Business

กวาดล้าง! โฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ ‘ผิดกฎหมาย’ เข้มสื่อโทรทัศน์-วิทยุ

โฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ ผิดกฎหมาย ระบาด อย. กสทช. ผนึกกำลังกวาดล้าง จับตาสื่อโทรทัศน์และวิทยุ ขยายผลเพิกถอนใบอนุญาต ดำเนินคดี

พลโท ดร.พีระพงษ์ มานะกิจ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (สำนักงาน กสทช.) และนายแพทย์ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ร่วมประชุมทำความเข้าใจและหารือ เกี่ยวกับกลไกการจัดการ ปัญหาการโฆษณาอาหาร ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ ในพื้นที่ภาคเหนือ โดยระบุว่า จะเน้นการตรวจสอบ ดำเนินการกับ โฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ ผิดกฎหมาย อย่างต่อเนื่อง

โฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ

นพ. ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า จากปัญหาการโฆษ กวาดล้าง! โฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ ผิดกฎหมาย เข้มสื่อโทรทัศน์-วิทยุณาผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมาย โอ้อวดเกินจริง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ส่งผลให้ผู้บริโภคจำนวนไม่น้อยที่หลงเชื่อ และตกเป็นเหยื่อของการโฆษณา ทำให้ได้รับอันตราย บางรายถึงขั้นเสียชีวิต

ทั้งนี้ ที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2561 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) มีนโยบายร่วมกัน ในการจัดการปัญหาโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ ผิดกฎหมาย ทางสื่อโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียง

สำหรับในช่วงแรก อย. ได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปปฏิบัติงาน ณ สำนักงาน กสทช. เพื่อตรวจวินิจฉัยการโฆษณา ทำให้ กสทช. สามารถระงับการเผยแพร่โฆษณานั้น ๆ ได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ ทันเหตุการณ์กวาดล้าง! โฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ ผิดกฎหมาย เข้มสื่อโทรทัศน์-วิทยุ

ต่อมา จึงมีการขยายผลการดำเนินงานกระจาย ไปยังระดับพื้นที่ โดยร่วมมือกับสำนักงาน กสทช.ภาค และเขต ในการเฝ้าฟังโฆษณาที่ผิดกฏหมาย ทางสถานีวิทยุกระจายเสียง และให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศวินิจฉัยประเด็นความผิดตาม พ.ร.บ.ที่อยู่ในความรับผิดชอบของ อย.

health 621351 1280

ในกรณีที่พบโฆษณาโอ้อวด เกินจริง ซึ่งเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค จะส่งต่อให้สำนักงาน กสทช.ส่วนกลาง ดำเนินการตามกฏหมายอย่างเด็ดขาดซึ่งมีโทษปรับเป็นหลักแสนบาท และอาจนำไปสู่ การเพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการฯ ได้

ขณะที่ การดำเนินงานภายใต้ความร่วมมือของทั้ง 2 หน่วยงานประสบผลสำเร็จอย่างดี ในปี 2563 (ณ วันที่ 15 พฤศจิกายน 2563) ตรวจสอบพบผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ดาวเทียม มีการกระทำความผิด 18 ราย และผู้ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง มีการกระทำความผิด 674 ราย

ส่วนผลิตภัณฑ์สุขภาพ ที่พบการ โฆษณาผิดกฎหมาย เช่น กลุ่มผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร โฆษณาทำให้เข้าใจผิดในสาระสำคัญของผลิตภัณฑ์ อวดอ้างบำรุงรักษาโรคตา รักษาโรคครอบจักรวาล รักษาข้อเข่า กระดูก เสริมสมรรถภาพทางเพศ กลุ่มผลิตภัณฑ์สมุนไพร โฆษณาเกินสรรพคุณที่ได้รับอนุญาต กลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง โฆษณา ทำให้เข้าใจว่า สามารถรักษาอาการปวด รักษาสิว ฝ้า กระ เป็นต้น

ในการดำเนินการเอาผิดนั้น นอกจากการดำเนินการ ระงับโฆษณาอย่างเร่งด่วน อย. ได้ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ในการขยายผล สู่การตรวจหาโฆษณาแบบผิด ๆ ทางสื่อออนไลน์ เชื่อมโยงไปถึงผู้ผลิต หรือเจ้าของผลิตภัณฑ์ เพื่อดำเนินการตามกฎหมาย รวมทั้งดำเนินมาตรการทางปกครอง เช่น ยกเลิกเลขสารบบอาหาร เพิกถอนทะเบียน ตำรับผลิตภัณฑ์สมุนไพร หรือเพิกถอน ใบรับจดแจ้งเครื่องสำอาง เพื่อจัดการขั้นเด็ดขาด กับผู้กระทำผิดด้วย

11 6

เลขาธิการฯ กล่าวในตอนท้ายว่า อย. ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก กับปัญหาการโฆษณา และมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง โดยในปีงบประมาณ 2563 ที่ผ่านมา ได้ออกคำสั่งระงับโฆษณา และดำเนินคดี กรณีที่พบ โฆษณาผิดกฎหมาย ทางสื่อออนไลน์ และทางอี-มาร์เก็ตเพลส รวมแล้ว 1,388 คดี

พร้อมกันนี้ ยังได้ขยายผลไปสู่ การยกเลิกเลขสารบบอาหาร จาก โฆษณาผิดกฎหมาย แล้ว 23 รายการ และในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 นี้ ได้จัดทำเป็นโครงการสำคัญของ อย. โดยเน้นจัดการกับปัญหาโฆษณากลุ่มเสี่ยง โดยเฉพาะทางสื่อออนไลน์ เพื่อตอบโต้ปัญหาอย่างรวดเร็ว ทันต่อสถานการณ์ ผ่านการสานพลังกับเครือข่าย ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เพื่อเชื่อมโยงข้อมูล และร่วมกันจัดการให้ครบทุกมิติ

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo