Business

เจาะลึกแผนฟื้นฟูการบินไทย!! 3 ปี เลิกจ้าง 5,867 คน – ดีเดย์ปีนี้ 1,523 คน ปูทางลดขนาดองค์กร

เจาะแผนฟื้นฟูการบินไทย ภายใต้ 3 ยุทธศาสตร์ใหญ่ เริ่มปี 63-67  กำหนดแผน ภายใน 3 ปี เลิกจ้างพนักงาน 5,867 คน ประเดิมปีนี้ 1,523 คน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ พร้อมตั้งงบ 2,480 ล้านบาท เพิ่มแรงจูงใจพนักงานหลังต้องแบกรับภาระจ่ายภาษีเงินได้เอง 

บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) หรือ THAI ได้จัดทำแผนฟื้นฟูธุรกิจปี 2563-2567 เป็นแผนที่เสนอให้กระทรวงคมนาคมและกระทรวงการคลังพิจารณา ก่อนที่จะเสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ประธาน เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2563 พิจารณาโดยการบินไทยได้เสนอแผนฟื้นฟูในส่วนขององค์กรพร้อมเสนอการปรับ แผนการปรับโครงสร้างองค์กรให้กระชับ

การบินไทย9 e1588266974781

โดยระบุว่าปัจจุบันการบินไทยเป็นองค์กรขนาดใหญ่ มีหน่วยงานจำนวนมาก การทำงานไม่เชื่อมต่อกัน (Synergy) จึงต้องจัดโครงสร้างองค์กรรูปแบบใหม่ ที่สอดคล้องกับกระบวนการทำงานใหม่ เป็นโครงสร้างองค์กรที่กระชับ มีสายการบังคับบัญชาสั้น ขนาดของการควบคุมที่เหมาะสมกับรูปแบบการดำเนินธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเทียบเคียงกับสายการบินชั้นนำ จึงได้กำหนดแนวทางดำเนินการดังนี้

1. ปรับกระบวนการทำงานปัจจุบัน โดยปรับลดกิจกรรมที่ซ้ำซ้อน ล่าช้าไม่จำเป็น หรือไม่ก่อให้เกิดคุณค่า (Value) และเป็นการสูญเสีย (Waste)  ควบรวมหน่วยงานที่มีงานซ้ำซ้อน  เพิ่มกระบวนการทำงานที่จำเป็นต่อการดำเนินธุรกิจ และพิจารณากำหนดงานที่สามารถทำแทนด้วยการ Outjob และมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่า

2. ศึกษาและกำหนดช่วงการควบคุม (Span of Control)  ที่เหมาะสมและนำมาใช้กับการปรับโครงสร้างองค์กร

3. ปรับปรุงโครงสร้างองค์กรรูปแบบใหม่ให้สอดคล้องกับกระบวนการทำงาน

4. พิจารณาความเป็นไปได้ในการแบกหน่วยธุรกิจ เพื่อหารายได้อย่างเต็มรูปแบบ ได้แก่ ฝ่ายครัวการบิน (DC) ฝ่ายการพาณิชย์สินค้าและไปรษณีย์ภัณฑ์ (FZ) และฝ่ายช่าง (DT) กำหนดเวลาแล้วเสร็จภายในไตรมาส 4 ของปี 2563

30Apr แผนลดพนังงาน

การปรับจำนวนพนักงานให้สอดคล้องกับกำลังการผลิต การบินไทยเสนอว่า จะทบทวนอัตรากำลังคนเพื่อให้สอดคล้องกับการบริหารประสิทธิภาพต้นทุน และกำลังการผลิตจากจำนวนบุคคลากร ณ วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2563 จำนวน 21,332 คน โดยพิจารณาจากเกณฑ์ในการปรับลดค่าใช้จ่ายด้านพนักงานดังนี้

ปรับจำนวนพนักงานให้สอดคล้องกับจำนวนฝูงบินที่ลดลงและเปรียบเทียบ Productivity กับสายการบินชั้นนำ โดยวิธีการปรัลลด

1. ลดจำนวนพนักงานด้วยความสมัครใจ ตามเกณฑ์ที่บริษัทกำหนด

2. ลดจำนวนพนักงานด้วยเกณฑ์ที่สะท้อนถึงประสิทธิภาพในการปฎิบัติงานของพนักงาน

3. วิเคราะห์อัตรากำลังที่เหมาะสม ภายหลังปรับลดฝูงบินและโครงสร้างองค์กร โดยลดจำนวนพนักงานและรับพนักงานใหม่ทดแทนในสัดส่วนที่เหมาะสม เพื่อให้มีบุคลากรรุ่นใหม่ ที่มีศักยภาพ ได้กำหนดเวลาดำเนินการส่วนนี้ให้แล้วเสร็จภายในไตรมาส 4 ปี 2563

การบินไทย ได้กำหนดการใช้งบประมาณ 8,850 ล้านบาท เพื่อลดพนักงานในประเทศไทย จำนวน 5,867 คน ภายใน 3 ปี  เป็นค่าใช้จ่ายปี 2563 จำนวน 2,549 ล้านบาท (พนักงานในไทย 1,369 คน และต่างประเทศ 154 คน)  

การปรับประสิทธิภาพและค่าตอบแทน

ทั้งนี้เพื่อให้โครงสร้างเงินเดือน ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์เป็นไป ตามมาตรฐานอุตสาหกรรมประเภทเดียวกัน และจูงใจให้พนักงานปฎิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ ได้รับค่าตอบแทนที่สอดคล้องProductivity และ Perfomanc  ส่งผลให้องค์กรสามารถควบคุมต้นทุนในการดำเนินการ โดยการปรับสิทธิประโยชน์ผลตอบแทน

เช็คดอิน

  • ให้พนักงานที่มีรายได้ทั้งหมดรับภาระภาษีเงินได้เอง
  • ทบทวนเกณฑ์และวิธีการคำนวณจ่ายค่าล่วงเวลา (Overtime)
  • ทบทวนเกณฑ์และอัตรค่ายานพาหนะ/ค่าพาหนะเหมาจ่าย
  • ทบทวนสิทธิบัตรผู้โดยสารพนักงานโดยเทียบเคียงกับสายการบินอื่น
  • กำหนดหลักเกณฑ์และอัตราเงินประจำตำแหน่ง
  • ทบทวนวันหยุดนักขัตฤกษ์ วันหยุดพักผ่อนประจำปีและการสะสม
  • ทบทวนประเภทและอัตราเงินเพิ่มพิเศษต่างๆ อาทิ License และอื่นๆ
  • ทบทวนสิทธิประโยชน์สำหรับพนักงานที่ปฎิบัติหน้าที่ประจำต่างประเทศ (Expatriate Staff )
  • ทบทวนสิทธิประโยชน์พนักงานเกษียณอายุ

โดยในส่วนนี้การบินไทยได้กำหนดเวลาแล้วเสร็จ เพื่อนำเสนอขั้นตอนการดำเนินการต่อฝ่ายบริหาร และคณะกรรมการการบินไทยภายในเดือนพฤศจิกายน 2563 โดยงบประมาณที่ใช้เพื่อจูงใจให้พนักงานยอมเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง มารับภาระภาษีเงินได้เองประมาณ 2,480 ล้านบาท การบินไทยยังได้ว่าจ้างที่ปรึกษาดำเนินการเป็นค่าใช้จ่ายประมาณ 50-130 ล้านบาท

Avatar photo