Business

ลุ้น! ฝ่ายกฎหมาย EEC ฟันธง ‘NCP’ ตกคุณสมบัติประมูล ‘แหลมฉบังเฟส 3’ หรือไม่

บ่ายนี้ “ฝ่ายกฎหมายอีอีซี” นัดประชุมฟันธง “NCP” ตกคุณสมบัติประมูล “ท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3” หรือไม่ พร้อมยืนยันการประมูลโปร่งใส พิจารณาตามตัวหนังสือ ไม่มีข้ามขั้นตอน

IMG 1744
เรือโทกมลศักดิ์ พรหมประยูร โชว์เอกสารคัดเลือกเอกชน (RFP) ประกอบการแถลงข่าวชี้แจง

เรือโทกมลศักดิ์ พรหมประยูร ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) ในฐานะประธานกรรมการคัดเลือกโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังเฟสที่ 3 ท่าเรือ F วงเงินลงทุนกว่า 8.4 หมื่นล้านบาท เปิดเผยระหว่างงานแถลงข่าวชี้แจงความคืบหน้าของการประมูลโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังเฟสที่ 3 วันนี้ (17 พ.ค.) ว่า

ในเวลา 14.30 น. วันนี้ ฝ่ายกฎหมายของเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ที่มีนายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธาน จะดำเนินการพิจารณากรณีที่คณะกรรมการคัดเลือกฯ ตัดสิทธิ์กลุ่มกิจการร่วมค้า NCP ออกจากการประมูล เพราะกลุ่มกิจการร่วมค้า NCP ไม่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาข้อเสนอซองที่ 2 ด้านคุณสมบัติ

ถ้าฝ่ายกฎหมายของ EEC เห็นว่าควรตัดสิทธิ์กลุ่มกิจการร่วมค้า NPC ตามที่คณะกรรมการคัดเลือกฯ เสนอ ก็จะดำเนินการตัดสิทธิ์อย่างเป็นทางการและจะรายงานให้ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) รับทราบในวันที่ 27 พฤษภาคม 2562 ต่อไป รวมถึงจะดำเนินการประมูลตามขั้นตอนต่อไปด้วย

แต่หากฝ่ายกฎหมายของ EEC เห็นว่าไม่ควรตัดสิทธิ์กลุ่มกิจการร่วมค้า NPC คณะกรรมการคัดเลือกฯ ก็ต้องทบทวนกระบวนการใหม่ทั้งหมด โดยจะกลับไปพิจารณาข้อเสนอของกลุ่มกิจการร่วมค้า NPC ในซองที่ 2 ,ซองที่ 3 ด้านเทคนิค และซองที่ 4 ด้านผลประโยชน์ตอนแทนตามลำดับ ซึ่งก็จะทำให้ระยะเวลาพิจารณาผลประมูลต้องยืดออกไปอีก

IMG 1751

สำหรับสาเหตุที่คณะกรรมการคัดเลือกฯ พิจารณาให้กลุ่มกิจการร่วมค้า NCP ไม่ผ่านเกณฑ์ข้อเสนอซองที่ 2  และพิจารณายืนยันการตัดสิทธิ์อีกครั้งในวันที่ 7 พฤษภาคม 2562 แม้ว่ากลุ่มกิจการร่วมค้า NCP จะยืนอุทรณ์นั้น

นายกมลศักดิ์ ชี้แจงเหตุผลว่า คณะกรรมการคัดเลือกฯ ได้พิจาณาแล้วว่า ในข้อเสนอซองที่ 2 ของกลุ่มกิจการร่วมค้า NCP มีการลงนาม “สัญญากิจการร่วมค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลใหม่” ไม่ครบถ้วนและไม่ถูกต้อง ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในเอกสารคัดเลือกเอกชน (RFP) ซึ่งสัญญาดังกล่าวถือเป็นสาระสำคัญ เพราะเป็นเอกสารที่แสดงว่า “สมาชิกของกิจการร่วมค้าจะร่วมกันและแทนกันรับผิดอย่างหนี้ร่วม” จึงมีผลอย่างมาก ถ้าหากเกิดคดีฟ้องร้องระหว่างการท่าเรือฯ และเอกชนในอนาคต

ทั้งนี้ ยืนยันว่าการประมูลโครงการท่าเรือแหลมฉบังเฟสที่ 3 เป็นไปอย่างโปร่งใส รอบคอบ และยึดประโยชน์ของประเทศชาติเป็นหลัก เพราะเป็นโครงการที่มีความสำคัญต่อประเทศและการท่าเรือฯ ก็ต้องร่วมลงทุนด้วยถึง 5 หมื่นล้านบาท

ในการประชุมคณะกรรมการคัดเลือกฯ ทุกครั้งจะมีองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ACT) และหน่วยงานที่ 3 ร่วมประชุมด้วย ซึ่งการพิจารณาข้อเสนอของเอกชน ก็เป็นการพิจารณาตามข้อเท็จจริงและยึดตามข้อความใน RFP เป็นหลักเกณฑ์อย่างชัดเจน ไม่ได้ใช้ดุลพินิจหรือข้ามขั้นตอนแต่อย่างใด

ด้านกรณีที่กลุ่มกิจการร่วมค้า NPC ฟ้องร้องต่อศาลปกครองในกรณีที่ถูกตัดสิทธิ์นั้น ล่าสุดศาลปกครองกลางก็พิจารณาไม่รับฟ้องและจำหน่ายคดีออกจากสารระบบแล้ว ส่วนกรณีที่ผู้ตรวจการแผ่นดินมีความเห็นว่าไม่ควรตัดสิทธิ์กลุ่มกิจการร่วมค้า NPC นั้น คณะกรรมการคัดเลือกฯ ก็ได้ชี้แจงข้อมูลกับผู้ตรวจการแผ่นดินแล้ว และเมื่อเรื่องเข้าสู่กระบวนการของศาล ผู้ตรวจการแผ่นดินก็มีไม่อำนาจในการพิจารณาเรื่องนี้อีก

ท่าเรือแหลมฉบัง

นายกมลศักดิ์ กล่าวถึงความคืบหน้าของการพิจารณาข้อเสนอว่า ล่าสุดคณะกรรมการคัดเลือกฯ ได้เปิดข้อเสนอซองที่ 4 ของกลุ่มกิจการร่วมค้า GPC แล้ว โดยเชิญให้กลุ่มกิจการร่วมค้า GPC เข้ามาชี้แจงโมเดลและวิธีการคิดทางการเงินในวันนี้ (17 พ.ค.) เพื่อให้คณะกรรมการคัดเลือกฯ เข้าใจรายละเอียดของข้อเสนอมากขึ้น แต่คณะกรรมการคัดเลือกฯ ยังไม่ได้เริ่มกระบวนการเจรจาผลประโยชน์ตอบแทนกับกลุ่มกิจการร่วมค้า GPC เนื่องจากต้องรอความชัดเจนเรื่องการพิจาณาตัดสิทธิ์กลุ่มกิจการร่วมค้า NPC จากฝ่ายกฎหมายของ EEC ก่อน

สำหรับกรณีที่มีกระแสข่าวว่า ข้อเสนอซองที่ 4 ของกลุ่มกิจการร่วมค้า NPC เสนอผลประโยชน์ตอบแทนมากกว่ากลุ่ม GPC นั้น นายกมลศักดิ์กล่าวปฏิเสธเรื่องดังกล่าว โดยระบุว่าไม่ใครทราบข้อเสนอซองที่ 4 ของกลุ่มกิจการร่วมค้า NPC นอกจากผู้ยื่นข้อเสนอเอง เนื่องจากข้อเสนอซองที่ 4  ของกลุ่มกิจการร่วมค้า NPC ยังไม่ถูกเปิดและปัจจุบันถูกเก็บไว้ในตู้นิรภัยที่มีกล้องวงจรกปิดติดตาม 24 ชั่วโมง ถ้าหากมีการเปิดซองข้อเสนอ ก็ต้องมีผู้ไขกุญแจตู้นิรภัยพร้อมกัน 2 คน มีการบันทึกวิดีโอ และเชิญผู้ยื่นข้อเสนอเข้ามาตรวจสอบความเรียบร้อยของเอกสารด้วยทุกครั้ง

ผู้สื่อข่าวรายงาว่า การท่าเรือฯ ได้เปิดให้เอกชยื่ซองประมูลโครงการพัฒาท่าเรือแหลมฉบังเฟสที่ 3 เมื่อวัที่ 29 มีาคม 2562 ที่ผ่ามาและมีผู้เข้าประมูล 2 กลุ่ม ได้แก่  

1. กลุ่มกิจการร่วมค้า GPC ซึ่งประกอบด้วยบริษัท พีทีที แทงค์ เทอร์มิัล จำกัด ใเครือ ปตท., บริษัท กัลฟ์ เอ็อร์จี ดีเวลลอปเม้ท์ จำกัด (มหาช) หรือ GULF, บริษัท China Harbour Engineering Commpany Limited (CHEC) จากประเทศจี

2. กลุ่มกิจการร่วมค้า NPC ซึ่งประกอบด้วยบริษัท แอสโซซิเอท อิฟิิตี้ จำกัดบริษัท ลิ จำกัดบริษัท พริมา มารี จำกัด (มหาช) หรือ PRM, บริษัท พีเอชเอส ออแกิค ฮิลลิ่ง จำกัด และ China Railway Construction Corporation Limmited (CRCC) จากประเทศจี

 

Avatar photo