Business

ยอดขายอสังหาฯ วูบ 29% ปีนี้ ‘EIC’ เปิด 5 ประเด็นต้องจับตามองใน 1-3 ปี

ยอดขายอสังหาฯ วูบ EIC คาดปีนี้หดตัวไม่ต่ำกว่า 29% ครึ่งปีหลังยังซบต่อเนื่อง จับตา 5 ประเด็นตลาดอสังหาฯ ในช่วง 1-3 ปีจากนี้ พร้อมแนะกลยุทธ์ปรับตัว

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (EIC) เผยบทวิเคราะห์ เรื่อง “ส่องตลาดที่อยู่อาศัย ความท้าทายของการฟื้นตัวหลังโควิด-19” โดยคาดการณ์ว่า ภาพรวม ยอดขายอสังหาฯ วูบ 29% ในปีนี้ หลังจากช่วงครึ่งแรกที่ผ่านมา พบว่า ยอดขายที่อยู่อาศัยหดตัวลงไปแล้วถึง 45% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา

ยอดขายอสังหาฯ วูบ

ทั้งนี้ เป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของ โควิด-19 เป็นเครื่องซ้ำเติมตลาดที่อยู่อาศัย ที่อ่อนแออยู่แล้ว จากการชะลอตัวของเศรษฐกิจ และผลของมาตรการ LTV ที่เริ่มในปี 2562 ทำให้หดตัวลงต่อเนื่องในปี 2563นี้

นอกจากนี้ ยังเป็นผลมาจากกำลังซื้อ และความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ที่ลดลงมาก รวมถึงการปรับลดลงของยอดขายจากตลาดต่างชาติ ขณะที่ในด้านอุปทานเอง ก็พบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ ชะลอการเปิดโครงการใหม่ ๆ ออกไป โดยเฉพาะคอนโดมิเนียม และหันมาเน้นโครงการแนวราบ เพื่อเจาะกลุ่มผู้ซื้อ เพื่ออยู่อาศัยจริง (real demand) มากขึ้น

ขณะเดียวกัน ยังคาดการณ์ว่า ในช่วงที่เหลือของปี 2563 ตลาดยังมีแนวโน้มซบเซา แม้ว่าหลังจากการคลายมาตรการล็อกดาวน์ จะมีผลให้ ยอดขายกลับมาฟื้นตัวได้บางส่วน จากการแข่งขันออกโปรโมชั่น ของผู้ประกอบการ แต่ภาวะเศรษฐกิจ และกำลังซื้อ ที่ยังฟื้นตัวช้า ส่งผลให้ยอดขายโดยรวม ยังฟื้นตัวได้ไม่มากนัก

ยอดโอน

ด้านมูลค่าโอนกรรมสิทธิ์ คาดว่าจะหดตัวที่  7% มาอยู่ที่ 8.7 แสนล้านบาท โดยมียอดโอนบางส่วน มาจากยอดขายที่เกิดขึ้น ในช่วงปีก่อน ๆ โดยเฉพาะในส่วนของคอนโดมิเนียม ที่มีหน่วยขายได้ค่อนข้างสูง ในช่วงปี 2561 ซึ่งเริ่มทยอยสร้างเสร็จ และพร้อมโอนได้ในช่วงปี 2563 นี้

ทั้งนี้ EIC ประเมินว่า ยอดขายที่อยู่อาศัย จะกลับมาใกล้เคียงกับระดับยอดขายในปี 2562 ซึ่งเป็นช่วงก่อนเกิดโควิด-19 ได้ในช่วงครึ่งหลังของปี 2565 โดยกลุ่มกำลังซื้อระดับกลางถึงบน จะเป็นกลุ่มที่นำการฟื้นตัวของตลาด

สำหรับโครงการแนวราบ จะยังเป็นตลาดที่มีสัดส่วนหลัก เนื่องจากตอบโจทย์กลุ่ม real demand ที่อยู่อาศัยจริงมากที่สุด ขณะที่กลุ่มกำลังซื้อน้อยคาดว่าจะฟื้นตัวอย่างช้า ๆ เช่นเดียวกันกับยอดขายต่างชาติ ที่คาดว่ายังไม่กลับมาฟื้นตัวได้ ในระยะเวลาอันใกล้ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลก ที่ยังมีทิศทางชะลอตัวลง

 

EIC ยังเผยถึง 5 ประเด็นที่ต้องจับตามอง สำหรับทิศทางตลาดที่อยู่อาศัย ในช่วง 1-3 ปีข้างหน้า ได้แก่

1. ภาพการฟื้นตัวของตลาดจากโควิด-19 โดยภาวะเศรษฐกิจที่หดตัวลงอย่างมาก ส่งผลให้แนวโน้มการฟื้นตัวของภาคอสังหาฯ จะเป็นไปอย่างช้า ๆ กว่าที่ยอดขายจะกลับมา สู่ระดับก่อนเกิด โควิด-19 ได้อย่างเร็วที่สุดในปี 2565 โดยตลาดกลุ่มระดับกลางถึงบน จะเป็นตัวนำการฟื้นตัวของตลาด

4882DA47 F6AD 4DC0 B640 4601D25EBED9
การซื้ออสังหาฯต้องมีการเตรียมตัวให้พร้อม

 

2. ภาวะอุปทานส่วนเกินและการลดลงของราคาที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะที่อยู่อาศัยประเภทคอนโดมิเนียม ที่ระดับราคาต่ำกว่า 3 ล้านที่มีหน่วยเหลือขายสะสมค่อนข้างมาก ส่งผลให้ผู้ประกอบการ ยังต้องเน้นการระบายสต็อก และทำให้การแข่งขันด้านราคารุนแรงมากขึ้น

3. ความสามารถในการซื้อที่อยู่อาศัยของผู้บริโภค (housing affordability) มีแนวโน้มลดลงตามภาวะเศรษฐกิจ ส่งผลให้ผู้ประกอบการ ต้องปรับลดราคาลงและเน้นพัฒนาที่อยู่อาศัยในราคาที่ถูกลง เพื่อให้ผู้ซื้อสามารถเข้าถึงได้มากขึ้น

4. การที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่หันมาเน้นเจาะตลาดแนวราบมากขึ้น ส่งผลให้ภาวะการแข่งขันในตลาดแนวราบ มีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะในตลาดระดับราคาปานกลาง เช่น ทาวน์เฮาส์

5. ยอดขายใหม่ มีแนวโน้มจะกระจุกตัว ในโครงการของผู้ประกอบการขนาดให

ยอดขายอสังหาฯ วูบญ่มากขึ้น จากการแข่งขันทำโปรโมชั่น อย่างต่อเนื่อง เพื่อระบายสต็อก รวมถึงการแข่งขันเปิดตัวโครงการแนวราบ ประกอบกับชื่อเสียงของแบรนด์ที่ได้รับความไว้วางใจ ตลอดจนความสามารถในการแข่งขันที่ได้เปรียบมากกว่า

ดังนั้น ผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาฯ ที่อยู่อาศัย ต้องปรับตัวสู่ New Normal เพื่อให้ตอบโจทย์พฤติกรรมผู้บริโภคและไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนี้

  • ช่องทางการขายออนไลน์ ที่จะมาช่วยเสริม เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ซื้อ และยังเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือสำคัญ ที่ใช้ในการทำการตลาด
  • การพัฒนาโครงการใหม่ จะเน้นความคุ้มค่า เพื่อให้สอดคล้องกับ กำลังซื้อที่ลดลง และยังต้องแข่งขันกับตลาดมือสอง ที่คาดว่าจะมีทรัพย์สินที่รอการขาย (Non Performing Asset) เข้ามาในตลาดมากขึ้นจาก NPL ในตลาดที่อยู่อาศัย ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
  • ไลฟ์สไตล์ใหม่ อย่างเช่น เทรนด์ของการ Work from home จะส่งผลให้ผู้บริโภค พิจารณาเลือกที่อยู่อาศัย โดยให้ความสำคัญกับ ทั้งปัจจัยด้านทำเลและพื้นที่ใช้สอยที่ตอบโจทย์ ส่งผลให้ที่อยู่อาศัยแนวราบ ที่อาจจะอยู่ห่างออกไป แต่ยังเดินทางได้สะดวก จากส่วนต่อขยายรถไฟฟ้า มีแนวโน้มได้รับความสนใจมากขึ้น
  • รูปแบบของการพัฒนาโครงการ ที่ต้องตอบโจทย์เทรนด์ผู้บริโภคยุคใหม่ อาทิ ด้านสุขภาพและสุขอนามัย ซึ่งมีแนวโน้มนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาใช้มากขึ้น อย่างเช่น เทคโนโลยีด้าน Face Recognition, Voice Command มาใช้ในพื้นที่ส่วนกลาง

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo