Business

ถอดบทเรียนธุรกิจ รับมือโควิด-19 สนค. ชู 8 ยุทธศาสตร์รัฐ 10 มาตรการภาคเอกชน

ถอดบทเรียนธุรกิจ รับมือโควิด-19 กระทรวงพาณิชย์ จับมือ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ชู 8 ยุทธศาสตร์หน่วยงานภาครัฐ 10 มาตรการสู่ภาคธุรกิจ

นางสาวพิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า หรือ สนค. เปิดเผยว่า สนค. กระทรวงพาณิชย์ จับมือสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ถอดบทเรียนธุรกิจ รับมือโควิด-19 ในงานเสวนา “การเผยแพร่ผลสำเร็จ โครงการศึกษาวิเคราะห์ปัจจัยสำคัญ ในการรับมือกับสถานการณ์ภัยพิบัติ จากการถอดบทเรียนในช่วงการแพร่กระจายของโรคโควิด-19”

ถอดบทเรียนธุรกิจ รับมือโควิด-19

ทั้งนี้ เพื่อนำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจและวิเคราะห์ จากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในฐานะผู้เชี่ยวด้านเศรษฐกิจและการค้า นำมาสู่ชุดข้อมูลที่เปรียบเสมือน โรดแมปด้านเศรษฐกิจ ที่มีประโยชน์อย่างมาก กับผู้ประกอบการ หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา ในการรับมือกับผลกระทบ ที่เกิดจากโรคระบาด และแนวทางในการเดินหน้า เพื่อให้สามารถปรับตัว และมีศักยภาพในการแข่งขันได้

โครงการศึกษาดังกล่าว ยังส่งผลดีต่อการคาดการณ์ และจัดเตรียมมาตรการที่มีประสิทธิภาพ ในการรับมือภัยพิบัติ ในสถานการณ์โลก ที่มีความไม่แน่นอน ซึ่งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน สามารถนำข้อมูลนี้ ไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาได้ทันที อาทิ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อภาครัฐเพื่อบริหารจัดการสถานการณ์โควิด-19 และภัยพิบัติในอนาคต รวมทั้งให้ความช่วยเหลือ และบรรเทาผลกระทบจากวิกฤติ

สำหรับข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อภาครัฐ เพื่อบริหารจัดการสถานการณ์โควิด-19 และภัยพิบัติในอนาคต รวมทั้งให้ความช่วยเหลือ และบรรเทาผลกระทบจากวิกฤต ประกอบด้วย 8 มาตรการ ประกอบด้วย

พิมพ์ชนก วอนขอพร
พิมพ์ชนก วอนขอพร

1. ให้ความช่วยเหลือ ในการลดต้นทุนผู้ประกอบการ โดยการชะลอเวลาการชำระภาษี ชะลอการชำระหนี้ ลดราคาค่าไฟฟ้าและสาธารณูปโภค ค่าเช่าพื้นที่ รวมถึงขยายเวลาการบังคับใช้กฎระเบียบหรือโครงการใหม่ที่จะเพิ่มต้นทุน

2. ให้ความช่วยเหลือ ในการเพิ่มสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการ ผ่อนปรนเกณฑ์การปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) เพื่อให้เอสเอ็มอีที่ประสบปัญหา เข้าถึงเงินกู้ และแก้ไขปัญหาธุรกิจได้จริง

3. ให้ความช่วยเหลือในการจ้างแรงงาน และการสร้างงานใหม่ พิจารณาการมีมาตรการให้ความช่วยเหลือ ด้านการจ้างงาน ให้กับภาคเอกชนชั่วคราว เพื่อลดปัญหาการว่างงาน โดยการให้เงินอุดหนุนบางส่วน รวมทั้งการอุดหนุนการจ้างงานสำหรับนักศึกษาจบใหม่

4. ให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ ในการค้าออนไลน์ในยุคดิจิทัล

5. ส่งเสริมการเจรจาจับคู่ทางธุรกิจระหว่างประเทศ ผ่านออนไลน์ (Virtual Business Matching)

6. สร้างพื้นที่เพื่อทำงานร่วมกัน ระหว่างผู้ประกอบการเอกชน กับภาครัฐ ในการจัดการวิกฤติ

7. เปิดประเทศด้วยความระมัดระวัง สื่อสารนโยบายที่เป็นเอกภาพของภาครัฐ ในสถานการณ์ภัยพิบัติ

8. สนับสนุนให้องค์กร จัดทำแผนดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง (Business Continuity Plan, BCP)

ซูเปอร์1

สำหรับการนำผลการศึกษานี้ไปสู่ความสำเร็จ ต้องอาศัยกลไกด้านอื่น ควบคู่ไปพร้อมกัน อาทิ การปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบ ลดกฎเกณฑ์ที่เป็นอุปสรรค เพื่ออำนวยความสะดวก ในการประกอบธุรกิจให้ดีขึ้น รวมทั้งวางระบบให้ความช่วยเหลือประชาชน และผู้ประกอบการ ในวิกฤติ หรือภัยพิบัติเพื่อรองรับอนาคต

นอกจากนี้ ภาคเอกชนยังมีข้อเสนอที่น่าสนใจ เกี่ยวกับมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจ หลังวิกฤติ และการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจการค้า โดยขอให้มีการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจใหม่ ให้มีความสมดุล และยืดหยุ่นต่อวิกฤติ วางตำแหน่งด้านเศรษฐกิจของประเทศ

โดยเฉพาะเศรษฐกิจด้านสุขภาพ เศรษฐกิจความเป็นอยู่ที่ดี เศรษฐกิจ BCG (Bio-Circular-Green) ภาคเกษตรและท่องเที่ยวยั่งยืน รวมถึงการปรับโครงสร้างด้านการเกษตร การผลักดันการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ การผลิตแห่งอนาคตและภาคบริการคุณภาพสูง และสนับสนุนการวางตำแหน่งด้านการท่องเที่ยวของประเทศใหม่ โดยยกระดับการท่องเที่ยวสุขภาพ การท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเปิดประเทศในอีก 1-2 ปี

โครงการศึกษาดังกล่าว ยังมีข้อข้อเสนอแนะที่มีประโยน์อย่างมาก ต่อภาคธุรกิจ ประกอบด้วย 10 มาตรการ ดังนี้

1. ให้มีการจัดทำแผนบริหารความต่อเนื่องขององค์กร ตั้งแต่คาดการณ์เพื่อลดความเสี่ยง ตอบสนองต่อความเสี่ยง แก้ไขฟื้นฟู กลับคืนปกติ และฝึกซ้อมอยู่เสมอ

2. จัดตั้งทีมพิเศษ เพื่อบริหารจัดการวิกฤติอย่างทันท่วงที ไม่ยึดติดสายบังคับบัญชา

3. ให้ความสำคัญกับสภาพคล่อง กระแสเงินสด และการลดต้นทุนทางธุรกิจ

shutterstock 1233294034 e1608112076565

 

4. ปรับตัวและพัฒนาช่องทางการค้า หรือผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ให้สอดรับกับสถานการณ์ และการปรับโมเดลทางธุรกิจใหม่ ให้เข้ากับโอกาสที่จะเกิดขึ้น ทั้งระหว่างและโอกาสภายหลังวิกฤติ

5. รักษาความสัมพันธ์กับลูกค้าและคู่ค้า ในห่วงโซ่อุปทาน รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐ

6. ปรับโมเดลการทำงานในช่วงวิกฤติ ให้สอดรับการสถานการณ์

7. ปรับระบบการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลในช่วงวิกฤติ ดูแลสุขอนามัยและความปลอดภัยของพนักงาน ให้ความเชื่อมั่นกับพนักงานว่า จะไม่มีการปลดพนักงานเพื่อลดต้นทุน หรือหากจะมีการปลดพนักงานในอนาคต ก็จะเป็นทางเลือกสุดท้าย

8. ยกระดับทักษะพนักงานและองค์กร ให้มีขีดความสามารถด้านเทคโนโลยีสูงขึ้น

9. จัดการข้อมูลในองค์กรให้ปลอดภัยในช่วงวิกฤติ สำรองข้อมูลไว้หลายแห่ง เตรียมพร้อมและมีความระมัดระวังในเรื่องความมั่นคงด้านข้อมูลและไซเบอร์เป็นพิเศษ โดยเฉพาะในอนาคต ที่เศรษฐกิจการค้าจะปรับตัวไปในทิศทางด้านดิจิทัลมากยิ่งขึ้น

10. หาโอกาสใหม่จากความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และเตรียมการปรับธุรกิจสู่โอกาสใหม่ โอกาสจากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป เน้นการใช้ดิจิทัลมากขึ้น และการลดพื้นที่สำนักงาน และให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจภายในประเทศมากขึ้น หรือจับกลุ่มตลาดที่ยังมีกำลังซื้อ อาทิ จีน เวียดนาม เป็นต้น

​ด้านนางสาวไปยดา หาญชัยสุขสกุล ผู้อำนวยการสถาบันวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม อุตสาหกรรมการผลิต (SMI) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวเสริมว่า ข้อมูลที่น่าสนใจที่ได้รับจากโครงการศึกษาดังกล่าว พบว่า ตลอด 6 เดือนที่ผ่านมามีการปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น โดยเฉพาะมาตรการควบคุมโรคในสถานประกอบการ เพื่อลดผลกระทบต่อภาคการผลิตและการให้บริการ

ขณะที่อุตสาหกรรมที่เห็นการปรับตัวได้อย่างชัดเจน ได้แก่ กลุ่มอาหารและสินค้าเพื่อสุขภาพ โดยยอดขายที่เพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่เกิดจากความต้องการภายในประเทศ อาทิ หน้ากากผ้าและอุปกรณ์เสริม การพัฒนาชุด PEE เพื่อรองรับการใช้งานในสถานพยาบาลในระยะยาว และกลุ่มยอดขายที่ทำอันดับรองลงมาคือสินค้าที่ส่งออกที่มีคำสั่งซื้อข้ามปี เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ด้านข้อกังวลเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ซึ่งถือเป็นรายได้หลักของประเทศไทยตลอดหลายปีที่ผ่านมา มีข้อแนะนำว่าในระยะแรกให้จับตลาดผู้บริโภคในประเทศก่อน โดยพัฒนารูปแบบการตลาดที่มีความแปลกใหม่ เพื่อดึงเม็ดเงินการบริโภคจากกลุ่มที่มีศักยภาพ ในขณะเดียวกันผู้ประกอบการควรใช้โอกาสนี้ในการพัฒนาคุณภาพ และสร้างสรรค์งานบริการ เพื่อรองรับการกลับมาของนักท่องเที่ยวต่างชาติ

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo