพื่อดูแลลูกหนี้ในแต่ละกลุ่มได้อย่างเหมาะสม โดยคํานึงถึงประโยชน์ของลูกหนี้เป็นสําคัญ ทั้งนี้ กระทรวงการคลัง จะพิจารณาแนวทางในการช่วยเหลือ SFls ตามความจําเป็นและเหมาะสม ในกรณีที่การดําเนินการดังกล่าวส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องหรือฐานะทางการเงินของ SFls

รายงานข่าวจาก กระทรวงการคลัง ระบุว่า ครม.ยังเห็นชอบในหลักการตามข้อเสนอของกระทรวงการคลัง และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เกี่ยวกับมาตรการเยียวยาและช่วยเหลือประชาชนจากผลกระทบโควิด-19 ระลอกใหม่ ประกอบด้วย มาตรการเพิ่มกำลังซื้อผ่านโครงการคนละครึ่ง เฟส 3 ด้วยการโอนเงินให้ผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 3,000 บาท รวมทั้งหมด 31 ล้านคน ใช้เงินดูแล 93,000 ล้านบาท เริ่มใช้จ่ายตั้งแต่เดือนกรกฎาคม-ธันวาคม 2564 เมื่อที่ประชุม ครม.เห็นชอบในหลักการแล้ว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมจัดทำรายละเอียดเสนอ ครม. เพิ่มเติม โดยใช้ฐานข้อมูลเดิมมาช่วยเหลือประชาชนในช่วงปลายปีต่อไป

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo