“อาชีพอิสระ” ขึ้นทะเบียน “ประกันสังคม มาตรา 40” ได้ด้วยตัวเองผ่านทางเว็บไซต์ ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปสำนักงาน
นายทศพล กฤตวงศ์วิมาน เลขาธิการ สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงานประกันสังคมได้ปรับปรุงกฎหมายเพื่อขยายอายุของผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2563 ที่ผ่านมา โดยผู้สูงวัยที่มีอายุมากกว่า 60 ปี แต่ไม่เกิน 65 ปีบริบูรณ์ สามารถสมัครขึ้นทะเบียนเป็น ผู้ประกันตนมาตรา 40 ได้
ประกันสังคม มาตรา 40 สำหรับ “อาชีพอิสระ” ขึ้นทะเบียนได้ด้วยตัวเอง
และขณะนี้ได้มีการพัฒนาระบบอิเล็กทรอนิกส์ของสำนักงานประกันสังคม เพื่อให้บริการแก่ผู้สนใจสามารถสมัครขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนผ่านช่องทางเว็บไซต์ของสำนักงานประกันสังคม ซึ่งจะทำให้ประชาชนได้รับความสะดวกสบาย ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางมายังสำนักงานประกันสังคม ดังนี้
- สมัครด้วยตัวเองผ่านโทรศัพท์มือถือ https://www.sso.go.th/section40_regist/ คลิกที่นี่
- สมัครผ่านเครือข่ายประกันสังคม https://www.sso.go.th/m40/ คลิกที่นี่
- สมัครผ่านศูนย์บริการข้อมูลประกันสังคม https://www.sso.go.th/section40_1506/ คลิกที่นี่
ทั้งนี้ การสมัครขึ้นทะเบียนเป็น ผู้ประกันตนมาตรา 40 ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ระบบจะตรวจข้อมูลและคุณสมบัติของผู้ประสงค์จะสมัครเป็นผู้ประกันตนตามเงื่อนไขที่กำหนด ได้แก่
- การพิสูจน์ตัวตน
- การมีอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์และไม่เกิน 65 ปีบริบูรณ์
- ไม่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และมาตรา 39
หากผู้ประสงค์จะสมัครเป็นผู้ประกันตนมีคุณสมบัติไม่ตรงตามเงื่อนไขที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด ก็จะไม่สามารถดำเนินการในขั้นตอนต่อไปในระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้
เลขาธิการสำนักงานประกันสังคมกล่าวต่อไปว่า สำหรับความคุ้มครองและสิทธิประโยชน์ประกันสังคมให้กับ ผู้ประกันตนมาตรา 40 มีทางเลือกความคุ้มครอง 3 ทาง คือ
- ทางเลือกที่ 1 จ่าย 70 บาท คุ้มครอง 3 กรณี ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ และเสียชีวิต
- ทางเลือกที่ 2 จ่าย 100 บาท คุ้มครอง 4 กรณี ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ เสียชีวิต และชราภาพ
- ทางเลือกที่ 3 จ่าย 300 บาท คุ้มครอง 5 กรณี ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ เสียชีวิต ชราภาพ สงเคราะห์บุตร
อ่านเต็ม ๆ สิทธิประโยชน์ “ผู้ประกันตนมาตรา 40”
ผู้ประกันตนในระบบ ประกันสังคม มาตรา 40 คือ ผู้ประกันตนนอกระบบ หรือผู้ประกอบอาชีพอิสระ ที่ไม่มีนายจ้าง โดยการสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 มีทางเลือกในการจ่ายเงินสมทบและการรับสิทธิประโยชน์ 3 ทางเลือก ดังนี้
ทางเลือกที่ 1 จ่ายเงินสมทบ 70 บาทต่อเดือน รับสิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 3 กรณี ได้แก่
- กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย เงินทดแทนการขาดรายได้สูงสุด 300 บาทต่อวัน ไม่เกิน 30 วันต่อปี
- กรณีทุพพลภาพ รับเงินทดแทนการขาดรายได้ 500-1,000 บาทต่อเดือน ไม่เกิน 15 ปี
- กรณีเสียชีวิต ได้รับค่าทำศพ 20,000 บาท และได้เพิ่มอีก 3,000 บาท หากจ่ายเงินสมบทเกิน 60 เดือน
ทางเลือกที่ 2 จ่ายเงินสมทบ 100 บาทต่อเดือน รับสิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 4 กรณี ได้แก่
- กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย เงินทดแทนการขาดรายได้สูงสุด 300 บาทต่อวัน ไม่เกิน 30 วันต่อปี
- กรณีทุพพลภาพ รับเงินทดแทนการขาดรายได้ 500-1,000 บาทต่อเดือน ไม่เกิน 15 ปี
- กรณีเสียชีวิต ค่าทำศพ 20,000 บาท และได้รับเพิ่ม 3,000 บาท หากจ่ายเงินสมทบเกิน 60 เดือน
- กรณีชราภาพ รับบำเหน็จชราภาพ 50 บาทต่อเดือน ออมเพิ่มได้ 1,000 บาทต่อเดือo
ทางเลือกที่ 3 จ่ายเงินสมทบ 300 บาทต่อเดือน ได้รับสิทธิประโยชน์พื้นฐานคุ้มครอง 5 กรณี ได้แก่
- กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย เงินทดแทนการขาดรายได้สูงสุด 300 บาทต่อวัน ไม่เกิน 90 วันต่อปี
- กรณีทุพพลภาพ รับเงินทดแทนการขาดรายได้ 500-1,000 บาทต่อเดือนตลอดชีวิต
- กรณีตาย เงินค่าทำศพ 40,000 บาท
- กรณีชราภาพ รับบำเหน็จชราภาพ 150 บาทต่อเดือน ออมเพิ่มได้ 1,000 บาทต่อเดือน
- กรณีสงเคราะห์บุตร 200 บาทต่อคนต่อเดือน คราวละไม่เกิน 2 คน
อ่านข่าวเพิ่มคลิก
- ‘ประกันสังคม’ แก้กฎหมาย เปิดทางเลือกรับ ‘เงินชราภาพ’ แบบบำเหน็จหรือบำนาญ
- ประกันสังคมผุดไอเดีย! ปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ำ เปิดทางดึง ‘เงินชราภาพ’ ใช้ยามฉุกเฉิน
- ประกันสังคมเผยยื่นใช้สิทธิ์ ‘ว่างงาน’ แล้ว 6 แสนคน คาดปลายปีพุ่งเป็นหลักล้าน