Business

ว่างงานเช็คด่วน! ประกันสังคมจ่าย ผู้ประกันตนมาตรา 33 ใน 35 กิจการ

จ่ายชดเชยว่างงาน ประกันสังคมพร้อมจ่ายสิทธิประโยชน์ว่างงาน เหตุสุดวิสัยให้ผู้ประกันตนกระทบโควิด -19 กทม. ประกาศปิดสถานที่ และ 35 กิจการ ชั่วคราว 

นายทศพล กฤตวงศ์วิมาน เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน กล่าวถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 ที่มีการแพร่ระบาดระลอกใหม่และมีแนวโน้มว่าจะมีการแพร่ระบาดลุกลามมากขึ้น โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพมหานครได้ประกาศสั่งปิดสถานที่และสถานประกอบกิจการเป็นการชั่วคราวจำนวน 35 ประเภทตั้งแต่วันที่ 26 เมษายน – 9 พฤษภาคม 2564 เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด 19 ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการประกอบกิจการ และลูกจ้างผู้ประกันตนไม่ได้รับค่าจ้างซึ่ง

จ่ายชดเชยว่างงาน

ทั้งนี้นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มีความห่วงใยพร้อมสั่งการให้สำนักงานประกันสังคม เร่งให้ความช่วยเหลือเยียวยาและบรรเทาความเดือดร้อน ให้ผู้ประกันตนพร้อมให้บริการจ่ายสิทธิประโยชน์กรณีว่างงาน เนื่องจากเหตุสุดวิสัยแก่ผู้ประกันตนตามประกาศ “กฎกระทรวงการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัยอันเกิดจากการระบาดของโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ พ.ศ. 2563” ให้ได้รับสิทธิเต็ม

จ่ายชดเชยว่างงาน

นายทศพล กล่าวถึงคุณสมบัติผู้ประกันตนมาตรา 33 ในการขอรับสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัยต้องส่งเงินสมทบครบ 6 เดือนใน 15 เดือน จึงจะเกิดสิทธิรับเงินกรณีว่างงาน แต่ไม่ได้ทำงาน หรือนายจ้าง ให้หยุดงานเนื่องจากต้องกักตัว หรือเฝ้าระวังการระบาดของโรคหรือไม่ได้ทำงานเนื่องจากนายจ้างต้องหยุดประกอบกิจการ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน

จ่ายชดเชยว่างงาน

เนื่องจากทางราชการ มีคำสั่งให้ปิดสถานที่เป็นการชั่วคราวเพื่อป้องกันการระบาดของโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ ทำให้ไม่สามารถประกอบกิจการได้ตามปกติ และลูกจ้างไม่ได้รับค่าจ้างในระหว่างนั้นให้ลูกจ้างดังกล่าวมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานในอัตรา 50% ของค่าจ้างรายวัน

จ่ายชดเชยว่างงาน

โดยให้ได้รับตลอดระยะเวลาที่มีการกักตัว หรือเฝ้าระวังการระบาดของโรคหรือมีคำสั่งปิดสถานที่ดังกล่าวแล้วแต่กรณี แต่รวมกับไม่เกิน 90 วัน ช่องทางการขอรับสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานจากเหตุโควิด -19

จ่ายชดเชยว่างงาน

ครั้งนี้สำนักงานประกันสังคม กำหนดให้นายจ้างและลูกจ้าง ซึ่งเป็นสถานประกอบการที่ได้รับผลกระทบ ดำเนินการขอรับประโยชน์ทดแทนตามช่องทางดังนี้

1. ผู้ประกันตนมีหน้าที่กรอกแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส. 2-01 / 7 สามารถ download แบบได้ที่ www.sso.go.th) แล้วนำส่งให้นายจ้างขอเน้นย้ำเรื่องเบอร์โทรศัพท์ติดต่อและเลขบัญชีธนาคารที่ถูกต้อง

2.  นายจ้างมีหน้าที่ดำเนินการยื่นขอรับสิทธิว่างงานในระบบ e-Service ดังนี้

2.1 บันทึกข้อมูลในระบบ e-Service บน www.sso.go.th โดยต้องบันทึกข้อมูลลูกจ้างตามแบบสปส. 2017 และหนังสือรับรองการหยุดงานกรณีราชการสั่งปิด / กรณีกักตัว

2.2 รวบรวมแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส. 2-01 / 7) ของลูกจ้างที่ได้บันทึกแล้วในระบบ e-Service บน www.sso.go.th นำส่งมายังสำนักงานประกันสังคมในพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ทางไปรษณีย์ลงทะเบียะภายใน 3 วันทำการนับ แต่วันที่บันทึกข้อมูลในระบบ e-Service

ประกันสังคม333

นายทศพล กล่าวว่าในการขอรับสิทธิประโยชน์ว่างงานจากเหตุโควิด -19 นายจ้างและลูกจ้าผู้ประกันตนต้องดำเนินการตามข้อ 1 และข้อ 2 และขอย้ำว่าลูกจ้างผู้ประกันตนไม่ต้องเดินทางมายังสำนักงานประกันสังคม

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ทั้ง 12 แห่ง / จังหวัด / สาขา / ที่ท่านสะดวกหรือผ่านโทรศัพท์สายด่วนประกันสังคม 1506 ตลอด 24 ชั่วโมง

ทั้งนี้นายสุชาติ  ได้กำชับให้สำนักงานประกันสังคมเฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดรวมทั้งรับทราบปัญหาที่เกิดขึ้นจากผลกระทบภาวะวิกฤตโควิด -19 ทุกด้านเพื่อหาแนวทางกำหนดมาตรการแก้ไขให้สอดคล้องกับมาตรการของรัฐบาลเพื่อเร่งเยียวยาและบรรเทาความเดือดร้อนนายจ้างและผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด -19 ระลอกใหม่ให้มากที่สุด

  • จ่ายเงินทดแทน 70% กรณีว่างงานปกติ เนื่องจากถูกเลิกจ้าง

กรณีว่างงาน เพราะถูกเลิกจ้าง ประกันสังคม มาตรา 33 จะได้รับเงินชดเชย 70% ของค่าจ้างรายวัน ปีละไม่เกิน 200 วัน จากเดิมกองทุนฯ จ่ายเงินชดเชย 50% ของค่าจ้าง เป็นเวลา 180 วันต่อปี

  • จ่ายเงินทดแทน 45% กรณีว่างงานปกติ เนื่องจากลาออก

กรณีว่างงาน เพราะลาออก ผู้ประกันตนมาตรา 33 จะได้รับเงินชดเชย 45% ของค่าจ้างรายวัน ปีละไม่เกิน 90 วัน จากเดิมจะได้รับเงินชดเชย 30% ไม่เกินปีละ 90 วัน

  • ดึง “มาตรา 33” หลุดระบบ สมัครเป็นมาตรา 39

ผู้ประกันตนมาตรา 33  ที่ส่งเงินสมทบกองทุนมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน และความเป็นผู้ประกันตนได้สิ้นสุดลง เนื่องจากสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2562 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2563 หากประสงค์อยู่ในระบบ ประกันสังคม ต่อ สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 (ผู้ประกันตนภาคสมัครใจ) ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2564

  • ขยายเวลาส่งเงินสมทบ “มาตรา 39”

ผู้ประกันตนมาตรา 39 และผู้ประกันตนที่สิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนด้วยสาเหตุ 1.ไม่ส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน และ 2. ภายในระยะเวลา 12 เดือน ส่งเงินสมทบไม่ครบ 9 เดือน ได้รับการขยายระยะเวลานำส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม สำหรับเงินสมทบที่ต้องนำส่งประจำงวดเดือนมีนาคม 2563 ถึงงวดเดือนพฤษภาคม 2564 โดยให้นำส่งภายในวันที่ 15 มิถุนายน 2564

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo
ทีมบรรณาธิการข่าว The Bangkok Insight