Business

‘ท่องเที่ยว ก.ค.’ ไร้เงาต่างชาติเดือนที่ 4 เที่ยวไทยยังหดตัว แต่เห็นสัญญาณฟื้น

ท่องเที่ยว ก.ค. นักเที่ยวต่างชาติหายเดือนที่ 4 ต่อเนื่อง จากล็อกดาวน์ ขณะที่ไทยเที่ยวไทย เริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัว รายได้สะสม 6 เดือน 2.4 แสนล้าน

กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา รายงานสถานการณ์ท่องเที่ยว เดือนกรกฏาคม 2563 พบว่า ท่องเที่ยว ก.ค. นับเป็นเดือนที่ 4 ที่ไม่มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ตั้งแต่เดือนเมษายน 2563 โดยสถานการณ์การระบาดที่ยังไม่ยุติของโรคโควิต 19 ยังเป็นอุปสรรคที่สำคัญ ในการเปิดการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ

ท่องเที่ยว ก.ค.

จากข้อมูลของ องค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่า ในเดือนกรกฎาคม 2563 มีจำนวนผู้ติดโรคโควิด-19 สะสมทั่วโลก อยู่ที่ 17.11 ล้านคน เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากเดือนมิถุนายน 2563 ที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อผสมอยู่ที่ 10.17 ล้านคน ในขณะที่สถานการณ์ระบาดในกลุ่มประเทศอาเซียน ในเดือนกรกฎาคม 2563 ประเทศอินโดนีเซีย มีจำนวนผู้ติดเชื้อสะสมมากที่สุด ในอาเซียน จำนวน 106,33  คน​

ส่วนประเทศไทย มีจำนวนผู้ติดเชื้อสะสม 3,310 คน อยู่ในอันดับที่ 5 ในกลุ่มประเทศอาเซียน โดยผู้ติดเชื้อทั้งหมด ตรวจพบจากการเดินทางระหว่างประเทศ ดังนั้น สถานการณ์ดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า การระบาดของโรคโควิต 19 ยังคงระบาดอย่างต่อเนื่องในระดับโลก ขณะเดียวกันยังพบการระบาด ในกลุ่มประเทศอาเซียนบางประเทศ

สถานการณ์ท่องเที่ยวในประเทศ

เดือนกรกฏาคม 2563 มีนักท่องเที่ยวชาวไทย เดินทางท่องเที่ยวในประเทศ จำนวน 7.40 ล้านคน/ครั้ง หดตัวร้อยละ 45.54 สร้างรายได้ 3.56 หมื่นล้านบาท หดตัวร้อยละ 59.76 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา

ขณะที่ ตั้งแต่เดือนมกราคม-กรกฏาคม 2563 มีจำนวนนักท่องเที่ยวชาวไทย เดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ สะสมจำนวนทั้งสิ้น 35.73 ล้านคน/ครั้ง หดตัวร้อยละ 60.43 มีรายได้สะสมจากการท่องเที่ยว 2.4 แสนล้านบาท หดตัวร้อยละ 60.96 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

27AUG สถานการณ์ท่องเที่ยวเดือนมกราคม กรกฏาคม

จากข้อมูลจะเห็นได้ว่า การท่องเที่ยวในประเทศ เริ่มฟื้นตัวมากขึ้น ประกอบกับมีวันหยุดยาว และมาตรการฟื้นฟูการท่องเที่ยวภายในประเทศ ผ่านโครงการเราเที่ยวด้วยกัน และ กำลังใจ โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 15 กรกฏาคม 2563 ถึง 31 ตุลาคม 2563

สำหรับ จังหวัดที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวชาวไทยสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี และเพชรบุรี ตามลำดับ

ความท้าทายด้านการท่องเที่ยว

  • ปัจจัยสนับสนุน

1. ทิศทางการท่องเที่ยวระหว่างประเทศในระดับโลก ส่งสัญญาณฟื้นตัวอย่างช้า ๆ ซึ่งอยู่ในชั้นตอนเตรียมการ ดังนั้น การท่องเที่ยวที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่ มาจากการท่องเที่ยวภายในประเทศเป็นหลัก

2. การท่องเที่ยวภายในประเทศ ได้ผ่านจุดต่ำสุดมาแล้ว กิจกรรมทางเศรษฐกิจกำลังฟื้นตัวอย่างช้า ๆ เป็นผลมาจากการควบคุมการระบาดของโรคโควิด-19 ที่มีประสิทธิภาพ

3. มาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจการท่องเที่ยวภายในประเทศ ผ่านโครงการ เราเที่ยวด้วยกัน และโครงการกำลังใจ

  • ปัจจัยเสี่ยง

1. การระบาดของโรคโควิด-19 ยังคงเป็นอุปสรรคในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ซึ่งกระทบต่อเศรษฐกิจการท่องเที่ยว

2. ปัญหาการว่างงาน ที่เกิดขึ้นจากการระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลต่อกำลังซื้อของนักท่องเที่ยว ซึ่งอาจทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจการท่องเที่ยวมีอุปสรรคมากขึ้น

3. ในประเทศไทย ธุรกิจการท่องเที่ยวที่รองรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ยังไม่สามารถเปิดดำเนินการได้ในเดือนกรกฏาคม 2563 และต่อเนื่องไปถึงเดือนสิงหาคม 2563

