Business

พิษโควิด เจ้าของพื้นที่ค้าปลีก ต้องปรับตัว ในภาวะผู้เช่าเปิดร้านเล็กลง

พิษโควิด เจ้าของพื้นที่ค้าปลีก ปรับตัวขนานใหญ่ รับเทรนด์ผู้เช่าพื้นที่หันหาออนไลน์ เช่าพื้นที่ขนาดเล็กลง เสนอเงื่อนไขยืดหนุ่นมากขึ้น

ปี 2563 ต้องยอมรับว่า พิษของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจอย่างมาก โดยเฉพาะในธุรกิจค้าปลีก ที่รัฐบาลไทยประกาศล็อกดาวน์ ให้ร้านค้าปิดทําการ และแม้จะเลิกมาตรการล็อกดาวน์ในช่วงครึ่งปีหลัง จํานวนลูกค้าที่ใช้บริการก็ยังลดลงอย่างมาก ยิ่งการแพร่ระบาดระลอกใหม่ในปีนี้จาก พิษโควิด เจ้าของพื้นที่ค้าปลีก จึงต้องปรับตัวครั้งใหญ่เพื่อความอยู่รอด

พิษโควิด เจ้าของพื้นที่ค้าปลีก

ซีบีอาร์อี บริษัทที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำระดับโลก มองแนวโน้มของธุรกิจค้าปลีก โดยเฉพาะในฐานะเจ้าของพื้นที่ค้าปลีก ไว้อย่างน่าสนใจว่า จากผลกระทบที่เกิดขึ้น ทำให้ ศูนย์การค้า ทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก ต่างจําเป็นต้องปรับตัว เพื่อรักษาผู้เช่าไว้ โดยเฉพาะในย่านใจกลางเมือง ที่มีอัตราการเข้าใช้พื้นที่ลดลง

จากการสำรวจพื้นที่ค้าปลีกพบว่า ความเชื่อมั่นของผู้บริโภค และกิจกรรมต่าง ๆ ในตลาดค้าปลีกสามารถฟื้นตัวได้ในไตรมาสสุดท้ายของปี เนื่องจากมาตรการป้องกันด้านสุขภาพ ได้ถูกผ่อนคลายลง และรัฐบาลไทยได้อนุมัติโครงการที่ช่วยกระตุ้นการใช้จ่าย คือ “คนละครึ่ง” และ “ช้อปดีมีคืน”

อย่างไรก็ตาม หลังผ่านพ้นไตรมาส 4 ปี 2563 เข้าสู่ปี 2564 กลับพบว่า ความต้องการภายในประเทศเพียงอย่างเดียว อาจไม่สามารถคํ้าจุนตลาดค้าปลีกในประเทศไทยได้ และกําหนดเวลาในการเปิดประเทศ สําหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ จะมีความสําคัญอย่างยิ่ง ต่อการอยู่รอดของธุรกิจค้าปลีก

ทั้งนี้ แม้จะมีการคาดการณ์ว่า ตลาดค้าปลีก จะฟื้นตัวในปี 2564 แต่จากการสํารวจความคิดเห็น ผู้เช่าพื้นที่ค้าปลีก ในเอเชียแปซิฟิก โดยแผนกวิจัย ซีบีอาร์อี เมื่อเดือนตุลาคม ปี 2563 พบว่า ส่วนใหญ่ระบุว่า ธุรกิจยังไม่น่าจะฟื้นตัวเต็มที่ เท่ากับระดับเดียวกันกับ ช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาด จนกว่าจะถึงช่วงครึ่งหลังของปี 2564

ขณะที่เจ้าของพื้นที่ ต้องปรับตัวให้เข้ากับตลาดค้าปลีกที่เปลี่ยนไป เช่นเดียวกับธุรกิจอื่น ๆ การบริหารกระแสเงินสด กลายเป็นกลยุทธ์สําคัญ สําหรับธุรกิจค้าปลีก เจ้าของพื้นที่ค้าปลีก จะพิจารณาแผนการลงทุนอย่างละเอียดรอบคอบมากขึ้น

ดังนั้น จึงเชื่อว่า จะมีการทบทวนแผนการพัฒนาโครงการใหม่ ที่ยังไม่ได้เริ่มก่อสร้าง และที่ต้องใช้เงินลงทุนสูง เพื่อเป็นการรักษาเสถียรภาพทางการเงิน รวมทั้งการลงทุนในต่างประเทศ ยังคงมีจํานวนจํากัด สาขาที่ไม่ทํากําไร จะถูกปิดตัวลง เพื่อลดต้นทุนในการดําเนินงาน

1 9

อย่างไรก็ตาม จากการที่รัฐบาลได้ยกเลิกข้อจํากัดหลายประการ สําหรับธุรกิจค้าปลีก จึงมีแนวโน้มว่า
เจ้าของพื้นที่ค้าปลีก อาจให้ความยืดหยุ่นกับผู้เช่าน้อยลง ในเรื่องส่วนลดค่าเช่า เนื่องจากถึงเวลาที่เจ้าของพื้นที่ จะต้องปรับสมดุล ระหว่างการรักษาผลกําไร กับจํานวนลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการ

ในทางกลับกัน เจ้าของพื้นที่จะเสนอสัญญาการเช่าพื้นที่ที่ยืดหยุ่นมากขึ้น เช่น มีเงื่อนไขเรื่องระยะเวลาการเช่าที่สั้นลง และตั้งราคาค่าเช่า ที่แตกต่างกันสําหรับพื้นที่ครัว และพื้นที่นั่งรับประทานอาหา รสําหรับธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม

ด้านผู้เช่าก็ได้มีการปรับตัว โดยการลดขนาดพื้นที่เช่า จึงทําให้อัตราการใช้พื้นที่ในโครงการลดลง

นอกจากนี้ เจ้าของพื้นที่ ยังจะประเมินธุรกิจการค้า และการจัดสรรผู้เช่าอีกครั้ง จึงทำให้คาดว่า น่าจะได้เห็นการนําเสนอนวัตกรรมใหม่  ๆ เพิ่มมากขึ้น  ในพื้นที่ค้าปลีก อาจเป็นการผสมผสาน  ระหว่างพื้นที่ในร่มและพื้นที่กลางแจ้ง และมีร้านค้าที่หลากหลายมากขึ้น

ตัวอย่างภาพของธุรกิจค้าปลีกที่จะเกิดขึ้น เช่น  ร้านอาหารและคาเฟ่ ที่มีเอกลักษณ์ พื้นที่สันทนาการสําหรับครอบครัว โซนที่เป็นมิตรกับสัตว์เลี้ยง เพื่อให้ลูกค้ามีประสบการณ์ การช้อปปิ้งที่หลากหลายมากขึ้น

ขณะเดียวกัน คนในพื้นที่ จะเป็นกลุ่มลูกค้าที่ได้รับความสนใจอีกครั้ง แทนที่จะเป็นนักท่องเที่ยว จากการที่
แนวโน้มในภาคการท่องเที่ยวยังคลุมเครือ ความท้าทายด้านการเงิน อาจเป็นแรงกดดัน ที่ทําให้เจ้าของพื้นที่ค้าปลีก สํารวจผลประกอบการของผู้เช่า อย่างระมัดระวังมากขึ้น

ในแง่ของผู้ค้าปลีก การปรับขนาด และรูปแบบพื้นที่เช่า จะกลายเป็นแนวทางที่มีความสําคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากเป็นวิธีที่สามารถช่วยประหยัดต้นทุน และทําให้ธุรกิจมีความคล่องตัวมากขึ้นไปในเวลาเดียวกัน

อีกแนวโน้มสำคัญที่ต้องจับตามองคือ แบรนด์ใหญ่ ๆ ที่เคยเช่าพื้นที่ขนาดใหญ่ จะเริ่มเจรจาขอเช่าพื้นที่ขนาดเล็กลง ความต้องการเช่าพื้นที่ ของผู้เช่ารายหลัก จะมีการเปลี่ยนแปลอย่างเห็นได้ชัด ธนาคารต่างกําลังย้ายไปสู่แพลตฟอร์มออนไลน์ และต้องการพื้นที่สาขาน้อยลง

ส่วนธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม จะให้ความสําคัญกับบริการส่งอาหารมากขึ้น จึงจําเป็นต้องมีครัวขนาดใหญ่ขึ้น ร้านขายสินค้าแฟชั่นจะมีช่องทางการจัดจําหน่ายที่หลากหลาย (Omni-channel) มากขึ้น

ภาพที่อาจเกิดขึ้นในปีนี้คือ การปิดสาขาที่ไม่ทํากําไรเพื่อลดค่าใช้จ่าย ผู้ค้าปลีกบางรายได้ประกาศว่า จะชะลอแผนการขยายสาขาในปี 2564 ออกไปก่อน เพื่อให้ความสําคัญกับการรักษารายได้ จากสาขาที่มีอยู่

การสร้างความแตกต่าง และการมีเนื้อหา ที่ช่วยสร้างประสบการณ์ จะยังคงมีความสําคัญอย่างมาก ในการดึงดูดผู้เช่า ในการนําเสนอบริการ หรือประสบการณ์ที่ลูกค้าไม่สามารถได้รับจากการซื้อสินค้าทางออนไลน์ รวมทั้ง ผู้เช่าเหล่านี้ จะได้รับความสนใจ และมีอํานาจในการต่อรอง กับเจ้าของพื้นที่ค้าปลีกมากขึ้น เพราะสามารถดึงดูดลูกค้าให้เข้ามาใช้บริการในศูนย์การค้าได้

ในด้านโครงสร้างค่าเช่า ซีบีอาร์อีคาดว่า จะได้เห็นผู้เช่าจํานวนมากขึ้น ขอเปลี่ยนจากการเช่าแบบถาวร มาเป็นแบบชั่วคราว ซึ่งผู้เช่าจะพัฒนารูปแบบร้านค้าให้มีขนาดเล็กลง เช่น ป๊อปอัปสโตร์ และบูธขายสินค้า เพื่อรักษาผลกําไรในช่วงที่สถานการณ์ตลาดมีความไม่แน่นอน

ในส่วนของผู้บริโภค ก็มีการปรับตัวเช่นกัน ผู้บริโภคยุคใหม่ จะรอบคอบ และมีความต้องการมากขึ้น เนื่องจากความเชื่อมั่นในการใช้จ่ายของผู้บริโภคลดลง และหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2562 ทําให้ในปี 2564 ผู้ซื้อโดยเฉพาะผู้ที่มีรายได้ระดับปานกลางถึงตํ่า จะมีความระมัดระวัง ในการซื้อสินค้าที่ใช้ในชีวิตประจําวันมากขึ้น รวมถึงเลือกซื้อเฉพาะสิ่งที่จําเป็น แทนที่จะซื้อสินค้าฟุ่มเฟือย

ทั้งนี้ การใช้จ่ายจะเกิดบ่อยขึ้น แต่ด้วยจํานวนเงินที่น้อยลง เนื่องจากการมีเงินสดในมือจะเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคให้ความสําคัญ

ซีบีอาร์อียังเชื่อว่า ในปี 2564 ความคาดหวังของลูกค้า ที่มีต่อการช้อปปิ้งทั้งทางหน้าร้าน และออนไลน์จะเพิ่มสูงขึ้น เพราะผู้บริโภคแสวงหาประสบการณ์ในการใช้จ่าย ไม่ใช่แค่เพียงสินค้าเท่านั้น

สําหรับอี-คอมเมิร์ซ สิ่งที่ผู้บริโภคจะคาดหวังคือ ประสบการณ์ในการช้อปปิ้งที่ราบรื่น พร้อมการจัดส่งสินค้าที่รวดเร็วและไม่มีค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ ผู้บริโภคยังรายล้อมไปด้วยทางเลือกมากมาย ในการซื้อสินค้าจากทุกมุมโลก

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo