Business

ธุรกิจอ่วม ‘พิษโควิด’ รอบปี 2563 ซ้ำด้วยระบาดระลอกใหม่

ธุรกิจอ่วมพิษโควิด รอบปี 2563 โดยเฉพาะธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว อย่าง สายการบิน โรงแรม บริษัทนำเที่ยว หรือบริษัททัวร์

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเกิดการระบาดระลอกใหม่ ทำให้ธุรกิจที่ย่ำแย่และเริ่มจะฟื้นตัว กลับได้รับผลกระทบซ้ำสอง จนคาดเดาไม่ยากว่า ต้องใช้เวลาฟื้นตัวลากยาวออกไปอีก โดยเราได้รวบรวม ธุรกิจอ่วมพิษโควิด รอบปี 2563 ไล่เรียงจากกลุ่มที่ได้รับผลกระทบหนักสุด ซึ่งล้วนแต่ส่งผลให้กระทบให้เกิดการปิดกิจการ เลิกจ้างจำนวนมาก

ธุรกิจอ่วมพิษโควิด

อุตสาหกรรมการบินหายใจพะงาบ จากพิษโควิด-19

ไวรัส โควิด-19 คือฝันร้ายที่แท้จริงของสายการบิน เมื่อประเทศไทยต้องประกาศล็อกดาวน์และปิดน่านฟ้า ส่งผลให้อุตสาหกรมการบินเข้าสู่ยุคมืด เครื่องบินส่วนใหญ่จอดอยู่ที่พื้น มากกว่าบินบนฟ้า สายการบินต้องประคองตัวเอง เพื่อรอให้สถานการณ์กลับมาปกติอีกครั้ง

สำหรับประเทศไทย “สายการบินนกสกู๊ต” ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างไทยและสิงคโปร์ได้ประกาศปิดกิจการ เนื่องจากมองไม่เห็นหนทางในการฟื้นตัว ขณะเดียวกันสายการบินไทยและนกแอร์ ซึ่งเป็นสายการบินของไทยได้เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการตามกฎหมายล้มละลาย ส่วนสายการบินอื่นๆ ก็ปรับตัวเช่น เปิดโครงการสมัครใจจาก คืนเครื่องบิน ลดเงินเดือนและสวัสดิการ หรือให้พนักงานลาแบบไม่รับค่าจ้าง เป็นต้น

ด้านบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. ผู้ให้บริการสนามบินหลัก 6 แห่งในประเทศไทยก็ได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ปิดปีงบประมาณ 2563 ผู้โดยสารหายไปกว่า 69 ล้านคน กำไรหด 83% เหลือ 4.3 พันล้านบาท

fig 14 07 2020 12 07 20 e1594728474739

โรงแรมอ่วมสุดพิษโควิด เลิกจ้างแล้ว 1 ล้านคน

หนึ่งในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบอย่างหนัก จากวิกฤติ โควิด-19 คือ ธุรกิจโรงแรม เนื่องจากนักท่องเที่ยวหดหาย มาตรการล็อกดาวน์ และความหวาดกลัวของผู้คน จะไม่กล้าออกเดินทางท่องเที่ยว

สิ่งที่เกิดขึ้นกับธุรกิจโรงแรมคือ ภาพการปิดกิจการ การประกาศขายกิจการ และการเลิกจ้างที่สูงแตะ 1 ล้านคน โรงแรมปิดกิจการ โดยเฉพาะโรงแรมขนาดเล็กและขนาดกลาง โดยหากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ไทยไม่สามารถรับนักท่องเที่ยวได้ถึงกลางปี 2564 ตาดการณ์ว่า โรงแรมต้องเลิกจ้าง ปิดกิจการ และขายกิจการจำนวนมาก เพราะขาดเงินทุนหมุนเวีpน

ทั้งนี้ แม้ว่าจะมีโครงการ เราเที่ยวด้วยกัน ออกมาเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยว แต่ก็ยังเห็นผลน้อยมาก เนื่องจากปกติ รายได้จากการท่องเที่ยวของไทย 2 ใน 3 มาจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ หรือประมาณ 2 ล้านล้านบาท ที่เหลือเป็นรายได้จากไทยเที่ยวไทย 1 ล้านล้านบาท จากปี 2562 ภาคท่องเที่ยวสามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศสูงถึง 3 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วน 20% ต่อ GDP

จากสถิติ เดือนมีนาคม 2563 ประเทศไทยมีจำนวนโรงแรมที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายทั่วประเทศ 32,564 แห่ง จำนวนห้องทั้งหมด 1,254,168 ห้องพัก มีการคาดการณ์ว่า โรงแรมที่ไม่สามารถต่อสู้กับวิกฤติโควิดครั้งนี้ได้ ต้องปิดตัวไปแล้วถึง 30%

แจกเงิน 3000 คนละครึ่ง ๒๐๑๒๒๔

ค้าปลีก – Duty Free  สะเทือนถ้วนหน้า

ภาพรวมของอุตสาหกรรมค้าปลีกค้าส่งในปีนี้ที่คาดการณ์ว่าจะเติบโตและมีมูลค่าเกือบ 4 ล้านล้านบาทเพิ่มขึ้นจากปี 2562 ที่มีมูลค่ารวมกว่า 3.8 ล้านล้านบาท ต้องหดตัวลงอย่างแรง จากวิกฤตการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ทำให้ภาครัฐต้องใช้มาตรการล็อกดาวน์เป็นยาแรงในการป้องกันการติดเชื้อ ซึ่งส่งผลให้ค้าปลีกต้องปิดให้บริการชั่วคราวนานเกือบ 2 เดือน ผลกระทบที่เกิดขึ้นไม่ใช่แค่ค้าปลีกขนาดใหญ่อย่างห้างสรรพสินค้า หรือศูนย์การค้าเท่านั้นแต่รวมถึงร้านอาหาร แฟชั่น ร้านสะดวกซื้อ ฯลฯ

อย่างไรก็ตาม การออกนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐจะสนับสนุนให้ผู้บริโภคมีกำลังจับจ่ายเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะโครงการ “คนละครึ่ง” ที่น่าจะช่วยหนุนให้ภาคค้าปลีกในช่วงไตรมาส 4 ของปีนี้หดตัวลดลงเล็กน้อยเหลือเพียง 7.2% จากเดิมที่คาดว่าจะหดตัว 8.9% และทำให้ภาพรวมทั้งปีหดตัวลงประมาณ 6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

เช่นเดียวกับมาตรการ ช้อปดีมีคืน ที่พบว่า ช่วยสร้างบรรยากาศภายในห้างสรรพสินค้า และร้านค้าต่างๆได้เป็นอย่างดี กับการช็อปปิ้งเพื่อนำไปลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ไม่เกิน 3 หมื่นบาท ซึ่งเป็นปัจจัยบวกที่จะช่วยให้อุตสาหกรรมค้าปลีกในปีหน้ากลับมาคึกคักขึ้น

ธุรกิจร้านค้าปลอดอากร (Duty Free) ก็ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากไวรัสโควิด-19 เนื่องจากเป็นธุรกิจที่ต้องพึ่งพารายได้จากนักท่องเที่ยวเป็นหลัก แต่เมื่อมีการปิดน่านฟ้าและนักท่องเที่ยวต่างชาติหายไปเกือบทั้งหมด ก็ทำให้ธุรกิจ Duty Free ซบเซาตามไปด้วยและต้องหามาเน้นตลาดในประเทศแทน

อสังหา 1

อาคารสำนักงานกระทบจากทำงานที่บ้าน-องค์กรลดต้นทุน

มาตรการทำงานจากที่บ้าน ธุรกิจที่ต้องปิดตัวลง หรือลดขนาดองค์กรลง รวมถึงการพยายามรัดเข็มขัด ลดค่าใช้จ่าย เพื่อลดผลกระทบจากพิษ โควิด-19 ล้วนส่งผลให้ความต้องการใช้พื้นที่อาคารสำนักงานลดลง

บริษัท คอลลิเออร์ส อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย จำกัด ระบุว่า ภาพรวมพื้นที่ว่างรอการเช่ามีแนวโน้มปรับตัวลดลง ในหลายอาคารสำนักงาน เนื่องจากผู้เช่าขอคืนพื้นที่ หรือขอปรับลดพื้นที่เช่าล งเพื่อต้องการประหยัดต้นทุนในการดำเนินธุรกิจ โดยพบว่า อัตราการเช่าในกรุงเทพมหานคร ไตรมาสที่ 3 ปีพ.ศ. 2563 ปรับลดลงทุกในพื้นที่ และคาดการณ์ว่าพื้นที่ว่างในหลายอาคารสำนักงานจะเพิ่มขึ้นอีกในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีและในอนาคตหาก ภาพรวมเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจในประเทศไม่ปรับตัวดีขึ้น รวมถึงแนวโน้มการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ยังไม่มีแนวโน้มจบลง

อย่างไรก็ตาม คาดการณ์ว่า ผลกระทบจากโควิด ต่ออาคารสำนักงาน จะเกิดขึ้นในระยะเวลาไม่นานนัก เนื่องจาก บริษัทส่วนใหญ่ ยังจำเป็นต้องขยายพื้นที่เช่าเพิ่มขึ้นเมื่อมีโอกาส และเมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัว เพราะย่อมต้องว่าจ้างพนักงานใหม่เพิ่มขึ้น หลังจากบางแห่งที่มีการปรับลดพนักงานลง หรือบางบริษัทได้หยุดแผนการขยายพื้นที่ชั่วคราว จากปัจจัยลบที่เกิดขึ้น

นอกจากนี้ ยังพบว่า ซัพพลายพื้นที่สำนักงานเช่าใน กทม. ยังคงมีปริมาณเพิ่มขึ้น โดยมีพื้นที่ในตลาดรวมทั้งหมด 5.33 ล้าน ตร.ม. เนื่องจากมีอาคารสำนักงานใหม่ 3 แห่งก่อสร้างแล้ว และยังมีซัพพลายใหม่ ที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง ที่คาดว่าจะแล้วเสร็จในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 ซึ่งจะทำให้มีพื้นที่สำนักงานเข้าสู่ตลาดอีก 1.1 แสน ตร.ม. โดยคาดการณ์ว่า ซัพพลายรวมของตลาดสำนักงาน จะเพิ่มขึ้นเป็น 6.5 ล้าน ตร.ม. ภายในสิ้นปี 2566

สถานการณ์ซัพพลายใหม่ ที่ทยอยเข้าสู่ตลาด สวนทางกับการเติบโตของดีมานด์ที่ลดลง จากการคืนพื้นที่เช่าและการชะลอตัวตัวของภาคธุรกิจ ประกอบกับแนวโน้มการปิดตัวของธุรกิจต่างๆ ทำให้อัตราพื้นที่ว่างในตลาดสำนักงานเช่ามีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้สำนักงานเช่ากลายเป็นอีกหนึ่งตลาดที่น่าเป็นห่วง ในสถานการณ์โควิด

รถไฟฟ้า

“ขนส่งมวลชน” ผู้โดยสารวูบจากโควิด-19 คนหันไปเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัว

แม้จะไม่เจ็บหนักเท่าสายการบิน แต่ระบบขนส่งมวลชนในภาพรวมก็ได้รับผลกระทบจากไวรัส โควิด-19 กันถ้วนหน้า

โดยเฉพาะช่วงไตรมาส 2 ปี 2563 ที่มีการล็อกดาวน์ทั่วประเทศ การดำเนินมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) และการส่งเสริมการทำงานจากบ้าน (Work From Home) ซึ่งทั้งหมดทำให้การเดินทางในภาพรวมลดลงอย่างเห็นได้ชัด นอกจากนี้ ระบบขนส่งมวลชนยังได้รับผลกระทบทางอ้อมจากสภาพเศรษฐกิจตกต่ำ ซึ่งทำให้คนประหยัดเงินมากขึ้น และบางส่วนเลือกการเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัวแทนขนส่งสาธารณะ เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงจากไวรัสโควิด-19

ช่วงไตรมาส 2 การเดินทางด้วยรถไฟฟ้าและการใช้บริการทางพิเศษ (ทางด่วน) ในกรุงเทพฯ และปริมณฑลจึงลดลงอย่างเห็นได้ชัด สะท้อนผ่านรายงานของบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM และบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS ไม่ต่างจากจำนวนผู้โดยสารรถไฟทางระหว่างจังหวัดของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.)

นอกจากนี้ ธุรกิจรถทัวร์ระหว่างจังหวัดก็มีผู้โดยสารลดลงอย่างชัดเจน โดยเฉพาะช่วงวันหยุดยาว ซึ่งมีผู้โดยสารน้อยกว่าคาดการณ์แทบทุกครั้ง แม้รัฐบาลจะพยายามส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ ด้านบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) ก็ประเมินว่า ในช่วงปีใหม่ 2564 จะมีผู้เดินทางลดลงราว 30% แตกต่างจากภาพความหนาแน่นที่เราคุ้นตา

ปิดร้าน

ร้านอาหาร อ่วม ล็อกดาวน์-เว้นระยะห่าง

ธุรกิจร้านอาหาร มูลค่า 4 แสนล้านบาท เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก โควิด-19 เมื่อประกาศใช้มาตรการล็อกดาวน์ และการเว้นระยะห่าง ห้ามนั่งทานที่ร้าน ส่งผลให้ธุรกิจร้านอาหารต้องปรับตัวเน้นการส่งถึงบ้าน หรือฟู้ดเดลิเวอรี่ ตามพฤติกรรม New Normal ของผู้บริโภคยุคโควิดขณะที่มีผู้ประกอบการร้านอาหารที่ปิดตัวไปเป็นจำนวนมาก

ที่น่าตกใจคือ สมาคมภัตตาคารไทย ออกมาเปิดเผยว่า จากวิกฤติ โควิด-19 ส่งผลให้ร้านอาหารที่เป็นกลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอี, มินิเอสเอ็มอี รวมถึงร้านอาหารที่เน้นจับกลุ่มลูกค้าชาวต่างประเทศ เช่น ร้านอาหารในย่านถนนข้าวสาร บางลำพู ฯลฯ เป็นกลุ่มที่ลำบาก เพราะนอกจากรายได้หรือยอดขายที่ลดลงมากแล้ว ร้านอาหารดังกล่าว ยังมีปัญหาเรื่องต้นทุน ทั้งค่าเช่าที่ ค่าเช่าร้าน ค่าน้ำค่าไฟ รวมถึงค่าจ้างพนักงาน ส่วนใหญ่จะอาการหนัก และมีแนวโน้มจะปิดตัวมากขึ้น ซึ่งในกลุ่มดังกล่าวนี้ มีไม่ต่ำกว่า 5 หมื่นราย

ทัวร์

นักท่องเที่ยวต่างชาติหาย บริษัททัวร์ปิดตัว-เลิกจ้าง

ปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัส โควิด-19 ส่งผลทำให้ธุรกิจทัวร์และโรงแรม ได้รับผลกระทบเป็นอันดับต้น ๆ เมื่อรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติ ที่เป็นกลุ่มสร้างรายได้หลัก หดหายไปทั้งหมดในช่วงประเทศไทย ประกาศใช้มาตรการล็อกดาวน และแม้จะประกาศเลิกมาตรการล็อกดาวน์ แต่จากการระบาดของโควิดระลอกใหม่ ทำให้บริษัทนำเที่ยว หรือบริษัททัวร์ ตกอยู่ในภาวะ ทรง กับทรุด

นอกจากนี้ บริษัททัวร์ โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายย่อย จะได้รับกระทบมากกว่ารายใหญ่ เนื่องจากสาบป่านสั้น ขาดแคลนเงินทุนหมุนเวียน และแม้ว่าภาครัฐจะมีมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft loan) ให้กับผู้ประกอบการทัวร์ที่ได้รับผลกระทบ แต่ในขั้นตอนปฏิบัติ กลับไม่ได้รับการตอบรับในทางที่ดี เนื่องจากต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน

ประกอบกับเงื่อนไขต่าง ๆ ที่ทางธนาคารมี ทำให้โครงการนี้ ผู้ประกอบการทัวร์ไม่ผ่านเกณฑ์จำนวนมาก
สิ่งที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดภาพบริษัททัวร์ ต้องปิดตัวลง และเลิกจ้างงานขำนวนมาก โดยหากสิ้นปี 2563 ยังไม่สามารถกลับมาฟื้นตัวได้ จะมีหลายผู้ประกอบการ ที่จะต้องเลิกกิจการ เพิ่มมากขึ้นแน่นอน

ธุรกิจอ่วมพิษโควิด

ธุรกิจเจอฤทธิ์ โควิด-19 จนไปไม่ไหว ปิดกิจการ ตกงานอื้อ

ธุรกิจดังหลายแห่งได้ประกาศปิดกิจการในช่วงต้นปี 2563 ที่ผ่านมา โดยเฉพาะธุรกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยวที่ต้องพึ่งพาลูกค้าต่างชาติ โดยส่วนหนึ่งเกิดจากปัญหาเรื่องผลประกอบการที่มีอยู่ก่อนแล้วและยังมาถูกซ้ำเติมด้วยฤทธิ์ไวรัสโควิด-19 จึงทำให้ผู้ประกอบการตัดสินใจปิดธุรกิจลงเป็นการชั่วคราวหรือถาวร

ประเด็นดังกล่าวส่งผลให้ผู้ว่างงานในประเทศไทยเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก โดยผู้ว่างงานในระบบกองทุนประกันสังคมพุ่งขึ้นเป็น 7 แสนคน ซึ่งทางกองทุนฯ และภาคเอกชนมองว่าตัวเลขมีโอกาสสูงขึ้นอีก เนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ยังไม่หมดไป ประกอบกับปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำในประเทศไยและทั่วโลก

ในปีที่ผ่านมา รัฐบาลจึงพยายามช่วยเหลือแรงงานด้วยวิธีต่างๆ เช่น การลดเงินสมทบกองทุนประกันสังคม, จ่ายเงินว่างงานจากเหตุสุดวิสัยโควิด-19, เพิ่มเงินชดเชยสำหรับผู้ประกันตนที่ตกงาน, ส่งเสริมการจ้างงานเด็กจบใหม่, ส่งเสริมการจ้างงานในท้องถิ่น เป็นต้น

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo