Business

ต้านไม่ไหว!! พิษโควิด ‘บางกอกแอร์เวย์ส’ เปิด ‘เออร์รี่ รีไทร์’ จ่ายสูงสุด 20 เดือน

พิษโควิด! บางกอกแอร์เวย์ส เปิดเออร์รี่ รีไทร์ จ่ายชดเชย ตามกฎหมาย สูงสุด 20 เดือน ระบุจำเป็นต้อง ปรับโครงสร้าง ให้สอดคล้อง กับจำนวนเที่ยวบิน และเส้นทางบินที่ลดลง  

บางกอกแอร์เวย์ส เปิดเออร์รี่ รีไทร์ หลังจากเกิดการแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) แพร่กระจายไปทั่วโลก กระทั่งส่งผลกระทบ ต่อประชาชนและธุรกิจอย่างกว้างขวาง ในส่วนของธุรกิจมีอยู่จำนวนมาก ที่ต้องเลิกกิจการไป หรือไม่ก็ต้องลดขนาดองค์กรลง เพื่อความกระชับและสอดคล้อง กับภาวะเศรษฐกิจ เช่นเดียวกับกับพนักงานในองค์กร และบริษัทต่างๆทั่วโลก ถูกเลิกจ้างลงจำนวนมาก โดยเฉพาะธุรกิจที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากไวรัสโควิด-19

บางกอกแอร์เวย์ เปิดเออร์รี่ รีไทร์

 

ล่าสุดสายการบิน บางกอกแอร์เวย์ส บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BA ได้ออกประกาศแจ้งพนักงาน โดยระบุว่า บริษัทมีความจำเป็น ต้องปรับโครงสร้างองค์กรให้มีจำนวนบุคลากรในระดับที่เหมาะสม เพื่อให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจ รวมถึงจำนวนเที่ยวบิน และเส้นทางบินที่ลดลง บริษัทจึงเปิด “โครงการร่วมใจจากองค์กรปี 2563” หรือโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนด (Early Retirement) ภายใต้หลักเกณฑ์ดังนี้

บางกอกแอร์เวย์ส เปิดเออร์รี่ รีไทร์ ภายใต้คุณสมบัติ

1. คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ

1.1 พนักงานประจำและพนักงานสัญญาจ้างของบริษัทโดยไม่ จำกัด อายุของพนักงานและอายุการทำงาน

1.2 ต้องเป็นพนักงานที่ปฏิบัติงานในประเทศไทย หรือพนักงานคนไทยที่ได้รับมอบหมาย ให้ไปปฏิบัติงานต่างประเทศเท่านั้น

1.3 ต้องไม่เป็นพนักงานที่ได้รับอนุมัติการลาออก หรือได้รับการพิจารณาเลิกจ้าง ไปก่อนการเปิดรับสมัครโครงการฯ นี้

1.4 ต้องไม่เป็นพนักงานที่มีกำหนดเกษียณอายุ หรือครบกำหนดระยะเวลาสัญญาจ้างในปี 2563

1.5 ต้องไม่อยู่ระหว่างถูกสอบสวนทางวินัย หรือถูกกล่าวหา ว่ากระทำความผิดอาญาต่อ บริษัท

บางกอกแอร์เวย์ เปิดเออร์รี่ รีไทร์

2. หลักเกณฑ์และเงื่อนไข

2.1 บริษัทจะเปิดรับสมัครพนักงานที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการฯ ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 20 กรกฎาคม 2563 (เอกสารใบสมัครตามแนบท้ายประกาศ) โดยใบสมัครนี้สำหรับผู้ต้องการเข้าร่วมโครงการฯ เท่านั้น และเมื่อดำเนินการสมัครแล้วไม่สามารถยกเลิกการสมัครได้

2.2 บริษัทมีดุลพินิจ แต่เพียงผู้เดียวในการพิจารณาพนักงานที่สมัครเข้าร่วมโครงการฯ โดยพนักงานจะได้รับการแจ้งผลการพิจารณาเป็นรายบุคคล และผลการพิจารณาของบริษัท ถือเป็นที่สิ้นสุด

2.3 ในกรณีที่พนักงานมีข้อผูกพันในสัญญาใดของ บริษัทจะนำมาพิจารณาประกอบในคราวเดียวกัน

2.4 บริษัทกำหนดให้พนักงานที่ผ่านการพิจารณาให้เข้าร่วมโครงการฯ มีผลพ้นสภาพจากการเป็นพนักงานในวันที่ 1 สิงหาคม 2563

2.5 พนักงานที่ได้รับอนุมัติให้พ้นสภาพการเป็นพนักงาน ตามโครงการแล้วจะแจ้งยกเลิกใดๆ ไม่ได้

2.6 ในกรณีที่พนักงานเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงาน จะพ้นสภาพการเป็นสมาชิกดังกล่าวทันที่ ที่พ้นสภาพการเป็นพนักงานตามข้อ 2.4

2.7 ข้อปฏิบัติสำหรับพนักงานที่ผ่านการพิจารณาให้เข้าร่วมโครงการฯ

บางกอกแอร์เวย์ เปิดเออร์รี่ รีไทร์

(1) พนักงานต้องไม่นำข้อมูลความลับทางการค้าหรือทางธุรกิจตลอดจนข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าและพนักงานไปใช้หรือเปิดเผย

(2) พนักงานระดับจัดการขึ้นไปต้องไม่ไปทำงานกับคู่แข่งของ บริษัทเป็นเวลา 24 เดือน นับจากวันที่มีผลให้พ้นสภาพตามโครงการฯ เว้นแต่ได้รับความยินยอมจาก บริษัท

(3) ในกรณีพนักงานไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดตามข้อ 2.7 นี้หรือกระทำการใดๆ จนก่อให้เกิดความเสียหาย บริษัทจะดำเนินการทางกฎหมายกับบุคคลนั้นๆ ต่อไป

2.8 ผลประโยชน์ใด ๆ ในโครงการฯ นี้ไม่ถือเป็นบรรทัดฐานและไม่ผูกพันเป็นสภาพการจ้าง

3. ผลประโยชน์ที่ผู้เข้าร่วมโครงการฯ จะได้รับ

3.1 ค่าชดเชยตามกฎหมายคำนวณจากเงินเดือน และเงินได้ประจำเดือนเมษายน 2563

3.2 ค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า คำนวณจากเงินเดือนและเงินได้ประจำเดือนเมษายน 2563

3.3 เงินตอบแทนพิเศษโดย บริษัทคำนวณจากเงินเดือนเดือนเมษายน 2563 เท่านั้น

รายการผลประโยชน์ตอบแทน (ตามข้อ 3.1 ถึง 3.3)

บางกอกแอร์เวย์ เปิดเออร์รี่ รีไทร์

3.4 ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี 2563 คงเหลือตามส่วน

3.5 เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเต็มจำนวนร้อยละ 100 ทั้งส่วนของนายจ้างและลูกจ้าง

3.6 สนับสนุนบัตรโดยสารสำหรับพนักงาน และบุคคลสนิทตามประกาศสำนักผู้อำนวยการใหญ่ที่ 7/2548 และประกาศฝ่ายทรัพยากรบุคคลที่ 10/2550 ข้อกำหนดเกี่ยวกับบัตรโดยสารสำหรับอดีตพนักงาน

(1) พนักงานที่มีอายุงาน 15 ปีขึ้นไป ได้รับการสนับสนุนตามแนวทางประกาศข้างต้น

(2) พนักงานที่มีอายุงานน้อยกว่า 15 ปีจะได้รับการสนับสนุนบัตรโดยสาร เป็นระยะเวลา 2 ปี นับจากวันที่มีผลพ้นสภาพ การเป็นพนักงานบัตรโดยสาร AD0ON2 ในประเทศและต่างประเทศจำนวน 1 ใบต่อปีต่อคนบัตรโดยสาร AD9ON2 ในประเทศและต่างประเทศจำนวน 1 ใบต่อปีต่อคน

3.7 สิทธิประโยชน์ประกันชีวิต-อุบัติเหตุ  และสุขภาพจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2563 แต่ไม่เกินอายุ 65 ปีบริบูรณ์ ทั้งนี้พนักงานจะไม่ได้รับสิทธิส่วนเกินวงเงินประกันสุขภาพในกรณีใช้บริการที่กลุ่มโรงพยาบาล BDMS อีกต่อไป

3.8 หนังสือเลิกจ้าง และหนังสือรับรองการทำงาน เพราะเหตุเข้าร่วมโครงการร่วมใจจากองค์กรปี 2563 เพื่อการขอประโยชน์ทดแทน กรณีว่างงานจากสำนักงานประกันสังคม

3.9 หนังสือรับรองการจ่ายเงินค่าชดเชย เพื่อให้พนักงานที่มีอายุงานเกิน 5 ปี ขึ้นไป ไปใช้ลดหย่อนภาษีเงินได้ ค่าชดเชย ส่วนที่ไม่เกินค่าจ้าง หรือค่าจ้างของการทำงาน 300 วันสุดท้าย แต่ไม่เกิน 300,000 บาท

3.10 การนับจำนวนปีที่ทำงาน เพื่อคำนวณผลประโยชน์เงินตอบแทนพิเศษ ให้นับระยะเวลาตั้งแต่วันที่เข้าทำงานกับ บริษัทจนถึงวันสุดท้าย ของการเป็นพนักงาน (31 กรกฎาคม 2563) หากมีเศษของปีตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป ให้นับเป็น 1 ปี แต่หากน้อยกว่า 6 เดือนจะไม่นำมาคำนวณ

3.11 รายการที่ใช้คำนวณเงินตอบแทนพิเศษ คือเทียบเท่าเงินเดือน โดยใช้อัตราเงินเดือนในเดือนเมษายน 2563 โดยพนักงานที่ได้รับมอบหมาย ให้ไปปฏิบัติงานประจำต่างประเทศให้ใช้ฐานเงินเดือน ที่กำหนดในประเทศไทย เพื่อนำมาคำนวณเงินตอบแทนพิเศษ

บางกอกแอร์เวย์ เปิดเออร์รี่ รีไทร์ 

บางกอกแอร์เวย์ส เปิดเออร์รี่ รีไทร์ ภายใน 20 ก.ค.นี้

4. วิธีดำเนินการ

4.1 พนักงานสามารถ download ใบสมัครเข้าร่วมโครงการร่วมใจจากองค์กรปี 2563 ผ่าน PG Announcement ตั้งแต่วันนี้ จนถึงวันที่ 20 กรกฎาคม 2553

4.2 ยื่นใบสมัครได้ที่ผู้อำนวยการส่วนบริหารทรัพยากรบุคคล อาคารทับวิภาชั้น 16 และให้ส่งสำเนา / รูปถ่ายผ่านทาง email ไปที่ [email protected] โดยผู้สมัครจะต้องกรอกข้อมูล และลงนามให้ครบถ้วน ภายในวันที่ 28 กรกฎาคม 2563

4.3 ผู้สมัครจะได้รับการแจ้งผลการพิจารณาเป็นรายบุคคล เมื่อการพิจารณาสิ้นสุดภายในวันที่ 31 กรกฎาคม 2563

4.4 พนักงานที่ได้รับพิจารณาเข้าร่วมโครงการฯ จะได้รับเช็คภายในวันที่ 10 สิงหาคม 2563

4.5 การเข้าร่วมโครงการฯ นี้จะมีผลสมบูรณ์เมื่อผู้มีอำนาจของ บริษัทได้ลงนามเห็นชอบในใบสมัครของพนักงานครบถ้วน

4.6 บริษัทจะส่งสำเนาใบสมัครที่ได้รับความเห็นชอบดังกล่าวให้พนักงานไว้เป็นหลักฐาน

บางกอกแอร์เวย์ เปิดเออร์รี่ รีไทร์

สายการบินบางกอกแอร์เวย์ส ก่อตั้งโดย นายแพทย์ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ โดยธุรกิจสายการบินได้ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2511 เริ่มจากการจัดตั้งเป็นแผนกการบินของ บริษัท กรุงเทพสหกล จำกัด  มี นายแพทย์ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ เป็นเจ้าของ หลังจากนั้นปี 2527 จึงได้ก่อตั้งบริษัท สหกลแอร์ จำกัด ขึ้น เพื่อรับโอนกิจการต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงแผนกการบินจากบริษัท กรุงเทพสหกล จำกัด และในภายหลัง ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด”

ปัจจุบันมีนายพุฒิพงศ์ ปราสาททองโอสภ เป็นกรรมการผู้อำนวยการใหญ่บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

ขอบคุณภาพ: เฟซบุ๊กBangkok Airways

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo
ทีมบรรณาธิการข่าว The Bangkok Insight