ท่องเที่ยวเหงา ๒๐๐๘๒๘ 0

อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวของการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ ยังคงมีอุปสรรค และความไม่แน่นอนอยู่มาก จากสถานการณ์โดยรวม ที่กลุ่มนักท่องเที่ยวหลักอย่าง นักท่องเที่ยวชาวจีน ที่มีค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวสูงสุดของปี 2562 อันดับ 1 มูลค่า 7.9 ล้านล้านบาท และสหรัฐ ที่มีค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวอันดับ 2 มูลค่า 4.7 บ้านบ้านบาท ยังไม่สามารถเดินทางท่องเที่ยว

นอกจากนี้ ประเทศต้นทาง ยังมีความเสี่ยง ต่อการระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกใหม่ และอาจนำไปสู่มาตรการที่ไม่เป็นผลดี ต่อการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ เช่น การปิดกั้นพรมแดน เคอร์ฟิว และล็อกดาวน์ เป็นต้น ซึ่งสร้างผลกระทบต่อความเชื่อมั่นด้านการท่องเที่ยว ส่งผลให้ค่าดัชนีความเชื่อมั่น UNWTO Confidence Index ในช่วงเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม 2563 มีค่าอยู่ที่ 25 จาก 200 โดยก่อนการระบาดของโรคโควิด-19 ผุ้เชี่ยวชาญขององค์การท่องเที่ยวโลกคาดว่า จะมีค่าอยู่ที่ 121

ทิศทางการฟื้นฟูเศรษฐกิจการท่องเที่ยวของอาเซียน

จากรายงานขององค์การท่องเที่ยวโลก การเดินทางท่องเที่ยวระหว่างประเทศภายในภูมิภาคอาเซียน ยังไม่ฟื้นตัว แต่พบการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวภายในประเทศเป็นหลัก ซึ่งไม่แตกต่างจากภูมิภาคอื่นๆ ทั่วโลก โดยมีนโยบายของภาครัฐ ที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ เช่น เงินอุดหนึนค่าใช้จ่าย และค่าเดินทางท่องเที่ยว เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม การเตรียมความพร้อม เพื่อนำไปสู่การเดินทางท่องเที่ยวระหว่างประเทศ ได้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยมีการประชุมคณะทำงานด้านการขนส่งทางอากาศยานของอาเซียน (ASEAN Air Transport Working Group Meeting : ATWG) ซึ่งคณะทำงานได้ร่วมกันหาแนวทางตามแนวทางและหลักการขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) เพื่อฟื้นฟูการบินระหว่างประเทศ ภายใต้ความปกติใหม่ (New Normal) ร่วมกัน โดยคำนึงถึงมาตรการที่เหมาะสม ปฏิบัติได้จริง และมีมาตรการป้องกันที่จำเป็น เพื่อความมั่นคงทางสุขภาพของประชาชน

ก.ค.4

 

ทิศทางการฟื้นฟูการท่องเที่ยวของประเทศไทย

อ้างอิงจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ประกอบกับเงื่อนไขในการอนุญาตให้อากาศยาน ทำการบินเข้าออกประเทศไทย (ฉบับที่2) รวมถึงมาตรการผ่อนปรนระยะที่ 5 ตามประกาศของศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงมหาดไทย (ศบค.มท.) ส่งผลให้การท่องเที่ยวระหว่างประเทศ ยังไม่สามารถกลับมาดำเนินการได้ตามปกติ ส่งผลให้การเดินทางท่องเที่ยวที่เกิดขึ้น เป็นการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ เป็นหลัก

ดังนั้น กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ร่วมกับกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดทำคู่มือการปฏิบัติตามมาตรรการผ่อนปรนกิจการและกิจกรรม ด้าานการท่องเที่ยว เพื่อป้องกัยการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติสำหรับเจ้าของกิจการ ผู้ให้บริการ และผู้ใช้บริการ ตามโครงการคนไทยร่วมพลัง ป้องกันโรค มีเนื้อหาครอบคลุมข้อปฏิบัติ เพื่อความปลอดภัยทางสาธารณสุขขั้นพื้นฐาน ให้สอดคล้องกับความปกติใหม่ในมิติการท่องเที่ยว

ขณะเดียวกัน สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) ได้จัดทำดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบธุรกิจการท่องเที่ยวในประเทศไทย ไตรมาส 2/2563 อยู่ที่ 12 โดยคาดการณ์เดิมอยู่ที่ 62 จาก 200 สะท้อนสถานการณ์ท่องเที่ยวอยู่ในระดับต่ำสุดตั้งแต่ปี 2553 อย่างไรก็ตาม ดัชนีความเชื่อ่มั่นคาดการณ์ ในไตรมาสที่ 3/2563 อยู่ที่ 37 ซึ่งปรับตัวดีขึ้นแต่ก็ยังต่ำกว่าระดับปกติ

ข้อมูลดังกล่าว สอดคล้องกับข้อมูลสถิติการท่องเที่ยวภายในประเทศ ของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พบว่า การท่องเที่ยวภายในประเทศ มีจุดต่ำสุดในไตรมาสที่ 2 ช่วงเดือนเมษายน 2563

ทั้งนี้ การท่องเที่ยวจากไทยเที่ยวไทย กำลังปรับตัวดีขึ้นอย่างช้าๆ จากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว และการควบคุมการระบาดของโรคโควิด-19 ที่มีประสิทธิภาพ

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo