Business

ด่วน! ครม. ไฟเขียว 3 มาตรการเยียวยา ‘ประกันสังคม’ จากวิกฤติโควิด-19

ด่วน! ครม. ไฟเขียว 3 มาตรการ “ประกันสังคม” จ่ายเงินทดแทนว่างงาน-ลดเงินสมทบ-เพิ่มเงินสงเคราะห์บุตร ช่วยนายจ้างลูกจ้างจากวิกฤติ โควิด-19

น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า วันนี้ (22 ธ.ค. 63) ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบ ร่างกฎกระทรวงการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัยอันเกิดจากการระบาดของโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ พ.ศ… ตามที่ กระทรวงแรงงาน เสนอ เพื่อดูแลประชาชนที่อยู่ในระบบกองทุนประกันสังคมประมาณ 12 ล้านคน

ประกันสังคม ครม. โควิด-19

ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ก่อนหน้านี้ กระทรวงแรงงานก็เคยมีการออกร่างกฎกระทรวงในลักษณะนี้มาแล้วครั้งหนึ่ง ที่มีการจ่ายเงินเยียวยาในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างหยุดการทำงานช่วงระยะเวลาหนึ่ง ในกรณีนั้นเป็นการให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้ว่างงานในอัตรา 62% ของค่าจ้างรายงานตลอดระยะเวลาที่ไม่ได้ทำงาน แต่ไม่เกิน 90 วัน โดยกฎกระทรวงครั้งนั้นมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2563-31 สิงหาคม 2563

แต่ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส โควิด-19 ระลอกใหม่ที่เกิดขึ้น รัฐบาลจึงเห็นว่า ประกันสังคม ต้องมีการเตรียมตัวในเรื่องนี้ วันนี้ ครม. จึงมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงที่มีลักษณะเดิมอีกครั้ง สาระสำคัญ คือ

  • กำหนดให้กฎกระทรวงนี้มีผลบังคับใช้ 19 ธันวาคม 2563
  • นิยามของเหตุสุดวิสัยที่จะให้มีการจ่ายเงินทดแทนได้ หมายถึง ภัยอันเกิดจากการระบาดของโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ ซึ่งมีผลกระทบต่อสาธารณชน และถึงขนาดที่ให้ผู้ประกันตนไม่สามารถทำงานได้หรือนายจ้างไม่สามารถประกอบกิจการได้ตามปกติ การกำหนดให้มีกรณีเหตุสุดวิสัยและหน่วยงานของรัฐสั่งปิดพื้นที่เพื่อป้องกันการระบาดของโรคติดต่ออันตรายอันส่งผลให้ลูกจ้างที่เป็นผู้ประกันไม่ได้ทำงานและไมได้รับค่าจ้างในระหว่างนั้น
  • ลูกจ้างดังกล่าวมีสิทธิได้รับผลประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานในอัตรา 50% ของค่าจ้างรายวัน ซึ่งเป็นไปตามมติคณะกรรมการ (บอร์ด) ประกันสังคม โดยให้ได้รับตลอดระยะเวลาที่สั่งปิดพื้นที่ภายในระยะเวลา 1 ปีปฏิทินมีสิทธิ์ได้รับประโยชน์ทดแทนดังกล่าวทุกครั้ง แต่รวมกันแล้วไม่เกิน 90 วัน

จากการประเมินสถานการณ์ของกระทรวงแรงงานคาดว่า ร่างกฎกระทรวงนี้จะช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประกันตนในพื้นที่ที่เสี่ยงจะถูกปิดกิจการ เช่น จังหวัดสมุทรสาคร, สมุทรปราการ, กรุงเทพฯ ,นนทบุรี, นครปฐม, ราชบุรี และสมุทรสงคราม ซึ่งในจังหวัดดังกล่าวมีผู้ประกันตนในระบบ ประกันสังคม ที่มีสิทธิ์รับค่าทดแทนรวม 5.7 ล้านคน คิดเป็นวงเงินรวม 5,225 ล้านบาท

เป็นการให้ความมั่นใจว่า หากมีการประกาศให้ปิดกิจการชั่วคราว เนื่องจากสถานการณ์โควิด ทางรัฐบาลก็พร้อมที่จะจ่ายเงินเยียวยาดูแลให้ โดยเป็นเงินของกองทุนประกันสังคม

shutterstock 1439659682

“ประกันสังคม” ลดเงินสมทบต่อ 3 เดือน

รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวต่อว่า ที่ประชุม ครม. ยังได้มีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม พ.ศ. …. เพื่อลดการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุน ประกันสังคม เพื่อบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบการและผู้ประกันตน

ร่างกฎกระทรวงฯ ดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนมกราคม-มีนาคม 2564 โดยกำหนดให้รัฐบาล นายจ้าง และผู้ประกันตนตามมาตรา 33 (ลูกจ้าง) ออกเงินสมทบเพื่อเข้ากองทุนเพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนดังนี้

  • กรณีประสบอันตราย ทุพพลภาพ เสียชีวิต และคลอดบุตร

รัฐบาลลดเงินสมทบเหลือ 1.05% จากเดิม 1.5%

นายจ้างลดเงินสมทบเหลือ 1.05% จากเดิม 1.5%

ผู้ประกันตนลดเงินสมทบเหลือ 1.05% จากเดิม 1.5%

  • กรณีสงเคราะห์บุตรและชราภาพ

รัฐบาลลดเงินสมทบเหลือ 1.45% จากเดิม 1%

นายจ้างลดเงินสมทบเหลือ 1.85% จากเดิม 3%

ผู้ประกันตนลดเงินสมทบเหลือ 1.85% จากเดิม 3%

  • กรณีว่างงาน

รัฐบาลจ่ายเงินสมทบเท่าเดิมอยู่ที่ 0.25%

นายจ้างลดเงินสมแทบเหลือ 0.1% จากเดิม 0.5%

ผู้ประกันตนมาตรา 33 ลดเงินสมทบเหลือ 0.1% จากเดิม 0.5%

แนวทางดังกล่าวจะช่วยลดภาระให้ผู้ประกันตนในระบบ ประกันสังคม และนายจ้างไปได้มาก แนวทางดังกล่าวจะส่งผลให้ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบลดลง 8,248 ล้านบาท จากเดิมที่จ่าย 12,634 ล้านบาท และนายจ้างจ่ายลดลง 7,412 ล้านบาท จากเดิมที่จ่าย 11,118 ล้านบาท

การลดอัตราเงินสมทบครั้งนี้ ส่งผลดีให้ผู้ประกันตนนำเงินไปใช้จ่ายเสริมสภาคล่องได้ราว 460-900 บาทต่อคน นายจ้างมีสภาพคล่องมากขึ้น อย่างไรก็ตาม จะส่งผลให้เงินออมบำนาญของผู้ประกันตนลดลงประมาณ 1,035 บาทและอาจจะส่งผลกระทบต่อสถานะกองทุนประกันสังคม แต่กองทุนฯ และรัฐบาลจะวางแผนระยะยาวต่อไป

shutterstock 1676695528 e1607687707207

เพิ่มเงิน “สงเคราะห์บุตร” 200 บาท

น.ส.รัชดา กล่าวต่อว่า ที่ประชุม ครม. ยังเห็นชอบ ร่างกฎกระทรวงจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตร เนื่องจากรัฐบาลพบว่าครอบครัวที่มีเด็กเล็กจะประสบปัญหาทางเศรษฐกิจมากกว่าครอบครัวที่อื่น เพราะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น บางครองครัวผู้ปกครองต้องหยุดงานหรือออกจากงาน แต่ครอบครัวที่มีเด็กเล็กมีค่าใช้จ่ายเท่าเดิมหรือเพิ่มมากขึ้น

ดังนั้น เพื่อบรรเทาภาระส่วนนี้ บอร์ด ประกันสังคม จึงเสนอกระทรวงแรงงานและ ครม. ให้เห็นชอบหลักการปรับเพิ่มประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร สาระสำคัญคือ

  1. เพิ่มอัตราการจ่ายประโยชน์ทดแทน กรณีสงเคราะห์บุตรเหมาจ่าย จาก 600 บาทต่อเดือนบุตรหนึ่งคน เป็นอัตรา 800 บาทต่อเดือนต่อบุตรหนึ่งคน
  2. กำหนดมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 เป็นต้นไป

ผู้ใดมีสิทธิ์รับประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตรตามกฎกระทรวงการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตรและยังคงมีสิทธิ์รับผลประโยชน์ทดแทนตามกฎกระทรวงนี้ ก็ให้ได้รับประโยชน์ทดแทนตามอัตราที่กำหนดในกฏกระทรวง นับตั้งแต่กฎกระทรวงมีผลบังคับใช้ต่อไป

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo