Business

ชงครม.กู้ 7 หมื่นล้าน อุ้มการบินไทยพ้นวิกฤติ – ตั้ง’โฮลดิ้ง’ถือหุ้น 5 บริษัทลูกภายใต้แผนฟื้นฟู

คมนาคมเสนอครม.วันนี้ กู้เงิน 7 หมื่นล้าน โปะการบินไทยฉุดพ้นวิกฤติการเงินชั่วคราว คาดมาจากแบงก์ออมสิน พร้อมขออนุมัติแผนฟื้นฟูการบินไทย ดันตั้ง”โฮลดิ้ง” คลอด 5 บริษัทลูกเร่งหาพันธมิตรร่วมทุน สร้างรายได้แต่ละบริษัท  กำหนดรายได้ขายตั๋วจาก Online สูงกว่า offline เกิน 50% ต้องลดพนักงาน 3 ปี 5,867คน ใช้งบ 8,850 ล้านบาท เฉพาะปีนี้ต้องเลิกจ้าง 1,523 คน 

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่าในการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) วันนี้ (5 พ.ค.) กระทรวงคมนาคมจะเสนอแผนฟื้นฟูธุรกิจปี 2563-2567 ของบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ให้ที่ประชุมพิจารณา แผนฟื้นฟูดังกล่าวได้ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(คนร.) ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานมาแล้ว

ประชุมครม.74633

ในการประชุมครม.วันนี้ นอกจากเสนอแผนฟื้นฟูการบินไทยแล้ว ที่ประชุมจะพิจารณาถึงแผนการกู้เงินจำนวน 70,000 ล้านบาท ให้กับการบินไทย เพื่อเสริมสภาพคล่องโดยกระทรวงการคลัง ค้ำประกันเงินกู้  พร้อมขอความเห็นชอบผ่อนปรนเงื่อนไขการค้ำประกันเงินกู้ของรัฐวิสาหกิจ ปกติแล้วการที่กระทรวงการคลังจะค้ำประกันเงินกู้ได้ รัฐวิสาหกินนั้นๆจะต้องไม่ขาดทุนติดต่อกัน 3 ปี แต่การบินไทยขาดทุนเกิน 3 ปีแล้ว

ส่วนแหล่งเงินทุนที่จะขอกู้ในเบื้องต้นน่าจะเป็นเงินจากธนาคารออมสิน เนื่องจากเป็นธนาคารของรัฐด้วยกัน โดยจะใช้วิธีทยอยเบิกจ่ายออกมา เพื่อให้การบินไทยนำมาใช้จ่ายทั้งในส่วนของการชำระค่าเครื่องบิน เงินเดือนพนักงาน รวมทั้งค่าใช้จ่ายส่วนอื่นๆ ในระหว่างที่แผนฟื้นฟูการบินไทยยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ

แหล่งข่าว กล่าวว่ายังเสนอแผนการจัดตั้งโฮลดิ้ง ขึ้นมา ตามที่คณะทำงานของกระทรวงคมนาคมและกระทรวงการคลัง ได้ดำเนินการมาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนฟื้นฟูการบินไทย โดยภายใต้โฮลดิ้งที่ตั้งขึ้นมาจะมีบริษัทที่อยู่ภายในโฮลดิ้งจะมี 5 บริษัท ประกอบกด้วย

การบินไทย552

1. บริษัท ฝ่ายครัวการบิน (Catering Department)

2. บริษัท บริการภาคพื้น (Ground Service)

3. บริษัท คลังสินค้า (CARGO)

4. บริษัท ฝ่ายช่าง (Technical)

5. บริษัท ไทยสมายล์ แอร์เวย์ จำกัด (Thai Smile) ในส่วนของการบินไทยเป็นเพียง”โฮลดิ้ง”เท่านั้น

การบินไทยเป็นเพียง”โฮลดิ้ง”เท่านั้นหลังจากตั้ง 5 บริษัทลูกขึ้นมา

การเสนอตั้งโฮลดิ้ง ถือเป็นเรื่องสำคัญที่อยู่ภายใต้แผนฟื้นฟูของการบินไทย โดยระหว่างนี้การดำเนินการภายใต้แผนฟื้นฟู ยังต้องใช้เวลาดำเนินการ ทั้งกระทรวงคมนาคมและกระทรวงการคลัง มองว่าต้องหาเงินกู้ให้การบินไทยดำเนินการไปก่อน แต่หากแผนฟื้นฟูสำเร็จโดยเฉพาะในส่วนของการตั้งบริษัทลูกขึ้นมาและหาผู้ร่วมทุนเข้ามาได้ในแต่ละบริษัทได้ จะทำให้มีรายได้เข้ามาทันที

ไทยสมายล์แอร์เวย์

ในส่วนของสายการบินไทยสมายล์  จะทำหน้าที่ให้บริการเส้นทางบินไปก่อน ระหว่างที่การบินไทยดำเนินการไปภายใต้แผนฟื้นฟู  ส่วนเส้นทางการบินระหว่างประเทศการบินไทยน่าจะเปิดทำการบินได้ประมาณปลายปีนี้  เมื่อถึงตอนนั้นแผนฟื้นฟูการบินไทยน่าจะดำเนินการไปได้แล้วระดับหนึ่ง

แหล่งข่าว กล่าวว่าในส่วนของการบินไทยตามแผนฟื้นฟู ได้กำหนด 6 กลยุทธ์ ในการดำเนินการประกอบด้วย

1. กลยุทธ์การปรับปรุงเครือข่ายเส้นทางบิน (Network Strategy)

2. กลยุทธ์การปรับปรุงแผนฝูงบิน (Fleet Strategy)

3. กลยุทธ์ด้านการพาณิชย์ (Commercial Strategy)

4. กลยุทธ์การปรับปรุงการปฎิบัติการและต้นทุน (Operation & Cost Strategy)

5. กลยุทธ์การปรับปรุงโครงสร้างองค์กร (Organization Strategy)

6. กลยุทธ์การจัดการกลุ่มธุรกิจของบริษัท (Portfolio Strategy)

ทั้งนี้ตามแผนฟื้นฟูการบินไทยระบุว่าในส่วนของ การลดขนาดองค์กร (Downsizing) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพต้นทุนและการดำเนินงาน  โดยปรับลดขนาดฝูงบิน ลดแบบเครื่องบิน เครื่องยนต์ ปรับลดเส้นทางบิน เหลือเฉพาะที่ทำกำไร หรือที่มี demand สูง ปรับโครงสร้างองค์กรให้กระชับ การบังคับบัญชารวดเร็ว มีประสทิธิภาพ ปรับลดค่าใช้จ่ายด้านพนักงานให้สอดคล้องกับกำลังการผลิต โดยเทียบเคียงกับอุตสาหกรรมเดียวกัน 

การปฎิรูปองค์กร (Transformation) ปรับกระบวนการด้านรายได้บัตรโดยสาร (ปรับโครงสร้างราคา ช่องทางการจำหน่าย รายได้ขนส่งสินค้าและรายได้สนับสนุนอื่น
รูปแบบการดำเนินธุรกิจ  

tg

การสร้างความสามารถในการทำกำไร (Profitability) การปรับกระบวนการด้านรายได้ จะต้องมีรายได้ช่องทางการจำหน่ายบัตรโดยสารให้มีสัดส่วน Online ต่อ offline มากกว่า 50% รายได้นอกเหนือจากรายได้บัตรโดยสารเพิ่มจาก 20% เป็น 35-40% อัตราเติบโดตรายได้เสริมเป็น 6.7% ของรายได้จากการดำเนินงาน
ผลจากการปรับโครงสร้างและกำลังการผลิต จะช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านการพนักงานอย่างมีนับสำคัญตามกำลังการผลิต ลดแบบเครื่องบินจาก 6 แบบ 7 ชนิดเครื่องยนต์

นอกจากนี้ ภายใต้แผนฟื้นฟูการบินไทย ยังกำหนดกลยุทธ์การปรับปรุงเครือข่ายเส้นทางบิน (Network Strategy)  กลยุทธ์การปรับปรุงแผนฝูงบิน (Fleet Strategy) กลยุทธ์ด้านการพาณิชย์ (Commercial Strategy) กลยุทธ์การปรับปรุงการปฎิบัติการและต้นทุน (Operations & Cost Strategy) กลยุทธ์การปรับปรุงโครงสร้างองค์กร (Organization Strategy) การจัดการกลุ่มธุรกิจของบริษัท (Portfolio Strategy)

ในส่วนของการปรับจำนวนพนักงาน ตามแผนฟื้นฟู การบินไทยเสนอว่า จะทบทวนอัตรากำลังคนเพื่อให้สอดคล้องกับการบริหารประสิทธิภาพต้นทุน และกำลังการผลิตจากจำนวนบุคคลากร ณ วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2563 จำนวน 21,332 คน โดยพิจารณาจากเกณฑ์ในการปรับลดค่าใช้จ่ายด้านพนักงานดังนี้

ปรับจำนวนพนักงานให้สอดคล้องกับจำนวนฝูงบินที่ลดลงและเปรียบเทียบ Productivity กับสายการบินชั้นนำ โดยวิธีการปรัลลด

1. ลดจำนวนพนักงานด้วยความสมัครใจ ตามเกณฑ์ที่บริษัทกำหนด

2. ลดจำนวนพนักงานด้วยเกณฑ์ที่สะท้อนถึงประสิทธิภาพในการปฎิบัติงานของพนักงาน

3. วิเคราะห์อัตรากำลังที่เหมาะสม ภายหลังปรับลดฝูงบินและโครงสร้างองค์กร โดยลดจำนวนพนักงานและรับพนักงานใหม่ทดแทนในสัดส่วนที่เหมาะสม เพื่อให้มีบุคลากรรุ่นใหม่ ที่มีศักยภาพ ได้กำหนดเวลาดำเนินการส่วนนี้ให้แล้วเสร็จภายในไตรมาส 4 ปี 2563

30Apr แผนลดพนังงาน 1

การบินไทย ได้กำหนดการใช้งบประมาณ 8,850 ล้านบาท เพื่อลดพนักงานในประเทศไทย จำนวน 5,867 คน ภายใน 3 ปี  เป็นค่าใช้จ่ายปี 2563 จำนวน 2,549 ล้านบาท (พนักงานในไทย 1,369 คน และต่างประเทศ 154 คน)  

เพื่อให้โครงสร้างเงินเดือน ค่าตอบแทน สิทธิประโยชน์เป็นไป ตามมาตรฐานอุตสาหกรรมประเภทเดียวกัน และจูงใจให้พนักงานปฎิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ ได้รับค่าตอบแทนที่สอดคล้อง Productivity และ Perfomanc   โดยการปรับสิทธิประโยชน์ผลตอบแทนดังนี้

  • ให้พนักงานที่มีรายได้ทั้งหมดรับภาระภาษีเงินได้เอง
  • ทบทวนเกณฑ์และวิธีการคำนวณจ่ายค่าล่วงเวลา (Overtime)
  • ทบทวนเกณฑ์และอัตรค่ายานพาหนะ/ค่าพาหนะเหมาจ่าย
  • ทบทวนสิทธิบัตรผู้โดยสารพนักงานโดยเทียบเคียงกับสายการบินอื่น
  • กำหนดหลักเกณฑ์และอัตราเงินประจำตำแหน่ง
  • ทบทวนวันหยุดนักขัตฤกษ์ วันหยุดพักผ่อนประจำปีและการสะสม
  • ทบทวนประเภทและอัตราเงินเพิ่มพิเศษต่างๆ อาทิ License และอื่นๆ
  • ทบทวนสิทธิประโยชน์สำหรับพนักงานที่ปฎิบัติหน้าที่ประจำต่างประเทศ (Expatriate Staff )
  • ทบทวนสิทธิประโยชน์พนักงานเกษียณอายุ

โดยในส่วนนี้การบินไทยได้กำหนดเวลาแล้วเสร็จ เพื่อนำเสนอขั้นตอนการดำเนินการต่อฝ่ายบริหาร และคณะกรรมการการบินไทยภายในเดือนพฤศจิกายน 2563 โดยงบประมาณที่ใช้เพื่อจูงใจให้พนักงานยอมเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง มารับภาระภาษีเงินได้เองประมาณ 2,480 ล้านบาท การบินไทยยังได้ว่าจ้างที่ปรึกษาดำเนินการเป็นค่าใช้จ่ายประมาณ 50-130 ล้านบาท

Avatar photo