Business

สมาคมภัตตาคารฯ จี้นายกฯ เยียวยา ‘ร้านอาหาร’ พักหนี้เงินกู้ – ช่วยจ่ายค่าจ้าง 50%

สมาคมภัตตาคารฯ ยื่น 4 ข้อเสนอถึงนายกฯ จี้เยียวยา “ร้านอาหาร” พักหนี้เงินกู้ – ช่วยจ่ายค่าจ้าง 50%

จากสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ที่แพร่ระบาดรุนแรงมากขึ้นและยังไม่มีท่าทีจะสงบลงในเร็ว ๆ นี้ รัฐบาลโดยศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 (ศบค.) จึงได้ยกระดับมาตรการควบคุมไวรัสทั่วประเทศ ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจและการดำรงชีวิตของประชาชน

สมาคมภัตตาคารไทย-ขอนายกฯ-ช่วยเยีวยา

ล่าสุดนางฐนิวรรณ กุลมงคล นายกสมาคมภัตตาคารไทย จึงได้ออกแถลงการณ์ว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19 นับจนถึงวันนี้ 24 เมษายน 2564 ประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อจำนวน 2,839 คน ยอดผู้ป่วยสะสมประมาณ 50,000 คนและจะเพิ่มในอัตราสูงสุดเท่าที่เคยปรากฏ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทางการแพทย์ได้คาดการไว้ว่า สัปดาห์หลังสงกรานต์จะมีตัวเลขที่สูงขึ้น รัฐบาล และ ศบค. พยายามควบคุมสถานการณ์ ด้วยการขอความร่วมมือกับทุกหน่วยงานเพื่อพยายามควบคุมการแพร่ระบาดมิให้แพร่กระจาย เพื่อไม่ให้เกิดภาวะที่ เตียง แพทย์จะรักษาได้ โดยขอความร่วมมือมายังทุกภาคส่วนแล้วนั้น

ผู้ประกอบการร้านอาหารทั่วประเทศ โดยเฉพาะในจังหวัดที่มีความเสี่ยงสูงสุด 18 จังหวัดได้รับการผ่อนปรนให้นั่งรับประทานได้ ถึง 21.00 น. และซื้อกลับบ้านได้ถึง 23.00 น. โดยคำนึงถึงห่วงโซ่ธุรกิจที่จะกระทบถึงทั้งภาคแรงงาน พ่อค้าในตลาดค้าปลีก ค้าส่ง และเกษตรกร

ซึ่งทางสมาคมภัตตาคารไทยเองก็ได้ให้ความร่วมมือทำความเข้าใจกับผู้ประกอบการถึงความจำเป็นดังกล่าว ซึ่งหากว่าสถานการณ์ดีขึ้น ทางรัฐบาลและ ศบค. จะผ่อนคลายการทำธุรกิจให้กลับคืนสภาพเดิมให้เร็วที่สุด โดยได้พยายามประคับประคองทั้งด้านการสาธารณสุขและด้านเศรษฐกิจไปพร้อมกัน

ในวันนี้ด้วยสถานการณ์ที่ทุกฝ่ายให้ความร่วมมือ ทำงานที่บ้าน หยุดการเคลื่อนที่ หยุดการสังสรรค์รวมหมู่ให้มากที่สุด รวมทั้งการสถานการณ์การแพร่ระบาดครั้งนี้ เกิดเป็นวงกว้าง กระทบถึงผู้คนในสังคม และความรุนแรงที่จะถึงแก่ชีวิตในเร็ววัน

ดังนั้นเพื่อร่วมกันให้สถานการณ์ดีขึ้นสมาคมภัตตาคารไทยใคร่ขอความร่วมมือ หากผู้ประกอบใด สามารถลดเวลาการนั่งในร้าน หรือ ทำการ take-home อย่างเดียวได้ โดยภาครัฐไม่ต้องออกมาตรการ เคอร์ฟิว ล็อคดาวน์ ซึ่งไม่ได้เกิดผลในแง่ของการชดเชยใดๆ จากภาครัฐ

ซึ่งทางสมาคมภัตตาคารไทยเองก็ได้ให้ความร่วมมือทำความเข้าใจกับผู้ประกอบการถึงความจำเป็นดังกล่าว ซึ่งหากว่าสถานการณ์ดีขึ้น ทางรัฐบาลและ ศบค. จะผ่อนคลายการทำธุรกิจให้กลับคืนสภาพเดิมให้เร็วที่สุด โดยได้พยายามประคับประคองทั้งด้านการสาธารณสุขและด้านเศรษฐกิจไปพร้อมกัน

นอกจากนี้ สมาคมภัตตาคารไทยจะได้ขอนำส่งมาตรการความช่วยเหลือที่ต้องการจากผู้ประกอบการถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ดังนี้

  1. เพิ่มแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) ที่เข้าถึงได้ง่าย
  2. ผ่อนผันชำระต้นและดอกเบี้ยเงินกู้ โดยอาจจะพักดอก 6 เดือน พักต้น 1 ปี
  3. ช่วยลดค่าใช้จ่ายทั้งภาษี และค่าสาธารนูปโภค
  4. ช่วยจ่ายค่าแรงพนักงาน 50% หรือ ผ่อนผันค่าใช้จ่ายประกันสังคม 3 เดือน

สมาคมภัตตาคารไทย

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo