Business

แมนพาวเวอร์กรุ๊ปเผย ‘สิ่งที่พนักงานต้องการ’ หลังโควิด รับ New Normal

สิ่งที่พนักงานต้องการ หลังโควิด บนวิถีชีวิตแบบปกติใหม่ (New Normal) แมนพาวเวอร์กรุ๊ปเผย ส่วนใหญ่กังวลเรื่อง การกลับไปทำงาน และรักษาตำแหน่งงาน

แมนพาวเวอร์กรุ๊ป เผยผลสำรวจเกี่ยวกับ สิ่งที่พนักงานต้องการ หลัง โควิด -19 หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ที่เกิดขึ้นทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ต่อวิถีการทำงาน สู่รูปแบบการทำงาน “แบบปกติใหม่ (New Normal)” ขึ้น

สิ่งที่พนักงานต้องการ

ทั้งนี้ ผลสำรวจพบว่า พนักงานถึง  94% มีความกังวลเกี่ยวกับการกลับไปทำงาน และด้านการรักษาไว้ ซึ่งตำแหน่งงาน มีลำดับความสำคัญสูงสุด สำหรับพนักงานในทุกประเทศ ยกเว้นพนักงาน ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ให้คุณค่าต่อความยืดหยุ่นมากที่สุด

การสำรวจดังกล่าว เป็นการสำรวจ การทำงานรูปแบบใหม่ ซึ่งเป็นข้อมูลเกี่ยวกับ สิ่งที่พนักงานต้องการ หลังโควิด-19 โดยสำรวจพนักงานมากกว่า 8,000 คนจาก 8 ประเทศ ได้แก่ ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี เม็กซิโก สิงคโปร์ สเปน สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา

ผลสำรวจที่สำคัญ พบว่า  พนักงานในทุกประเทศมีลำดับความสำคัญหลัก 3 ประการสำหรับบรรทัดฐานใหม่ในอนาคต ได้แก่

1. ความเป็นอิสระ และสถานที่ทำงาน ในรูปแบบที่ปรับตามความต้องการของตนเอง ซึ่งให้โอกาสในการทำงานทางไกลเป็นบางครั้ง แต่ไม่ใช่ตลอดเวลา และการเรียนรู้ตามความต้องการ

2. โอกาสที่เพิ่มขึ้น ในการเรียนรู้ ในรูปแบบเสมือนจริง และพัฒนาทักษะ เพื่อให้ยังคงถูกจ้างงาน และ ชีวิตที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

3. การมุ่งเน้น ผสมผสานชีวิตการทำงาน และครอบครัวในระยะยาว

mpwg2

นอกจากนี้ พนักงานส่วนใหญ่ ยังเชื่อว่าภาวะวิกฤติจาก โควิด-19 ถือเป็นจุดสิ้นสุดของการทำงานประจำ ในแต่ละองค์กร และมองหา การทำงานรูปแบบใหม่ ที่สามารถผสมผสานงาน และบ้าน ตามข้อมูลจากงานวิจัยใหม่ของแมนพาวเวอร์กรุ๊ป

สำหรับลำดับถัดมา จะเป็นเรื่องความกังวล เกี่ยวกับสุขภาพของตนเอง และครอบครัว โดยพนักงานมีความกังวลมากที่สุด เกี่ยวกับการกลับไปทำงาน ในรูปแบบเดิม รวมทั้งการสูญเสียความยืดหยุ่น ที่พวกเขาเคยได้รับ

ผลจากงานวิจัย ชี้ให้เห็นว่า นายจ้างจำเป็นต้องนำแนวทาง การให้ความสำคัญแก่บุคลากร เป็นอันดับแรกมาใช้ และพิจารณาใหม่ เกี่ยวกับอนาคตของการทำงาน ที่เหมาะสมสำหรับองค์กร และบุคคล เช่น การให้ความสำคัญแก่สุขภาพ สวัสดิภาพ และความรับผิดชอบ ด้านการให้การดูแล

แรงงานพนักงานออฟฟิศ ๒๐๑๑๐๒

“สิ่งเริ่มต้นในฐานะภาวะวิกฤติทางสุขภาพ ได้กลายมาเป็นภาวะวิกฤติ ทางเศรษฐกิจและสังคม ในเวลาต่อมา แม้ว่าประชากรในสัดส่วนไม่มากนัก จะติดเชื้อ โควิด-19 แต่ทุกคนจะได้รับผลกระทบจาก โควิด-19 ในครั้งนี้”
โจนัส ไพรซิง ประธานบริษัทและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ แมนพาวเวอร์กรุ๊ปกล่าว

ข้อมูลยังได้แสดงให้เห็นว่า พนักงานทั่วโลก รู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับการกลับไปทำงาน – พวกเขามีความกังวลเกี่ยวกับสุขภาพและความมั่นคงด้านอาชีพของตนเอง โดยมองหา รูปแบบและแนวทางการทำงาน ที่มีความยืดหยุ่น ซึ่งช่วยให้แรงงาน สามารถสร้างความสมดุลระหว่างการทำงาน ที่ออฟฟิศและบ้าน ได้ดียิ่งขึ้น

 

ดังนั้น องค์กร ที่ให้ความสำคัญต่อสุขภาวะทางจิตใจ และความยืดหยุ่น พร้อมยังแสดงให้เห็นถึงวิธีที่พวกเขาสร้างผลกระทบทางสังคม ในช่วงเวลาที่ท้าทาย จะอยู่ในตำแหน่งที่ดีที่สุด ที่จะดึงดูดและรักษาบุคลากร ที่มีความสามารถพิเศษ และ ทำให้พนักงานมีความเชื่อมั่น มีสุขภาพดี และทำงานได้ อย่างมีประสิทธิภาพ

ในภาวะการณ์ทางเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอน ความสามารถในการทำงานมีความสำคัญมากที่สุดสำหรับพนักงาน โดยพนักงาน 9 ใน 10 คนระบุว่า การรักษาไว้ซึ่งตำแหน่งงานของตน มีความสำคัญมากที่สุด

2NOV บรรทัดฐานใหม่ในอนาคต scaled

อย่างไรก็ตาม วิธีที่พนักงานรู้สึกเกี่ยวกับการกลับไปทำงานแตกต่างกันตามเพศและความก้าวหน้าในอาชีพ สรุปได้ดังนี้

  • พนักงานยุคเจเนอเรชั่นแซด มีความกระตือรือร้นมากที่สุด ที่จะกลับไปทำงาน เพื่อพัฒนาอาชีพการงานและเข้าสังคมคิดเป็น 51%
  • พนักงานยุคมิลเลนเนียล มีความรู้สึกเชิงบวกน้อยที่สุดอยู่ที่ 38%
  • พนักงานยุคเจเนอเรชั่นเอ็กซ์ ให้คุณค่าต่อการกลับมาทำงาน เพื่อให้ความร่วมมือและจดจ่อกับงาน รวมทั้งพักจากความรับผิดชอบต่อครอบครัว
  • พนักงานยุคบูมเมอร์ เลือกการเข้าสังคม และการร่วมมือกับเพื่อนร่วมงานคิดเป็น 34% นับเป็นเหตุผลสำคัญที่สุด ในการกลับมาทำงาน

ขณะเดียวกัน เมื่อพิจารณาตามเพศ พบว่า ผู้ชายเกือบครึ่งหนึ่ง หรือราว 46% มีความรู้สึกเชิงบวกเกี่ยวกับการกลับไปทำงาน

2NOV 5วิธีแรงงานกับมืออนาคต

ในขณะที่ผู้หญิงเพียงหนึ่งในสามคิดเป็น 35% รู้สึกเหมือนกัน โดยผู้หญิงระบุต่ออีกว่า รู้สึกกังวลและประหม่ามากกว่าเกี่ยวกับการกลับไปทำงาน อย่างไรก็ตาม ทั้งผู้ชายและผู้หญิงจัดอันดับให้การไม่ต้องเดินทาง และการมีความยืดหยุ่นในการทำงานตามความสะดวก เป็นข้อดีอยู่ใน 3 อันดับแรกของการทำงานที่บ้าน

ส่วนพ่อแม่ที่ต้องทำงาน พบว่า ผู้ชายที่มีลูก จัดอันดับให้การใช้เวลากับครอบครัว เป็นข้อดีอันดับแรก ของการทำงานทางไกล ขณะที่ผู้หญิง มีความรู้สึกเชิงลบมากกว่า เกี่ยวกับการกลับไปทำงาน โดยมีความกังวลเพิ่มขึ้น

หลังเกิดโควิด-19 สิ่งที่พนักงานกังวลใจมากที่สุด เกี่ยวกับการกลับไปปฏิบัติงานในรูปแบบเดิม คือ การสูญเสียความยืดหยุ่น ที่พวกเขาเคยได้รับ และ 8 ใน 10 ต้องการความสมดุลเพิ่มขึ้น ระหว่างงานและครอบครัว ในอนาคต

ที่สำคัญคือ 43% ระบุว่า พนักงานเชื่อว่า เหตุการณ์ดังกล่าว ถือเป็นจุดสิ้นสุดของการทำงาน ในรูปแบบของการเข้างาน 9.00 น. และเลิกงาน 17.00 น. พนักงานส่วนใหญ่ต้องการเข้าปฏิบัติงาน ณ สถานที่ทำงาน 2-3 วันต่อสัปดาห์ จึงถือได้ว่า จากนี้ไป จะเป็นยุคของ การทำงานรูปแบบใหม่ อย่างแท้จริง

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo