Business

‘กระทรวงท่องเที่ยวฯ’ แจงมาตรการช่วย ‘ผู้บริโภค’ ท่ามกลางวิกฤติ ‘ไวรัสโควิด-19’

กระทรวงการท่องเที่ยวฯ แจงมาตรการการจัดการปัญหาการเลื่อน หรือยกเลิก ทัวร์และตั๋วเครื่องบินในสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19

ผู้บริโภคหลายรายมีปัญหาเกี่ยวกับ การเลื่อนหรือยกเลิกทัวร์และบัตรโดยสารเครื่องบิน ที่จะเดินทางไปยังประเทศกลุ่มเสี่ยงไวรัสโควิด -19  โดยปัญหาดังกล่าวมีทั้งกรณีที่ ผู้เสียหายติดต่อกับสายการบิน หรือบริษัททัวร์โดยตรง และกรณีที่ซื้อตั๋วเครื่องบินรวมทั้งจองที่พักผ่านบริษัทเอเจนซี่

จากกรณีที่ กระทรวงสาธารณสุข ได้แถลงความคืบหน้าสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด- 19 ที่สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2563 ว่าควรงดเดินทางไปในประเทศที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงในช่วงนี้โดยเด็ดขาด ประกอบด้วย จีน ฮ่องกง มาเก๊า ไต้หวัน สิงคโปร์ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อิตาลี และ อิหร่าน  กลุ่มนี้เป็นประเทศที่มีการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ภายในประเทศอย่างรวดเร็ว ทำให้ นักท่องเที่ยวที่ซื้อทัวร์ไว้ก่อนแล้ว เกิดความวิตกกังวล ประสงค์ที่จะงดการเดินทาง ไปท่องเที่ยวยังต่างประเทศ จึงได้ยื่นเรื่องร้องเรียนต่อกรมการท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก เพื่อเรียกร้องขอเงินค่าบริการนำเที่ยวคืนจากผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยว หรือขอเลื่อนการเดินทาง

89024207 787247015103276 5302139463374209024 n

จากกรณีนักท่องเที่ยว ที่ไม่ประสงค์จะออกเดินทางไปยังต่างประเทศ ที่มีความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด- 19 อาทิ ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้, จอร์เจีย และอีกหลายประเทศ แต่ผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวปฏิเสธไม่คืนเงินค่าบริการนำเที่ยว หรือ คืนค่าบริการนำเที่ยวให้บางส่วน สร้างความไม่พอใจแก่นักท่องเที่ยว หรือไม่ให้นักท่องเที่ยวเลื่อนการเดินทาง โดยอ้างว่าผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวมีค่าใช้จ่าย ในการบริการนำเที่ยวต่างๆ โดยเฉพาะตั๋วโดยสารเครื่องบิน ซึ่งสายการบินมีเงื่อนไขต่างๆ ที่ไม่อาจคืนเงิน ค่าบัตรโดยสารเครื่องบินให้ได้ ทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องในภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเกี่ยวพันเป็นลูกโซ่

เรื่องดังกล่าวได้มีการหารือร่วกับ กรมการกงสุล, กรมท่าอากาศยาน, กรมควบคุมโรค, สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค, กองบัญชาการตำรวจท่องเที่ยว, สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, สมาคมไทยบริการท่องเที่ยว, สมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว, บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน), บริษัท สายการบินนกแอร์ จำกัด (มหาชน) และตัวแทนผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยว ส่วนบริษัท สายการบิน นกสกู๊ต จำกัด บริษัท ไทยแอร์เอเชีย จำกัด บริษัท ไทยแอร์เอเชีย เอ็กซ์ จำกัด และบริษัท สายการบินญี่ปุ่น จำกัด (มหาชน) ได้รับหนังสือเชิญ แต่ไม่ได้ส่งผู้แทนเข้าร่วม

โดยกรมการท่องเที่ยว ได้แจ้งให้นักท่องเที่ยวทราบถึง หลักเกณฑ์การขอรับเงินคืน จากผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยว กรณีที่ไม่ประสงค์จะเดินทาง เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นให้กับนักท่องเที่ยว และผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว โดยได้มีมาตรการและแนวทาง การแก้ไขปัญหาเป็น 2 ระยะ

ท่องเที่ยว

1. ระยะเร่งด่วน

บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) พิจารณาให้มีมาตรการการผ่อนผัน กรณีขอเลื่อนกำหนดการบิน สามารถเลื่อนได้ไปจนถึงสิ้นเดือนกันยายน 2563 โดยไม่มีค่าใช้จ่าย แต่หาก นักท่องเที่ยว หรือบริษัททัวร์มีความจำเป็นต้องเลื่อนต่อไปอีก จะเลื่อนได้ไม่เกินวันที่ 15 ธันวาคม 2563 และจะต้องพิจารณาว่า เป็นการเลื่อนในเส้นทางเดียวกันหรือไม่ หากเปลี่ยนเส้นทางอาจมีค่าใช้จ่ายส่วนต่างเพิ่ม

บริษัท สายการบินนกแอร์ จำกัด (มหาชน) แบ่งกลุ่มบัตรโดยสารเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มบัตรโดยสารแบบซีรีย์ ซึ่ง บริษัททัวร์ได้วางมัดจำบัตรโดยสารเครื่องบินตลอดทั้งปี (แบบระยะยาว) ใน เส้นทางญี่ปุ่น ทางสายการบินนกแอร์จะพิจารณามาตรการยกเลิกค่าธรรมเนียมให้ แต่ยังคงเก็บค่าส่วนต่างที่เกิดขึ้น และกลุ่มบัตรโดยสารแบบกลุ่ม สามารถนำไปใช้ในภายหลังได้ (ภายในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี) เพื่อให้บริษัททัวร์ มีระยะเวลาและความคล่องตัวในการจัดการธุรกิจ

กรมท่าอากาศยาน พิจารณาเสนอ มาตรการในการปรับลดค่าบริการในการขึ้นลงของอากาศยาน แก่สายการบินในช่วงภาวะวิกฤตนี้ รวมถึง เสนอให้ปรับลดค่าเช่าของผู้ประกอบการรถเช่าที่ใช้พื้นที่ของสนามบิน เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ

 กรมการท่องเที่ยว จะตั้ง ศูนย์ประสานการแก้ไขปัญหา ร่วมกับ กองบัญชาการตำรวจท่องเที่ยว และสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ข้อมูลแก่นักท่องเที่ยว กรณีนักท่องเที่ยวเรียกร้องขอเงินค่าบริการนำเที่ยวคืนจากบริษัททัวร์

2. ระยะปานกลาง

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ทบทวน กฎระเบียบและหลักเกณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเพิ่มเติมรายละเอียดการประกันภัยแก่นักท่องเที่ยว โดยให้คุ้มครองการยกเลิกการเดินทางท่องเที่ยวเนื่องจากกรณีภาวะวิกฤติต่างๆ รวมถึงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด -19 เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้รับความคุ้มครอง และลดความเสียหายต่อทุกภาคส่วนในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว

เมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดดีขึ้น กรมการท่องเที่ยว และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะร่วมหารือแนวทาง เพื่อเยียวยาและแก้ไขปัญหาให้กับกลุ่มผู้ประกอบการต่อไป

นอกจากนี้ ยังมีมาตรการในการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโควิด -19 เพื่อลดโอกาสการแพร่เชื้อเข้าสู่ประเทศไทย โดยกรมการท่องเที่ยวจะขอความร่วมมือไปยังผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว การงดการจำหน่ายรายการนำเที่ยวไปยังต่างประเทศ (Outbound) ในช่วงเวลานี้ และเป็นตัวกลางในการเจรจา ระหว่างผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว ที่ได้ขายรายการนำเที่ยวไปยังต่างประเทศในช่วงเวลานี้ กับนักท่องเที่ยวที่ได้ซื้อรายการนำเที่ยวว   

Avatar photo
ทีมบรรณาธิการข่าว The Bangkok Insight