Business

เที่ยวไหนดี คนไทย 60% พร้อมเที่ยวหลังคลายล็อค ไปที่ไหนมากสุดเช็คเลย

เที่ยวไหนดี “ศูนย์วิจัยกสิกรไทย” เผยผลสำรวจคนไทย 60.1% มีแผนที่จะเดินทางท่องเที่ยวในประเทศช่วง 1-3 เดือนหลังคลายล็อก ไปที่ไหนมากสุดเช็คเลย

​​ศูนย์วิจัยกสิกรไทย รายงานว่า จากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ในประเทศที่ดีขึ้น จนหน่วยงานภาครัฐได้ผ่อนคลายมาตรการการเดินทางข้ามจังหวัด ระบบการคมนาคมขนส่ง ท่าอากาศยาน และสถานที่ท่องเที่ยว กลับมาให้บริการ ประกอบกับภาครัฐได้ออกมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศช่วงเดือนกรกฎาคม – ตุลาคม 2563 เพื่อช่วยประคับประคองธุรกิจท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากโควิด-19 นั้น

แจกเงินเที่ยว226633

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้สำรวจแผนเดินทางการท่องเที่ยวของประชาชน พบว่า ผู้ตอบแบบถามราว 47.7% มองว่า มาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยว ขณะเดียวกัน กลุ่มตัวอย่าง 60.1% มีแผนที่จะเดินทางท่องเที่ยวในประเทศในช่วง 1-3 เดือน (หลังการคลายล็อก)

อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจ เที่ยวไหนดี ระบุว่า หลังคลายล็อคคนไทย 69.3% จะไปเที่ยวทะเล ขณะที่ 39.1% จะไปเที่ยวภูเขาและน้ำตก ส่วน 13.4% มีแผนที่จะไปทำบุญ ไหว้พระ

ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ผลของมาตรการภาครัฐ น่าจะทำให้คนไทยตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น และสร้างเม็ดเงินรายได้ส่วนเพิ่มในตลาดไทยเที่ยวไทยอีกราว 41,000 ล้านบาท เมื่อเทียบกับกรณีที่ไม่มีมาตรการฯ

อย่างไรก็ตาม ด้วยกำลังซื้อที่เปราะบาง และความท้าทายของธุรกิจภายใต้สภาวะ New Normal คาดว่า ในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 ตลาดจะยังไม่พลิกกลับมาเป็นบวก เมื่อประกอบกับ ในช่วงครึ่งปีแรกตลาดถูกกระทบอย่างหนัก ภายใต้สมมติฐานที่ไม่มีการระบาดรอบใหม่ที่รุนแรงในไทย

Travel Thai FB220620

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ทั้งปี 2563 คนไทยเดินทางท่องเที่ยวในประเทศน่าจะอยู่ที่ 89.5-91.5 ล้านคน-ครั้ง หรือหดตัว 45.2-46.4% จากปีที่ผ่านมา ขณะที่รายได้จากคนไทยเดินทางท่องเที่ยวในประเทศ น่าจะมีมูลค่า 5.45-5.67 แสนล้านบาท หรือหดตัว 47.5-49.5% เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งเป็นตัวเลขคาดการณ์ที่ดีกว่าที่เคยประเมินไว้

มองไปข้างหน้า ธุรกิจยังต้องเผชิญกับปัจจัยท้าทายหลายประการ ท่ามกลางการแข่งขันที่เข้มข้น ผู้ประกอบการจำเป็นต้องปรับรูปแบบการทำตลาด โดยใช้จังหวะที่ภาครัฐออกมาตรการฯ จัดแพคเกจท่องเที่ยวพิเศษ สำหรับผู้ที่ไม่สามารถลงทะเบียนรับสิทธิ์จากมาตรการของรัฐ หรือการจูงใจให้นักท่องเที่ยวกลับมาใช้บริการอีกครั้ง โดยนำเสนอแพคเกจราคาพิเศษให้ลูกค้ามาใช้บริการในครั้งต่อไป เป็นต้น

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า มาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว ในประเทศของภาครัฐจะส่งผลดีต่อผู้ประกอบการภาคการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการระบาดของโควิด-19 อีกทั้งยังน่าจะมีผลทางจิตวิทยากระตุ้นให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยวและก่อให้เกิดการใช้จ่ายในสถานที่ท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น ส่งผลทางบวกเพิ่มเติมต่อทิศทางตลาดไทยเที่ยวไทยในช่วงที่เหลือของปีนี้

3 มาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวของรัฐบาล​

1. โครงการกำลังใจรัฐบาล สนับสนุนค่าเดินทางของอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) และเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) รวม 1,200,000 คน ให้เดินทางโดยการใช้บริการกับบริษัทนำเที่ยว โดยรัฐจะสนับสนุนไม่เกินคนละ 2,000 บาท สำหรับการเดินทางไม่น้อยกว่า 2 วัน 1 คืน

2. โครงการเที่ยวปันสุข รัฐบาลสนับสนุนการเดินทางของประชาชน จำนวนไม่น้อยกว่า 2 ล้านคน โดยการจำหน่ายบัตรโดยสารของผู้ประกอบการขนส่งด้านการท่องเที่ยว 3 กลุ่ม ได้แก่ สายการบินในประเทศไทย รถขนส่งไม่ประจำทางข้ามจังหวัด และรถเช่าในอัตราร้อยละ 40 แต่ไม่เกิน 1,000 บาท

3. โครงการเราไปเที่ยวกัน รัฐบาลสนับสนุนค่าโรงแรมที่พักในลักษณะร่วมจ่าย (Co-pay) จำนวน 5,000,000 คืน ในอัตราร้อยละ 40 ของค่าห้องพักแต่ไม่เกิน 3,000 บาทต่อคืน และสนับสนุนค่าอาหารและค่าใช้จ่ายสถานที่ท่องเที่ยวที่เข้าร่วมโครงการมูลค่า 600 บาทต่อห้องต่อคืน โดยจะต้องมีที่ตั้งอยู่ในจังหวัดอื่นที่ไม่ใช่จังหวัดในทะเบียนบ้านของประชาชนผู้จองที่พัก

แจกเงินเที่ยว 200618 0002

จากผลสำรวจของศูนย์วิจัยกสิกรไทย พบว่า ผู้ตอบแบบถามประมาณ 47.7% มองว่า มาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวโดยให้ประชาชนลงทะเบียนรับสิทธิ์ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยว ขณะเดียวกันกลุ่มตัวอย่าง 60.1% มีแผนที่จะเดินทางท่องเที่ยวในประเทศในช่วง 1-3 เดือน (หลังการคลายล็อก)

ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่าผลของมาตรการภาครัฐ น่าจะทำให้คนไทยตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น และสร้างเม็ดเงินรายได้ส่วนเพิ่มในตลาดไทยเที่ยวไทยอีกประมาณ 41,000 ล้านบาท เมื่อเทียบกับกรณีที่ไม่มีมาตรการฯ

อย่างไรก็ตาม ด้วยกำลังซื้อที่เปราะบางตามภาวะเศรษฐกิจ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 ตลาดจะยังไม่สามารถพลิกมาเป็นบวก และทำให้ทั้งปี 2563 คนไทยเที่ยวในประเทศน่าจะอยู่ที่ 89.5-91.5 ล้านคน-ครั้ง หรือหดตัว 46.4% ถึงหดตัว 45.2% จากปีที่ผ่านมา ขณะที่รายได้ตลาดไทยเที่ยวไทยน่าจะมีมูลค่า 545,000-567,000 ล้านบาท หรือหดตัว 49.5% ถึงหดตัว 47.5% จากปีที่ผ่านมา ภายใต้สมมติฐานที่ไม่มีการระบาดรอบใหม่ที่รุนแรงในไทย แต่เป็นตัวเลขคาดการณ์ที่ดีกว่าที่เคยประเมินไว้

อ่านข่าวเพิ่มเติม

 

Avatar photo