Business

จับตาบทบาทอาเซียน ‘จุดเปลี่ยน’ หลังโควิด

การระบาดของไวรัสโควิด-19 อาจมีผลต่อทิศทางการเปลี่ยนแปลงของห่วงโซ่อุปทานในอาเซียน หลังจากวิกฤติโควิดคลี่คลาย

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์ว่า การระบาดดังกล่าวตอกย้ำถึงความเปราะบางของห่วงโซ่อุปทานที่มีการพึ่งพาแหล่งผลิตสินค้าขั้นกลางที่กระจุกตัว อีกทั้ง การระบาดดังกล่าวเกิดขึ้นในช่วงเวลาสำคัญที่ภาคธุรกิจกำลังการทบทวนการตัดสินใจย้ายฐานการผลิต ท่ามกลางแรงกดดันจากสงครามการค้าที่ยังคงรอวันประทุ

อาเซียน1

ในภาพรวมประเทศในอาเซียนส่วนใหญ่อาจเผชิญกับความเปราะบางของห่วงโซ่อุปทาน เนื่องจากพึ่งพาการนำเข้าสินค้าขั้นกลางจากแหล่งที่ได้เปรียบด้านต้นทุนการผลิต อาทิ จีน ตลอดจนพึ่งพาเทคโนโลยีจากประเทศต้นน้ำที่เป็นเจ้าของเทคโนโลยีขั้นสูง อาทิ เกาหลีใต้และญี่ปุ่น ซึ่งบ่งชี้ถึงปัจจัยเสี่ยงต่อการชะงักงันของห่วงโซ่การผลิต

ทั้งนี้ แม้ว่าอาเซียนซึ่งเป็นแหล่งการผลิตสินค้าที่สำคัญแหล่งหนึ่งของโลกจะมีศักยภาพในการดึงดูดการย้ายฐานการผลิตออกจากจีน

แต่การเปลี่ยนแปลงของห่วงโซ่อุปทานดังกล่าวยังมีหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นการพิจารณาย้ายฐานกลับ (Reshoring) เพื่อลดความเสี่ยงจากการชะงักงันของห่วงโซ่อุปทาน ปัจจัยด้านต้นทุนการผลิต ตลอดจนการเข้าถึงตลาดปลายทาง ที่ยังคงเป็นน้ำหนักที่ส่งผลต่อการตัดสินใจปรับเปลี่ยนห่วงโซ่การผลิตออกจากจีน

โรงงานจีน

ดังนั้น หากพิจารณาศักยภาพของการผลิตของประเทศในอาเซียนพบว่าอาเซียนอาสามารถผลิตสินค้าขั้นปลายทดแทนจีนได้หลากหลายประเภท ผ่านการพึ่งพาการนำเข้าสินค้าขั้นกลางจากจีนหรือประเทศที่เป็นเจ้าของเทคโนโลยี

ขณะที่การผลิตสินค้าขั้นกลางที่พึ่งพาสินค้าต้นน้ำจากในภูมิภ.าคอาจทำได้เพียงบางหมวดสินค้า อันบ่งชี้ถึงนัยของการพึ่งพาสินค้าขั้นกลางที่อาจไม่ได้เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญมากนัก

Avatar photo