Business

‘ประกันสังคมมาตรา 33’ ได้ 1.5 หมื่นบาทกลางเดือน ส.ค. ไม่ต้องลงทะเบียนเพิ่ม

ผู้ประกันตนมาตรา 33 เกือบ 6 หมื่นราย ที่เข้าข่ายว่างงานตามเงื่อนไขคณะรัฐมนตรี (ครม.) กำลังจะได้รับเงินชดเชยรายได้ จำนวน 5,000 บาท 3 งวด รวมเป็น 15,000 บาท

สำหรับเงื่อนไขในการรับเงินครั้งนี้ ประกอบด้วย 1. ต้องเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 คือ ลูกจ้างที่มีอายุระหว่าง 15-60 ปี และทำงานในสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป หรือเรียกง่ายๆ ว่าเป็น “พนักงานเอกชน”

2. ผู้ประกันมาตรา 33 ดังกล่าวจะต้องเพิ่งว่างงาน และจ่ายเงินสมทบประกันสังคมไม่ถึง 6 เดือน ภายในเวลา 15 เดือนย้อนหลัง ทำให้ไม่เข้าเงื่อนไขการรับเงินทดแทนระหว่างว่างงานจากกองทุนประกันสังคม

นอกจากนี้ ยังไม่เคยได้รับสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานจากเหตุสุดวิสัยโควิด-19 ในสัดส่วน 62% ของค่าจ้างรายวัน และไม่เคยได้รับเงินเยียวยาจากโครงการอื่นๆ ของภาครัฐ เช่น โครงการเราไม่ทิ้งกัน โครงการเยียวยากลุ่มเปราะบาง เป็นต้น

ประกันสังคมมาตรา 33

นางพิศมัย นิธิไพบูลย์ รองเลขาธิการ สำนักงานประกันสังคม (สปส.) กระทรวงแรงงาน ในฐานะโฆษก สปส. เปิดถึงความคืบหน้าของโครงการจ่ายเงินชดเชยดังกล่าวให้ ประกันสังคมมาตรา 33 กับพีพีทีวีออนไลน์ว่า ลูกจ้างที่มีสิทธิ์รับเงินชดเชยรายได้ 15,000 บาทจำนวนเกือบ 6 หมื่นคน ไม่ต้องลงทะเบียนใหม่

“ยืนยันว่าขณะนี้มีข้อมูลและจำนวนผู้ได้รับสิทธิ์ที่แน่ชัดแล้ว ไม่ต้องลงทะเบียนเพิ่ม”

สาเหตุเกิดจากสำนักงานประกันสังคมได้คัดแยกรายชื่อออกมาแล้ว โดยคัดกรองจากกิจการที่มาขึ้นทะเบียนรับรองขอเงินชดเชยให้ลูกจ้างก่อนนี้ แต่ก็มีผู้ประกันตนบางส่วน ซึ่งเป็นส่วนน้อย ที่มีข้อมูลไม่ครบถ้วน ทางสำนักงานประกันสังคมก็จะติดต่อขอข้อมูลกลับไป

โดยเงิน 15,000 บาท จะโอนเข้าบัญชีผู้ประกันตนได้ ไม่เกินกลางเดือนสิงหาคม 2563 สอดคล้องกับที่นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โฆษกกระทรวงการคลัง ให้สัมภาณ์ไว้ก่อนหน้านี้

รถไฟฟ้า85634

สำหรับ ผู้ประกันตนมาตรา 33 ทั่วไปที่ส่งเงินสมทบมากกว่า 6 เดือน สามารถรับเงินทดแทนกรณีว่างงานได้ตามปกติ

โดยล่าสุดรัฐบาลได้เพิ่มสิทธิประโยชน์ทดแทนระหว่างว่างงานแก่ประกันสังคมมาตรา 33 ในกรณีที่ถูกเลิกจ้าง ลาออก หรือสิ้นสุดระยะเวลาการจ้าง เป็นระยะเวลา 2 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2563 ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565 เพื่อรองรับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น

1.ผู้ประกันตนถูกเลิกจ้าง

ผู้ประกันตนจะได้รับเงินว่างงานในอัตรา 70% ของค่าจ้างรายวัน โดยได้รับไม่เกิน 200 วัน ภายในระยะเวลา 1 ปีปฏิทิน จากเดิมจะได้รับเงินทดแทนระหว่างว่างเงินกรณีถูกเลิกจ้างในอัตรา 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย ปีละไม่เกิน 180 วัน

2.ผู้ประกันตนลาออก หรือสิ้นสุดระยะเวลาการจ้าง

ผู้ประกันตนจะได้รับเงินว่างงานในอัตรา 45% ของค่าจ้างรายวัน โดยได้รับไม่เกิน 90 วัน  ภายในระยะเวลา 1 ปีปฏิทิน จากเดิมจะได้รับเงินทดแทนระหว่างว่างงานกรณีลาออกหรือสิ้นสุดสัญญา 30% ของค่าจ้างเฉลี่ย ปีละไม่เกิน 90 วัน

สำหรับกรณีที่ ประกันสังคมมาตรา 33  ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเพราะเหตุตามข้อ 1 หรือเหตุตามข้อ 1 และ 2  เกินหนึ่งครั้งภายในระยะเวลา 1 ปีปฏิทิน ให้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานทุกครั้งรวมกันไม่เกิน 200 วัน

แต่ในกรณีขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเหตุตามข้อ 2 เกินหนึ่งครั้งภายในระยะเวลา 1 ปีปฏิทิน ให้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานทุกครั้งรวมกันไม่เกิน 90 วัน

fig 24 03 2020 03 35 09

สำหรับผู้ประกันตนมาตราอื่น ได้แก่ มาตรา 39 จำนวน 1.7 ล้านราย และมาตรา 40 จำนวน 3.4 ล้านราย แม้จะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานเหมือนมาตรา 33 แต่ก็จะได้สิทธิประโยชน์ด้านอื่นๆ แทน ดังนี้

ผู้ประกันตนมาตรา 39 คือ ผู้ที่เคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 มาก่อน และนำส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน โดยออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่ลาออกจากงาน ปัจจุบันมีผู้ประกันตนในระบบจำนวน 1,737,744 คน

โดยผู้ประกันตนมาตรา 39 จะได้รับความคุ้มครอง 6 กรณี ดังนี้ เจ็บป่วย เสียชีวิต ทุพพลภาพ คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร และชราภาพ

ผู้ประกันตนมาตรา 40 คือ บุคคลทั่วไปที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์และไม่เกิน 65 ปีบริบูรณ์ ทำอาชีพอิสระ ไม่มีนายจ้าง มีผู้ประกันตนในระบบจำนวน 3,374,151 คน

โดยผู้ประกันคนมาตรา 40 จะได้รับความคุ้มครอง 3-4-5 ขึ้นอยู่กับทางเลือก ดังนี้ เงินทดแทนการขาดรายได้ ทุพพลภาพ ชราภาพ (บำเหน็จ) สงเคราะห์ และเสียชีวิต

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo