Business

ซีพีเอฟ ร่วมรณรงค์ ‘วันป่าไม้โลก’ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ขับเคลื่อน ‘ครัวโลกยั่งยืน’

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เดินหน้ามีส่วนร่วมอนุรักษ์ และฟื้นฟูผืนป่าตลอดห่วงโซ่การผลิต ตั้งแต่ต้นทางจัดหาวัตถุดิบถูกกฎหมายและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอย่างคุ้มค่า พร้อมปลูกฝังพนักงานในองค์กร เพิ่มพื้นที่สีเขียวในฟาร์ม โรงงาน และชุมชน สร้างสมดุลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

นายวุฒิชัย สิทธิปรีดานันท์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม และการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซีพีเอฟ กล่าวว่า ซีพีเอฟ ตระหนักดีถึงการดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม บรรเทาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสร้างสมดุลธรรมชาติอย่างยั่งยืน

19A

โดยกำหนดกลยุทธ์ 3 เสาหลัก ประกอบด้วย อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดินน้ำป่าคงอยู่ สอดคล้องตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals : SDGs) เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนธุรกิจตามวิสัยทัศน์ครัวของโลก ที่มีเป้าหมายสร้างความมั่นคงทางอาหาร ควบคู่ไปกับการดูแลสิ่งแวดล้อม

บริษัทมุ่งมั่นมีส่วนร่วมเพิ่มพื้นที่ป่าตลอดห่วงโซ่การผลิต ตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบจากแหล่งที่ยั่งยืน ไม่ตัดไม้ทำลายป่า และมีเอกสารสิทธิ์ที่ดินรับรอง ส่งเสริมให้คู่ค้าใส่ใจสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐานสากล เพื่อให้มั่นใจว่า วัตถุดิบที่ใช้ในกระบวนการผลิตสามารถตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มาได้

ตลอดจนส่งเสริม และให้ความรู้แก่เกษตรกร ในการทำการเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ จากกระบวนการในห่วงโซ่อุปทานของซีพีเอฟตั้งแต่ต้นทาง ณ พื้นที่เพาะปลูกของเกษตรกร มีส่วนช่วยบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก รวมทั้งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามเป้าหมาย SDGs

19C

19D

เนื่องใน“วันป่าไม้โลก” ซึ่งตรงกับวันที่ 21 มีนาคมของทุกปี ซีพีเอฟ มุ่งมั่นมีส่วนร่วม และปลูกฝังพนักงาน ในองค์กรร่วมอนุรักษ์ และฟื้นฟูป่าไม้ ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของความอุดมสมบูรณ์ของอาหารทั้งของมนุษย์และสัตว์ และเป็นแหล่งทรัพยากรที่สำคัญ โดยส่งเสริมการดำเนินโครงการปลูกป่าทั้งในประเทศไทย และกิจการในต่างประเทศ อาทิ เวียดนาม ลาว กัมพูชา ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย อินเดีย ตุรกี

สำหรับในไทย ซีพีเอฟร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ และชุมชนในพื้นที่อนุรักษ์ และฟื้นฟูป่าบกและป่าชายเลน ซี่งในระยะที่หนึ่ง (ปี 2559-2563) ของการดำเนินโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่า ภายใต้โครงการซีพีเอฟ รักษ์นิเวศ ลุ่มน้ำป่าสัก เขาพระยาเดินธง จังหวัดลพบุรี สามารถอนุรักษ์และฟื้นฟูป่า 5,971 ไร่ และโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลน “ซีพีเอฟ ปลูก ปัน ป้อง ป่าชายเลน” ระยะที่หนึ่ง (ปี 2557-2561) อนุรักษ์และฟื้นฟูป่า 2,388 ไร่ รวมทั้งดำเนินโครงการซีพีเอฟรักษ์นิเวศ ปลูกฝังพนักงานปลูกต้นไม้ในสถานประกอบการของบริษัททุกแห่งทั่วประเทศ 1,720 ไร่

ปลายปี 2563 บริษัทได้ลงนามความร่วมมือกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ในโครงการปกป้องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) เพื่ออนุรักษ์ ฟื้นฟู ป่าบก และป่าชายเลน ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 26,000 ไร่ มุ่งสู่การมีส่วนร่วมปกป้องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อความมั่นคงทางอาหารและสร้างสมดุลธรรมชาติอย่างยั่งยืน

19E

19g

ซีพีเอฟ ยังได้สนับสนุนแนวทางฟาร์มสีเขียว (Green Farm) พัฒนาฟาร์มที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และอยู่ร่วมกับชุมชนอย่างยั่งยืน สร้างธุรกิจฟาร์มสุกรรูปแบบใหม่ ที่มุ่งเน้นความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยจัดทำเป็นสวนป่านิเวศในฟาร์มสุกร เช่น โครงการสวนป่าชุมชน หมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร

โดยนำของเสียที่เกิดจากกระบวนการเลี้ยงสุกร และมูลสุกรไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่า เช่น น้ำปุ๋ยจากมูลสุกร ที่ผ่านการบำบัดในกระบวนการผลิต นำไปรดต้นไม้ ใส่ปุ๋ยมูลสุกรให้ต้นไม้ เป็นต้น รวมถึงการพัฒนาโครงการฯ ให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ป่านิเวศชุมชน และโครงการหนองหว้า จังหวัดฉะเชิงเทรา ที่มีพื้นที่ว่างของชุมชนที่ต้องการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยการปลูกป่าชุมชนมาตั้งแต่ปี 2559 และสามารถพัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้ป่านิเวศในชุมชน

นอกจากนี้ ซีพีเอฟ ยังให้ความสำคัญ ในการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ ในรูปแบบของการซื้อคาร์บอนเครดิต จากแหล่งที่มีการปลูกป่า และได้รับการรับรองจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) โดยได้ซื้อคาร์บอนเครดิตจาก วัดหนองจระเข้ ตำบลบ้านนา อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ที่มีการปลูกป่าอย่างยั่งยืน บนพื้นที่ 46.99 ไร่ ซึ่งสามารถกักเก็บก๊าซเรือนกระจกได้ 16 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี เพื่อร่วมสนับสนุนชุมชน ปลูกป่าอย่างยั่งยืน

19H

19K

“การดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบของซีพีเอฟ ไม่เพียงมีส่วนร่วมเพิ่มพื้นที่ป่า ส่งเสริมชุมชนให้ร่วมดูแล ฟื้นฟู และอนุรักษ์ป่า แต่ให้ความสำคัญกับการปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ และความเป็นอยู่ที่ดีของสังคม ซึ่งเป็นเป้าหมายความสำเร็จอย่างแท้จริง ในการสร้างสมดุลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน” นายวุฒิชัย กล่าว

ภายใต้กลยุทธ์สู่ความยั่งยืนด้านดินน้ำป่าคงอยู่ ซีพีเอฟ ได้บูรณาการเป้าหมาย SDGs มาใช้กับการดำเนินงาน สอดรับกับ SDGs ข้อ 2 คือ ยุติความหิวโหย ข้อ 6 การจัดให้มีน้ำสะอาดและสุขอนามัยส่วนบุคคล ข้อ 7 การเข้าถึงพลังงานสะอาด ข้อ 12 การบริโภคด้วยความรับผิดชอบ ข้อ 13 การปกป้องโลกจากการเปลี่ยนสภาพภูมิอากาศ ข้อ 14 การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทร ข้อ 15 การปกป้องและฟื้นฟู ระบบนิเวศ และข้อ 17 สร้างความแข็งแกร่งของการเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลก

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo