Business

‘คมนาคม’ อัดมาตรการอุ้มผู้ประกอบการ ‘บก-ราง-อากาศ’ ช่วงโควิด-19

“คมนาคม” อัดมาตรการอุ้มผู้ประกอบการ “บก-ราง-อากาศ” หลังปริมาณผู้โดยหด ช่วงไวรัสโควิด-19 แพร่ระบาด แก้ปัญหาขาดสภาพคล่อง ปลดพนักงาน

2MOT 2020 ปกค.แถลงข่าวเยียวยาโควิด by PP 171

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม แถลงข่าวมาตรการเยียวยาและช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในส่วนของกระทรวงคมนาคม วันนี้ (15 เม.ย.) ณ ศูนย์แถลงข่าวรัฐบาล ทำเนียบรัฐบาลว่า รัฐบาลได้มีแนวทางการป้องกัน ยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ด้วยการจำกัดและควบคุมการเดินทางของประชาชน โดยเฉพาะในระบบขนส่งสาธารณะ รวมทั้งมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) และการส่งเสริมการทำงานจากที่บ้าน (Work From Home) ส่งผลให้ปริมาณผู้ใช้บริการระบบขนส่งลดลง ผู้ประกอบการด้านคมนาคมขนส่งประสบปัญหาการขาดสภาพคล่องและเกิดการเลิกจ้างแรงงาน

กระทรวงคมนาคมจึงได้มีมาตรการดูแลและเยียวยาผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในทุกรูปแบบการเดินทาง เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถดำเนินกิจการให้บริการด้านคมนาคมขนส่ง ตลอดจนกิจการเชิงพาณิชย์ที่เกี่ยวข้องได้อย่างต่อเนื่อง และไม่เกิดผลกระทบต่อประชาชนผู้ใช้บริการระบบคมนาคมขนส่ง ดังนี้

fig 08 05 2019 08 18 26

1.การลดค่าธรรมเนียมการใช้บริการภายในสนามบิน 28 แห่ง เพื่อเยียวยาและช่วยเหลือผู้ประกอบการภายในสนามบินและสายการบิน ประกอบด้วย ค่าบริการขึ้น – ลงอากาศยาน (Landing charge) ค่าบริการที่เก็บอากาศยาน (Parking charge) ค่าเช่าพื้นที่ภายในสนามบิน ค่าผลประโยชน์ตอบแทนให้กับผู้ประกอบการเชิงพาณิชย์ภายในสนามบิน ค่าบริการการเดินอากาศ (Air navigation service charge) ที่ถูกเรียกเก็บจากผู้ให้บริการการเดินอากาศ และค่าธรรมเนียมการเข้าหรือออกนอกประเทศ (Regulatory fee) ที่เรียกเก็บจากสายการบิน

2.การดูแลและเยียวยาผู้เช่าพื้นที่ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) สำหรับผู้เช่าพื้นที่ที่ถูกสั่งปิดตามประกาศกรุงเทพมหานคร (กทม.) /รัฐบาล ให้ยกเว้นการชำระค่าตอบแทนการใช้พื้นที่ ค่าภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ค่าบริการ และค่าบำรุงรักษาส่วนกลาง เป็นเวลา 2 เดือน หรือพิจารณาขยายระยะเวลาตามสถานการณ์ ส่วนผู้เช่าพื้นที่ที่สามารถดำเนินธุรกิจได้ตามปกติแต่มีผู้ใช้บริการลดลง ให้ลดค่าตอบแทนการใช้พื้นที่ค่าภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ค่าบริการ และค่าบำรุงรักษาส่วนกลาง 50% เป็นเวลา 4 เดือน

3.การช่วยเหลือผู้ประกอบการขนส่งและผู้ประกอบการอาชีพขับรถสาธารณะ ให้พักชำระหนี้ได้ 3 – 6 เดือน และขอขยายเวลาชำระหนี้ออกไปได้ไม่เกิน 96 เดือน สำหรับการคืนเบี้ยประกันภัย/การขยายระยะเวลาคุ้มครอง ผู้ประกอบการขนส่งสามารถขอรับเบี้ยประกันภัยคืน โดยการแจ้งหยุดใช้รถไม่น้อยกว่า 30 วัน หรือนำเบี้ยประกันภัยที่ได้รับมาขยายระยะเวลาคุ้มครองตามกรมธรรม์ได้

Avatar photo