Business

ยุคทองอีคอมเมิร์ซ ส่อง ‘ไทย จีน เกาหลี เวียดนาม’ เจ้าไหนครองตลาด

การเติบโตของอีคอมเมิร์ซ หรือโลกค้าขายออนไลน์ จนเรียกได้ว่าเป็น ยุคทองอีคอมเมิร์ซ รวมทั้งได้รับอานิสงส์จาก วิกฤติโควิด-19 ที่ทำให้คนซื้อสินค้าออนไลน์มากขึ้น

เพจ K AEC PLUS โดยธนาคารกสิกรไทย ชวนเปิดโลก อีคอมเมิร์ซ (e-commerce) ว่า ยุคทองอีคอมเมิร์ซ ใน 4 ประเทศ ได้แก่ ไทย จีน เกาหลี เวียดนาม มีเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ หรือมาร์เก็ตเพลสเจ้าใดบ้าง ที่ครองตลาดอยู่ในปัจจุบัน ดังนี้

shopping online ๒๐๑๑๑๕

“วันนี้เราจะมาเปิดโลก e-commerce หรือการซื้อขายของออนไลน์ใน ASEAN+3 กันครับ ว่าตลาด e-commerce นั้นเป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่มาก ๆ ของทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย

หากมองกว้างๆ เราจะเห็นเว็บไซต์มากมายทั่วโลก มีของขายหลากหลายรูปแบบ บางเว็บไซต์เติบโตมาจากการเป็นเว็บที่ขายของหลากหลาย บางเว็บไซต์หาที่ยืนใหม่ ด้วยการเข้าไปเป็นผู้นำด้านการขายสินค้าในบาง category

เราจะไปดูกันครับว่า 4 ประเทศใน AEC+3 ที่เรายกตัวอย่างมา มีเว็บไซต์ e-commerce อะไรน่าสนใจบ้าง และแต่ละเว็บไซต์เป็นตัวแทนหรือผู้นำของสินค้า category ใดบ้าง

ประเทศจีน 

หากเราไม่พูดถึง Taobao.com ที่เจ้าของคือ อาลีบาบา (Alibaba) ยักษ์ใหญ่ด้าน e-commerce ของจีน ที่ขยายฐานลูกค้าไปเรื่อยๆ ไม่เฉพาะแต่ในจีน แต่ยังรวมถึงการเข้าร่วมธุรกิจกับ e-commerce ในประเทศอื่น ๆ ในเอเชียด้วย

หากถามว่า Taobao ขายอะไร คงต้องบอกว่า ทุกสิ่งอัน ตั้งแต่ โน้ตบุ๊ก ไม้จิ้มฟัน ยันยานพาหนะ โดยถือว่าเป็น Consumer-to-Consumer platform ที่ใหญ่ที่สุดก็ว่าได้ และคนที่สนใจจะซื้อหรือจะขาย ก็สามารถสมัครเป็นสมาชิกได้ฟรี ถือว่าเป็น key success factor ของ Taobao เลยทีเดียว

เว็บที่ 2 คือ เว็บ Tmall.com ซึ่งถือเป็นเว็บไซต์ B2C ที่ขายของแฟชั่น ในกลุ่มยี่ห้อแบรนด์เนมไฮโซต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Gucci, Calvin Klein, Burberry ฯลฯ โดย Tmall ก็เป็นของ Alibaba เช่นกัน ทำให้เห็นว่าการขยายฐานลูกค้าของ Alibaba นั้น ทำได้ดี คือ จับกลุ่มลูกค้าที่ต่างกัน ด้วยสินค้าที่ตอบโจทย์ความต้องการที่ต่างกัน

นอกจากนี้ยังมีเว็บ Dangdang ที่เน้นขายของ category เกี่ยวกับหนังสือต่าง ๆ ทั้ง physical book และ e-book จะเห็นว่าในตลาดที่มีลูกค้าจำนวนมาก และมี payment platform ที่แข็งแรง ตลาด e-commerce ก็จะโตไปในทิศทางเดียวกัน และมีทางเลือกให้ผู้บริโภคมากขึ้น

Tencent Cloud Live Commerce 2
1035462566

ประเทศเกาหลี

ล่าสุดตั้งแต่เกิดวิกฤติ โควิด-19 เว็บไซต์ e-commerce ของเกาหลี ที่มียอดขายน่าจับตามองที่สุด เห็นจะเป็น Coupang ซึ่งได้ส่วนแบ่งการตลาดคิดเป็น 24.6% ซึ่งโตขึ้นเกือบ 20% หากนับช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อนหน้านี้

ทั้งนี้ สิ่งที่น่าสนใจ คือ เว็บไซต์ขายของต่าง ๆ ของเกาหลีใต้ ต่างมีกลยุทธ์ที่มักเน้นที่ บริการ และราคา มากกว่าจะเห็นรูปแบบของการขายของเป็น category ที่ชัดเจน

สำหรับ Coupang มีจุดเด่นที่ Rocket Delivery service หรือการส่งสินค้าแบบเร็วด่วนจี๋ในวันรุ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีการซื้อของสด แทบไม่ต้องรอนาน

ส่วนอีกเจ้าที่ eBay มาครอบครองไป คือ Gmarket มี positioning คล้ายๆ กับเป็นห้างสรรพสินค้าออนไลน์ มีของขายทุกกลุ่ม category และเป็นผู้นำด้านการประมูลออนไลน์ เพื่อให้ได้ราคาดีที่สุดด้วยครับ

แต่ศึก e-commerce ของเกาหลีใต้ ยังนับศพทหารไม่ไ แม้ว่า Gmarket เพิ่งถูกแซงอันดับ 1 ไป ในขณะที่เว็บไซต์อื่นๆ มีจุดเด่น/ จุดขายเรื่องการลดราคาแรงๆ ที่ผู้บริโภคปฏิเสธไม่ลงครับ

ประเทศเวียดนาม

สำหรับสมรภูมิสุดโหดของ e-commerce ในประเทศ ที่มีประชากรคนหนุ่มสาวมากที่สุด ประเทศหนึ่งใน AEC+3 และมีการเติบโตของ online payment สูงนั้น คงไม่กล่าวถึง Tiki ไม่ได้ เพราะเป็นบริษัทสัญชาติเวียดนามที่เป็นคู่ท้าชิงของ regional e-commerce platform อย่าง Shopee

Tiki เติบโตมาจากการเป็นร้านหนังสือออนไลน์ก่อน ก่อนที่จะเริ่มขายของหลากหลาย category มากขึ้น จนมาสู่การเป็น platform ขายของออนไลน์ที่ขายแทบจะทุกอย่าง เหมือนๆ กับ Shopee

ทั้งนี้ ในประเทศเวียดนาม Shopee ได้รับความนิยมมากกว่า Lazada ในขณะที่มี e-commerce เจ้าหลักอื่นๆ โดยคนเวียดนาม เช่น Sendo ที่ขายของหลากหลายเช่นกัน หรือเจ้าดังที่ขายเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เช่น NguyenKim

ประเทศไทย

ท้ายสุด คงต้องกลับมาดูครับว่า ประเทศไทยของเรา e-commerce มีการเติบโตที่น่าสนใจอย่างไรบ้าง โดยหากไม่นับรวม Lazada และ Shopee ที่เป็นเจ้าตลาด C2C ในไทย ที่มี ทราฟฟิก การเยี่ยมชมเว็บไซต์อย่างน้อยเดือนละ 30 ล้านครั้ง

เว็บไซต์ที่เป็น offline retailers ก็เริ่มได้รับความนิยมใน ออนไลน์ มากขึ้น ใน e-commerce platform ของตัวเอง โดยถึงแม้ตัวเลขการ visit เว็บไซต์ จะไม่มากเท่าเจ้าตลาดทั้ง 2 ราย

แต่ก็มีการเติบโตอย่างรวดเร็วเลยครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน category ของเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็น JIB, Powerbuy, Chillindo หรือแม้แต่ห้างสรรพสินค้าก็มาเล่นเวทีนี้เช่นเดียวกัน

โดยเฉพาะเมื่อเศรษฐกิจซบเซา และผู้บริโภคเดินห้างน้อยลง จากเหตุของโควิด-19 เช่น Central.co.th และ Homepro ครับ

ยิ่งไปกว่านั้น อีก category ที่น่าจับตามอง ก็คือ grocery shopping หรือการซื้อของสดของกินใช้เข้าบ้านครับ ซึ่งเราจะเห็น platform ที่เติบโต ไม่ว่าจะเป็น Tesco Lotus Online ฯลฯ เจ้าแห่ง grocery shopping ที่บุกเบิก e-commerce ด้านนี้ในไทยตั้งแต่แรกๆ

หรือขยายมาถึง Mega app service เช่น GrabMart และ LineMan Convenience Store ที่จับมือกับ supermarket/ convenience store ต่าง ๆ ทำให้น่าจับตามองว่า ความสะดวกสบายทาง e-commerce นี้ จะค่อยๆ เปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคไปถาวรได้หรือไม่

อย่างที่ได้เกริ่นไปแล้ว แต่ละประเทศ ก็มีความต้องการของผู้บริโภคไม่เหมือนกัน ทำให้การเติบโตของ e-commerce ในแต่ละที่ต่างกันไปด้วย ประกอบกับต้องมี อีโคซิสเต็ม ด้านการชำระเงินที่แข็งแรง เพื่อให้การซื้อขายสะดวกคล่องตัวและปลอดภัยมากที่สุด

อ่านข่าวเพิ่มเติม

 

Avatar photo