Business

‘ถูกเลิกจ้าง-ตกงาน’ จากสถานการณ์โควิด-19 ‘รัฐ-ประกันสังคม’ ช่วยเหลืออย่างไร?

โดนเลิกจ้างกะทันหัน ประกันสังคมช่วยอะไรบ้าง 

สำหรับคนที่มีสิทธิประกันสังคม จะได้รับเงินช่วยเหลือกรณีว่างงานจากประกันสังคมด้วย หากจ่ายเงินสมทบมาแล้ว 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนการว่างงาน โดยจะต้องรีบไปขึ้นทะเบียนหางาน ณ สำนักจัดหางานของรัฐ ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ถูกเลิกจ้าง และยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานได้ที่สำนักงานประกันสังคม

โดยเงินช่วยเหลือที่ได้รับ จะเป็นเงินทดแทนระหว่างว่างงานปีละไม่เกิน 180 วัน ในอัตรา 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย ซึ่งคำนวณจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท และฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท เช่น เงินเดือน 10,000 บาท จะได้รับเงินช่วยเหลือเดือนละ 5,000 บาท หรือถ้าเรามีเงินเดือนเฉลี่ยสูงกว่า 15,000 บาท ก็จะได้รับเงินช่วยเหลือที่อัตราสูงสุด คือ 7,500 บาท เป็นเวลา 6 เดือน

fig 21 04 2020 04 12 38

ถูกเลิกจ้าง-ตกงานเพราะสถานการณ์โควิด 19 จะได้รับความช่วยเหลืออย่างไรบ้าง?

ในช่วงปี 2563 มีลูกจ้างได้รับผลกระทบจากการเลิกจ้าง หรือหยุดพักงานชั่วคราว เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID-19 จำนวนไม่น้อย ทางภาครัฐจึงให้ความช่วยเหลือ ดังนี้

กรณีเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33

ผู้ประกันตน มาตรา 33 เข้าข่ายกรณีต่อไปนี้ สามารถรับเงินชดเชยรายได้กรณีว่างงานได้
 
1. ลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง
2. ถูกเลิกจ้าง
3. รัฐบาลสั่งปิดกิจการชั่วคราว
4. สัมผัสใกล้ชิดผู้ติดเชื้อหรือเป็นกลุ่มเสี่ยงติดโรคระบาด ต้องกักตัวเอง 14 วันที่บ้านหรือที่โรงพยาบาล
5. นายจ้างไม่สามารถประกอบกิจการได้ เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจ
6. นายจ้างไม่สามารถประกอบกิจการได้ เนื่องจากมีลูกจ้างสุ่มเสี่ยงติดเชื้อ COVID-19
โดยผู้ประกันตนที่ว่างงาน สามารถลงทะเบียนขอรับประโยชน์ทดแทน กรณีว่างงาน ได้ที่นี่
แต่ในกรณีที่หยุดงานเนื่องจากหน่วยงานภาครัฐ/นายจ้างสั่งปิดกิจการชั่วคราว หรือหยุดเนื่องจากต้องกักตัวอันเกิดจากโรคระบาด จะต้องให้นายจ้าง/ผู้ประกอบการเข้ามากรอกข้อมูลยืนยันความถูกต้องว่า ได้มีการสั่งปิดกิจการ หรือเราได้หยุดกักตัวจริง ๆ โดยนายจ้างกรอกข้อมูลได้ที่ แบบฟอร์มรองรับการหยุดงานของลูกจ้าง อันเนื่องจากเหตุสุดวิสัย
20Apr ประกันสังคม
จำนวนเงินชดเชยที่จะได้รับจากกรณีว่างงานด้วยเหตุสุดวิสัย (โควิด 19) มีผลตั้งแต่ 1 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป โดยบังคับใช้เป็นระยะเวลา 2 ปี
กรณีว่างงานด้วยเหตุสุดวิสัย
จากเดิมให้เงินชดเชย 50% ปรับเพิ่มเป็น 62%
  • นายจ้างไม่ให้ทำงาน หรือต้องกักตัว 14 วัน รับเงินกรณีว่างงาน 62% ของค่าจ้าง ไม่เกิน 90 วัน
  • หน่วยงานภาครัฐสั่งหยุดกิจการชั่วคราว รับเงินกรณีว่างงาน 62% ของค่าจ้าง ไม่เกิน 90 วัน
กรณีว่างงานเพราะลาออก หรือถูกเลิกจ้าง
  • ว่างงานจากการลาออก รับเงินกรณีว่างงาน 45% ของค่าจ้าง ไม่เกิน 90 วัน
  • ว่างงานจากการถูกเลิกจ้าง รับเงินกรณีว่างงาน 70% ของค่าจ้าง ไม่เกิน 200 วัน

กรณีเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 และ 40

ไม่ได้รับเงินทดแทนรายได้กรณีว่างงานจากประกันสังคม แต่สามารถลงทะเบียนรับเงินช่วยเหลือจากกระทรวงการคลังได้ที่เว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com โดยหากผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติจะได้รับเงิน 5,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน รวม 15,000 บาท (เมษายน-มิถุนายน 2563)

กรณีเป็นลูกจ้างชั่วคราว แรงงานนอกระบบที่ไม่มีประกันสังคม หรือประกอบอาชีพอิสระ

หากได้รับผลกระทบจากโควิด เช่น นายจ้างเลิกจ้าง ปิดกิจการ สามารถลงทะเบียนรับเงินช่วยเหลือจากกระทรวงการคลังได้ที่เว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com ได้เช่นกัน

คนที่ต้องตกงานแบบไม่ทันตั้งตัว ต้องมีสติ อย่าท้อ และอย่าเพิ่งหมดหวัง ปัญหาทุกอย่างย่อมมีทางออกเสมอ แต่ที่สำคัญต้องมีความอดทน สถานการณ์แบบนี้ไม่รู้ว่ายาวนานแค่ไหน ดังนั้นจึงควรมีการวางแผนอย่างดีในการใช้เงินที่ได้รับเงินค่าชดเชยมาทั้งจากนายจ้าง และประกันสังคม เพื่อประคับประคองตัวเอง และครอบครัวไปให้ได้ จนกว่าจะหางานใหม่ทำได้

Avatar photo
ทีมบรรณาธิการข่าว The Bangkok Insight