Business

บขส. เตรียมส่งผลศึกษาย้าย ‘สถานีขนส่งสายใต้’ เข้าอนุทรัพย์สิน รอขั้นตอนฟันธง

“บขส.” เต้นแจงหลังถูกโซเชียลฯ ถล่มหนัก ตอนนี้ยังไม่ตัดสินใจ ย้าย “สถานีขนส่ง สายใต้” กลับปิ่นเกล้า ล่าสุดอยู่ขั้นตอนส่งผลศึกษาฉบับจุฬาฯ ให้อนุกรรมการทรัพย์สินพิจารณา รอฟันธงตามขั้นธง

นายมาโนช สายชูโต รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ฝ่ายธุรกิจเดินรถ รักษาการแทนกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) กล่าวถึงกรณีการเตรียมย้ายสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ถนนบรมราชชนนี) หรือสายใต้ใหม่ กลับไปยังสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ปิ่นเกล้า) หรือสายใต้เก่า ว่า

4ก5ห1ด3กห

บขส. ยังไม่ได้ตัดสินใจเรื่อง ย้าย สถานีขนส่ง สายใต้ เป็นเพียงผลการศึกษาและวิเคราะห์การพัฒนาพื้นที่สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ปิ่นเกล้า) ของศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ บขส. ได้ว่าจ้างเป็นที่ปรึกษามาตั้งแต่ปี 2562 เท่านั้น

ทั้งนี้ บขส. เตรียมรายงานผลการศึกษาฯ ต่อคณะอนุกรรมการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของบริษัท จากนั้นจะหารือกับคณะกรรมการ (บอร์ด) และระดับนโยบาย รวมถึงสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการจราจร เพื่อพิจารณาและบูรณาการเรื่องการเดินทางเชื่อมต่อกับระบบขนส่งอื่นๆ และปัญหาการจราจรอย่างรอบคอบก่อนดำเนินการต่อไป

 

เปิดผลศึกษา ย้าย “สายใต้”

รายงานข่าวจาก บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) เปิดเผยว่า บขส. มีแผนจะย้ายสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ถนนบรมราชชนนี) หรือสายใต้ใหม่ กลับมาอยู่บริเวณเดิมคือ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ปิ่นเกล้า) หรือสายใต้เก่า เนื่องจากสัมปทานจัดตั้งสถานีสายใต้ใหม่ในพื้นที่ของเอกชนจะหมดอายุลงในปี 2568 หรืออีก 5 ปีข้างหน้า

ปัจจุบัน บขส. จึงได้ว่าจ้างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทำการศึกษาและจัดทำรายงานวิเคราะห์ความเหมาะสมในการพัฒนาพื้นที่สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (ปิ่นเกล้า) หรือสายใต้เก่าแล้ว

โดยทางจุฬาฯ ได้นำเสนอผลการศึกษาฉบับสมบูรณ์และแนวคิดในการพัฒนากลับมายัง บขส. ภายใต้ชื่อ “โครงการ  Green Net ปิ่นเกล้า” ซึ่งมีแนวคิดจะพัฒนาเป็นสถานีขนส่งผู้โดยที่ทันสมัย พร้อมอาคารมิกซ์ยูส และศูนย์ฟื้นฟูสุขภาพสีเขียวเพื่อชีวิตคนเมืองบนพื้นที่ขนาด 15 ไร่

สัญญาสัมปทานสร้างสถานีสายใต้ใหม่จะหมดในปี 2568 ดังนั้น บขส. จึงต้องย้ายกลับมาที่สถานีสายใต้เก่าตามเดิม ซึ่งเป็นพื้นที่ของ บขส. เอง จึงต้องเร่งพัฒนาและปรับปรุงสายใต้เก่าให้ทันกับอายุสัมปทาน เบื้องต้นจะนำเสนอโครงการ Green Net ปิ่นเกล้า ให้อนุกรรมการพัฒนาทรัพย์สินพิจารณาอนุมัติภายในเดือนกันยายนนี้ และตั้งเป้าที่จะต้องเปิดขายซองประมูลในปี 2564 เพื่อให้สามารถก่อสร้างสถานีและพัฒนามิกซ์ยูส ให้เสร็จและเปิดให้บริการได้ทันในปี 2568

10303762 281058788721401 8455438304316191856 n
ขอบคุณภาพจากเฟซบุ๊ก ขอบคุณภาพจากเฟซบุ๊ก สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ สายใต้ใหม่ – ถนนบรมราชชนนี

สำหรับโครงการว่า Green Net ปิ่นเกล้า มีแนวทางการพัฒนาสถานีขนส่ง สายใต้ บริเวณ ปิ่นเกล้า ในลักษณะรัฐเอกชนร่วมลงทุน (PPP) โดย บขส. ลงทุนที่ดิน ด้านเอกชนลงทุนก่อสร้างและพัฒนาโครงการมูลค่า 4,659 ล้านบาท ระยะเวลาในการออกแบบก่อสร้าง 4 ปี และสัมปทานมีอายุทั้งหมด 50 ปี

การพัฒนาพื้นที่จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน หรือ 3 อาคาร ได้แก่

  • อาคารสถานีขนส่งผู้โดยสารสายใต้อัจฉริยะ (Smart Station) ที่มีการนำระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาอำนวยความสะดวกในการให้บริการเดินรถแก่ประชาชน ชั้นที่ 1 จะเป็นสถานี ชั้นที่ 2 และ 3 จะทำเป็นห้างสรรพสินค้าและร้านอาหาร
  • อาคารที่พักอาศัย (คอนโดมิเนียม) แบบให้เช่าระยะยาว จำนวน 35 ชั้น
  • อาคารศูนย์ฟื้นฟูสุขภาพ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้พักฟื้นสุขภาพจากโรงพยาบาลโดยรอบ บุคคลกรโรงพยาบาล ผู้สูงวัย พนักงานบริษัทเอกชน และกลุ่มนักท่องเที่ยว

ตลอดอายุสัมปทาน บขส. จะได้รับผลตอบแทน 1,938 ล้านบาท แบ่งออกเป็น รายได้จากค่าธรรมเนียมปีแรก จำนวน 177 ล้านบาท, ค่าเช่า 50 ปี จำนวน 1,159 ล้านบาท, ค่าก่อสร้างและค่าใช้จ่ายในการสร้างสถานีจำนวน 281 ล้านบาท และส่วนแบ่งกำไนจำนวน 320 ล้านบาท

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า แนวคิดการย้ายสถานีขนส่ง สายใต้ จากถนนบรมราชชนนี กลับไปยังบริเวณปิ่นเกล้า ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ในโซเชียลมีเดียเป็นวงกว้างในหลายประเด็น เช่น แนวทางดังกล่าวสร้างความสับสนให้ผู้โดยสาร, สิ้นเปลืองงบประมาณโดยใช่เหตุ และซ้ำเติมปัญหาการจราจรบริเวณปิ่นเกล้า ซึ่งเป็นย่านชุมนุมหนาแน่นมากกว่าถนนบรมราชชนนี

ย้าย สายใต้

ย้าย สายใต้

ขอบคุณภาพปกจากเฟซบุ๊ก ขอบคุณภาพจากเฟซบุ๊ก สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ สายใต้ใหม่ – ถนนบรมราชชนนี

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo