Business

‘ชาวประมง’ ประสบภัยพิบัติ รับสิทธิขอความช่วยเหลือภาครัฐ ด้วยวิธีง่ายๆ

เปิดขั้นตอน ช่วยชาวประมง เลี้ยงสัตว์น้ำ กรณีประสบภัยพิบัติ รับสิทธิเงินช่วยเหลือกรณีฉุกเฉินด้วย 8 ขั้นตอน พร้อมอัตราเงินช่วยเหลือ

เพจเฟซบุ๊ก “ไทยคู่ฟ้า” โพสต์เผยแพร่ ขั้นตอนการช่วยเหลือชาวประมง ที่ประสบภัยพิบัติ เพื่อขอรับสิทธิ ตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินทดรองราชการ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ กรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2562 โดยระบุว่า

ประมง ๒๐๑๒๑๙

“เปิดขั้นตอน ช่วยชาวประมง ประสบภัยพิบัติ

ทุกครั้งที่มีภัยพิบัติทางธรรมชาติ หน่วยงานรัฐส่วนภูมิภาคในพื้นที่ มีหน้าที่ช่วยเหลือประชาชน

สำหรับ ชาวประมง ก็มี “ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินทดรองราชการ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ
กรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2562

ขั้นตอนการให้ความช่วยเหลือ

1. จังหวัดออกประกาศ “เขตพื้นที่” ที่ประสบภัย

2. ชาวประมง ยื่นแบบ กษ01 ที่ ประมงอำเภอ เพื่อขอรับความช่วยเหลือ

3. ประมงอำเภอ สำรวจความเสียหายของชาวประมง เป็นรายบุคคล

4. ประมงอำเภอ นำข้อมูลไปคำนวณเป็นจำนวนเงิน

5. ติดประกาศในหมู่บ้าน ให้ตรวจดูรายชื่อ ถ้ามีผู้คัดค้าน ต้องตรวจสอบใหม่

6. นำรายชื่อเสนอ “คกก.ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติอำเภอ” และให้ความช่วยเหลือโดยใช้ “เงินทดรองราชการในอำนาจนายอำเภอ”

7. หากเงินไม่พอ ให้ใช้เงินทดรองราชการในอำนาจ ผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งมีอยู่จังหวัดละ 20 ล้านบาท

8. หากเงินไม่พออีก สามารถขอใช้เงินทดรองราชการในอำนาจของ ปลัดกระทรวงเกษตรฯ ได้

ประมง

อัตราการให้ความช่วยเหลือ

  • กุ้งก้ามกราม กุ้งทะเล ปูทะเล หอยทะเล ไร่ละ 10,920 บาท รายละไม่เกิน 5 ไร่
  • ปลา หรือ สัตว์น้ำอื่น ๆ ที่เลี้ยงในบ่อดิน นาข้าว ร่องสวน ไร่ละ 4,225 บาท รายละไม่เกิน 5 ไร่
  • สัตว์น้ำที่เลี้ยงในกระชัง บ่อซีเมนต์ หรือในที่ลักษณะอื่นคล้ายกัน ตร.ม.ละ 315 บาท รายละไม่เกิน 80 ตร.ม.

ชาวประมงรายใด ได้รับการช่วยเหลือน้อยกว่า 315 บาท ให้ช่วยเหลือในอัตรา รายละ 315 บาท

แต่สิ่งสำคัญ คือ

1. ชาวประมง ที่จะได้รับความช่วยเหลือ ต้องเคยลงทะเบียน “เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ” ของ กรมประมง

2. ต้องอยู่ในเขตพื้นที่ ที่จังหวัดประกาศเขตภัยพิบัติ

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo