Business

เปิด 6 อันดับ ธุรกิจ ‘ย่ำแย่’ จากโควิด เร่งฉีด ‘วัคซีนการตลาด’ เพิ่มภูมิคุ้มกันด่วน!

6 อันดับ ธุรกิจย่ำแย่จากโควิด ซีเอ็มเอ็มยู เผยธุรกิจไทยสูงถึง 74% ยอดขายตก ท่องเที่ยวโรงแรม บันเทิง กระทบหนักสุด พร้อมแนะ วัคซีนการตลาด สร้างภูมิคุ้มกัน

ดร.บุญยิ่ง คงอาชาภัทร ผู้ช่วยคณบดี ด้านสื่อสารองค์กร และหัวหน้าสาขาการตลาด วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) เปิดเผยว่า จากวิกฤติโควิด-19 ที่เกิดขึ้น ผลสำรวจกลุ่มผู้ประกอบการตัวอย่าง 450 ราย พบว่า 6 อันดับ ธุรกิจย่ำแย่จากโควิด หรือธุรกิจที่ได้รับผลกระทบสูงสุด 6 อันดับแรก คือ

6 อันดับ ธุรกิจย่ำแย่จากโควิด

  • ธุรกิจท่องเที่ยว ที่มีรายได้ลดลง 73%
  • ธุรกิจบันเทิง ที่มีรายได้ลดลง 59%
  • ธุรกิจรับจ้าง บริการ ที่มีรายได้ลดลง 44%
  • 4. ธุรกิจการผลิต ที่มีรายได้ลดลง 42%
  • 5. ธุรกิจอาหาร ที่มีรายได้ลดลง 41%
  • ธุรกิจค้าขาย ปลีกส่ง และธุรกิจอื่น ๆ ที่มีรายได้ลดลง 38%

นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้ประกอบการจำนวน 78% หรือจำนวน 350 ราย ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจจากพิษโควิด-19 และผลกระทบดังกล่าว ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อภาคธุรกิจ แบ่งเป็น 70% ของธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ มีการปรับตัวให้สอดคล้องกับสถานการณ์ 18% ดำเนินการปกติ 6% ลดขนาดธุรกิจ 4% เปลี่ยนไปทำธุรกิจอื่น และอีก 2% เลิกกิจการ

6 อันดับ ธุรกิจย่ำแย่จากโควิด

พร้อมกันนี้ ยังพบการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ ในประเทศเพื่อนบ้านอย่าง ประเทศจีน ที่มีการเติบโตสวนกระแสดังนี้ ได้แก่ ธุรกิจการศึกษาออนไลน์, ระบบทำงานออนไลน์, ธุรกิจส่งสินค้าอุปโภคบริโภค, ธุรกิจเกี่ยวกับอุตสาหกรรม 5G, การแพทย์/ทำงานทางไกล, การรักษาความปลอดภัย และซุปเปอร์แอปฯ อย่าง วีแชท (WeChat)

อย่างไรก็ตาม จากวิกฤติดังกล่าว ส่งผลให้พฤติกรรมของผู้บริโภค เปลี่ยนไปอย่างมาก เกิดพฤติกรรมของผู้บริโภค “4 NO” อันนำไปสู่การตลาดที่ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป (Never Normal Marketing) ได้แก่

  • หลีกเลี่ยงการสัมผัส (No Touching)
  • ออกจากบ้านลดลง และซื้อสินค้าออนไลน์ (No Moving)
  • ทำกิจกรรมร่วมกันน้อยลง (No Sharing)
  • ลดค่านิยมการใช้สินค้าฟุ่มเฟือย (No Brand)

ด้าน นางสาวลักษมณ เตชะสิริวิชัย หัวหน้าทีมการนำเสนองานวิจัย Never Normal Marketing และนักศึกษาปริญญาโท วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) กล่าวว่า ทีมวิจัย ได้คิดค้นวัคซีน “กลยุทธ์การสร้างภูมิคุ้มกันให้ธุรกิจ” หรือ “VACCINES Strategy” กลยุทธ์การตลาดสำหรับผู้ประกอบการไทย ในการบริหารธุรกิจในภาวะวิกฤติ หรือสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ ที่เปลี่ยนไปจากเดิม ประกอบด้วยรายละเอียด ดังนี้

new normal flexible workspace ๒๐๐๙๒๔

  • NE(V)ER NORMAL รอดในโลกใหม่ ที่ไม่เหมือนเดิม ทุกธุรกิจต้องพร้อมในการปรับ-เปลี่ยนกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับสถานการณ์เมื่อวิกฤตที่คาดไม่ถึง ทั้งการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ในทางตรงและทางอ้อม
  • DAT(A) DRIVEN ใช้ดาต้า หาทางรอด ธุรกิจต้องเก็บข้อมูลทั้งภายในและภายนอกองค์กร เพื่อสร้างคลังข้อมูล สำหรับการบริหารจัดการ และต่อยอดธุรกิจ รวมถึงหาทางออกที่ดีที่สุดในการรับมือภาวะวิกฤติ
  • (C)OLLABORATION รวมกัน เราอยู่ การทำพาร์ทเนอร์ชิพ มาร์เก็ตติ้ง สร้างเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจที่ดี จะช่วยเสริมความรู้เกี่ยวกับภาคธุรกิจอื่น ๆ และคอยสนับสนุนซึ่งกันและกัน
  • (C)ONTENT สื่อสารให้คลิก พลิกด้วยคอนเทนต์ เนื้อหาที่น่าสนใจเพื่อใช้สื่อสารกับผู้บริโภค ถือเป็นหนึ่งในหัวใจหลักของการตลาด ที่จะนำพาไปสู่ความสำเร็จ เพราะเนื้อหาเหล่านั้นจะช่วยสร้างการรับรู้และความเข้าใจของผู้บริโภคไปในทิศทางเดียวกัน พร้อมกับดึงดูดความสนใจผู้บริโภค
  • NEW BUS(I)NESS รู้ รับ ปรับท่าใหม่ ทุกธุรกิจต้องพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลง โดยการปฏิรูปธุรกิจอย่างสม่ำเสมอ ผ่านการปรับเปลี่ยนฟีเจอร์ และผลิตภัณฑ์ รวมทั้งปรับปรุงกลยุทธ์ขององค์กร ผ่านการวิเคราะห์องค์กร และสถานการณ์ต่าง ๆ

technology ๒๐๐๙๒๔

  •  RESILIE(N)CE ยืดหยุ่น พร้อมปรับ ธุรกิจในยุคนี้ต้องมีโครงสร้างองค์กรที่ยืดหยุ่น เช่นโครงสร้างองค์กรแบบแบนราบที่ลดลำดับชั้นในการบริหาร และเพิ่มอิสระในการทำงานให้รวดเร็วยิ่งขึ้น พร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงเสมอ อีกทั้งมีแผนในการดำเนินงานระยะยาว มีความคล่องตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสูง เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้สูงขึ้น
  • T(E)CH ADOPTION ขับเคลื่อน ด้วยเทคโนโลยี การนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยดำเนินงาน จะสามารถช่วยให้ธุรกิจขับเคลื่อนได้อย่างรวดเร็วและเกิดความยั่งยืนในอนาคตต่อไป
  • GROWTH MIND(S)ET เติบโต แบบคิดต่าง ธุรกิจควรมองว่าวิกฤตต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เป็นเหมือนโอกาสให้ธุรกิจได้พัฒนา ผ่านการปฏิรูปการออกแบบและสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ รวมไปถึงการปรับโมเดลธุรกิจ

จากวัคซีน “กลยุทธ์การสร้างภูมิคุ้มกันให้ธุรกิจ” หรือ “VACCINES Strategy” พบว่า ปัจจุบันมีธุรกิจไทย ได้นำวัคซีนไปใช้แล้ว และสามารถในการปรับตัว ที่เท่าทันสถานการณ์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ตัวอย่างเช่น หัวกลม (HUA-GLOM) ธุรกิจบันเทิง ที่เน้นการทำงานร่วมกับศิลปิน จนเกิดเป็นกระแสปากต่อปาก ควบคู่กับการทำงานร่วมกับหน่วยงานพาร์ทเนอร์ในหลากมิติ, อีเว้นท์ ป็อป (Event POP) สตาร์ทอัพจัดงานอีเว้นท์ มุ่งทำคอนเทนต์มาร์เก็ตติ้งเพื่อดึงดูดลูกค้า ด้วยการเพิ่มความเร็วและความถี่ ในการโพสต์เนื้อหาบนสื่อสังคมออนไลน์ พร้อมเก็บข้อมูลพฤติกรรมของผู้บริโภค เพื่อนำไปปรับแผนธุรกิจในอนาคต เป็นต้น

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo