Business

โรงงานอุตสาหกรรม ยกระดับ ‘ความปลอดภัย’ จากความจำเป็น 3 ประการ

โรงงานอุตสาหกรรม จำเป็นต้องพิจารณา 3 ประการ เมื่อต้องยกระดับความปลอดภัย ของโรงงานอุตสาหกรรมให้ทันสมัย โดยเฉพาะ ด้าน “สุขอนามัย” ในยุคโควิด-19

นายฟรีดเฮล์ม เบสท์ รองประธานประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก บริษัท ฮีมา (HIMA) เปิดเผยว่า หลังจากประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชีย เริ่มผ่อนปรนข้อจำกัด และมีการกลับมาดำเนินธุรกิจเพิ่มมากขึ้น ท่ามกลางการระบาดของโควิท-19 ส่งผลให้ โรงงานอุตสาหกรรม ต้องวางแผนกลยุทธ์ ที่จะกลับคืนสู่ภาวะปกติ ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างมากด้วยเช่นกัน

โรงงานอุตสาหกรรม

ทั้งนี้ “สุขอนามัย” กลายเป็นสิ่งสำคัญสูงสุด สำหรับทุกภาคส่วนธุรกิจ รวมถึง โรงงานอุตสาหกรรม เพื่อป้องกันพนักงาน และ ลูกค้าของตนให้ปลอดภัย ผู้ประกอบการโรงงานจำเป็นต้องมั่นใจตลอดเวลา ถึงความปลอดภัยในการทำงาน แม้แต่มาตรการความปลอดภัยใหม่ ที่เกี่ยวข้องกับสุขอนามัยใหม่ ก็จะต้องปฏิบัติตามด้วย

ขณะที่คนงานกลับเข้าสู่โรงงานอุตสาหกรรม เพื่อปฏิบัติงานอีกครั้ง กิจกรรมประจำวัน เช่น การวางแผนปรับปรุงระบบให้ทันสมัย ที่ถูกพักไว้ชั่วคราว ในระหว่างการระบาดครั้งใหญ่ ก็ดำเนินการต่อตามเดิม งานดังกล่าว ต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบ โดยเฉพาะเมื่อมีเรื่องต่อไปนี้เข้ามาเกี่ยวข้อง ได้แก่ การบังคับใช้มาตรฐานอุตสาหกรรมในกระบวนการทำงาน ภาวะที่อาจหยุดทำงานของระบบ และการชักชวนของผู้ให้บริการ

ระบบควบคุมความปลอดภัย (Safety Instrumented System: SIS) ในโรงงาน ต้องเป็นไปตามงานที่วางไว้ คือ ระบบ SIS สามารถติดตามตรวจสอบสภาวะ ที่เป็นอันตรายของหน่วยปฏิบัติงานภายในโรงงาน และสามารถดำเนินการเมื่อเกิดสภาวะที่เป็นอันตราย โดยมี 3 ข่อปฏิบัติ ดังนี้

1. ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน

การปฏิบัติตามมาตรฐาน เป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาอย่างต่อเนื่อง สำหรับผู้ประกอบการโรงงาน ไม่เพียงแต่พิจารณาถึงการปรับปรุง หรือ ปรับเปลี่ยน SIS ให้ทันสมัยเท่านั้น บรรทัดฐานด้านความปลอดภัยในการใช้งาน สามารถให้ความมั่นใจทางกฎหมาย ในกรณีที่เกิดความรับผิด และใช้เป็นแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด ระหว่างวงจรชีวิตของระบบ

นายฟรีดเฮล์ม
ฟรีดเฮล์ม เบสท์

ฟรีดเฮล์ม เบสท์

มาตรฐาน IEC 61511 Edition 2 กำหนดให้ประเมินความเสี่ยง ด้านความปลอดภัยเป็นระยะ พนักงานต้องมีคุณสมบัติเหมาะสม ตลอดวงจรการผลิตของโรงงาน มีการประเมินผลเป็นประจำ และปรับปรุงคุณสมบัติใหม่ รวมถึงการวัดด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ เพื่อระบุช่องโหว่ด้านความปลอดภัยด้วย ข้อมูลดังกล่าว จะช่วยเผยให้เห็นถึงความแตกต่างที่เกิดขึ้นภายในระบบ และเน้นให้เห็นจุดสำคัญ ที่ต้องปรับปรุงให้ทันสมัย

เมื่อการวางแผนปรับเปลี่ยนหรือปรับปรุงระบบ SIS ให้ทันสมัย บริษัทต่างๆ ต้องแน่ใจว่า ฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์ ที่ได้รับการอัพเกรดนั้น เป็นไปตามมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง หากมีข้อขัดแย้งเกิดขึ้นแต่ยังคงมีการติดตั้งระบบอยู่ ก็อาจส่งผลกระทบต่อใบอนุญาตการดำเนินงานของโรงงาน และอาจนำไปสู่บทลงโทษได้

เมื่อมีการใช้เทคโนโลยีใหม่ เช่น ระบบความปลอดภัยที่โปรแกรมได้ ความเสี่ยงและมาตรการใหม่ๆ ก็อาจเข้ามามีบทบาท ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องตรวจสอบ ให้แน่ใจว่าระดับความเสี่ยงได้เปลี่ยน เพราะได้แปลงสภาพหรือการทดแทน

สำหรับบริษัทที่พิสูจน์ว่าระบบ SIS เป็นไปตามมาตรฐาน IEC 61511 ที่ครอบคลุม ทั้งการติดตั้ง และการใช้งานแล้ว ผู้ประกอบการโรงงาน จะต้องจัดเตรียมเอกสารด้านความปลอดภัย และการบำรุงรักษา ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ให้พร้อมเป็นลำดับต่อไป ซึ่งรวมถึงเอกสารประกอบ ที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล และเหตุการณ์ต่างๆ

hima testing facilities

ฮีมา มีคำแนะนำให้ใช้ระบบ ที่มีระดับความสมบูรณ์ของความปลอดภัย (SIL) ระดับ 3 เพื่อทดแทนและติดตั้งระบบตามมาตรฐาน IEC 61511 สิ่งนี้ทำให้มั่นใจได้ว่า ข้อมูลจำเพาะเป็นไปตามที่ควรจะเป็น และการทดสอบการใช้งานของอุปกรณ์ ที่เปลี่ยนแปลงนั้นสามารถทำได้

2. หลีกเลี่ยงภาวะหยุดทำงานเป็นเวลานาน

เมื่อเกิดกระบวนการปรับระบบให้ทันสมัย การหยุดทำงานก็ย่อมเกิดขึ้นได้ และโดยเฉพาะแอพพพลิเคชั่นของอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ และก้าวกระโดด ด้านเทคโนโลยีที่มากขึ้น ส่งผลให้เกิดภาวะหยุดทำงาน ที่ยาวนานยิ่งกว่าเดิม เราขอแนะนำให้ ดำเนินการวางแผนระยะยาวเสมอ โดยใช้ผลิตภัณฑ์ ที่สามารถทำงานร่วมกันได้ พร้อมทั้งเตรียมรับมือ กับการหยุดทำงานของระบบซ้ำแล้วซ้ำเล่าอย่างระมัดระวัง

นอกจากนี้ เพื่อลดระยะเวลาที่ต้องหยุดทำงานให้น้อยลง ผู้ประกอบการควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าเทคโนโลยีที่ใช้งานอยู่มีความทันสมัยตลอดเวลา เวอร์ชั่นที่อัพเดทอาจมาพร้อมการแก้ไขบั๊ก และขยายความสามารถที่เสริมสร้างระบบความปลอดภัยมากขึ้น

เครื่องมือทางวิศวกรรมของฮีมา และระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่ของเราสามารถนำไปปรับใช้ได้โดยไม่ต้องหยุดกระบวนการผลิต หากคุณใช้ระบบที่มีการเชื่อมต่อระหว่างกัน โซลูชันของเราพร้อมให้คุณทดแทนระบบดังกล่าวได้ตลอดเวลาโดยที่ระบบเก่ายังคงสามารถสื่อสารกับระบบใหม่ได้อย่างปลอดภัย

แรงงานพนักงานออฟฟิศ ๒๐๐๘๑๒ 0

3. หาผู้ช่วยที่เหมาะสม

การปรับปรุงระบบให้ทันสมัยจำเป็นต้องอาศัยความเชี่ยวชาญ เมื่อคิดพิจารณาอย่างละเอียดแล้ว พบว่าการสนับสนุนช่วยเหลือที่ได้รับจากวิศวกรและที่ปรึกษาซึ่งมีความเป็นกลางนั้น นำไปสู่โอกาสที่ดีที่สุดของการทำงานที่มีประสิทธิภาพและเป็นไปอย่างราบรื่น

ตัวอย่างเช่น การเริ่มต้นด้วยระบบ SIS: การประเมินผลเป็นระยะๆ แสดงให้เห็นว่าอุปกรณ์ใดที่ยังคงมีการใช้งานอยู่ใช่หรือไม่ คุณทราบไหมว่า มีการใช้งานอุปกรณ์เหล่านั้น นานเท่าไรแล้ว อะไรคือข้อกำหนดสำคัญ และขั้นตอนเริ่มต้น ในกระบวนการบ้าง หากคุณต้องใช้ความพยายาม เพื่อค้นหาคำตอบให้กับคำถามข้างต้น ขอแนะนำว่า ให้ลองขอรับการสนับสนุนจากภายนอก

การค้นหาผู้เชี่ยวชาญ ที่สามารถช่วยเหลือให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้อย่างราบรื่น และทำให้ระบบสามารถทำงานร่วมกันได้ อย่างเหมาะสม ส่งผลให้สถานการณ์ที่ต้องหยุดทำงานนั้น มีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อยมาก จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีบางอย่าง เข้ามาช่วยให้การแก้ปัญหา และการติดตั้งสามารถดำเนินการได้ ผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งช่วยลดระยะเวลา ที่ต้องหยุดทำงานได้เพิ่มเติม

เป็นเวลาหลายปีแล้วที่ภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ได้เดินหน้าเข้าสู่ การแปรรูปกระบวนการทำงานของตน ให้เป็นระบบดิจิทัล ซึ่งการระบาดของไวรัสโคโรนา เป็นเพียงตัวช่วยกระตุ้น ให้เกิดการเคลื่อนไหวเท่านั้น โปรดระลึกไว้เสมอว่า การปฏิบัติตามมาตรฐาน คือ สิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมที่สำคัญ

การดูแลองค์กรธุรกิจ ให้ดำรงอยู่ภายใต้มาตรฐานปัจจุบันทั้งหมด จะช่วยให้คุณพร้อมรับมือ เมื่อต้องดำเนินกระบวนการปรับปรุงระบบให้ทันสมัย และขอแนะนำให้เก็บรวบรวมเอกสารทั้งหมด ที่เกี่ยวข้องกับระบบที่มีอยู่เดิมของคุณ ตลอดจนพัฒนากลยุทธ์ ที่สอดคล้องและเป็นรูปธรรม เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่คุณได้วางไว้

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo