Business

เปิดเอกสารหารือ!! สรรพากรปรับวิธีรีดภาษีดบ.ฝาก-แบงก์หารือต่อที่บางกอกคลับจันทร์นี้

เปิดข้อหารือ”แบงก์-สรรพากร” ก่อนยอมถอยเลิกใช้ประกาศอธิบดีฉบับที่ 344 เก็บภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก 15% ขณะสมาคมแบงก์นัดประชุมต่อจันทร์นี้ ที่บางกอกคลับ หวั่น 80 ล้านบัญชี ได้รับผลกระทบ  

วันนี้ (26 เม.ย.) นางสาวชุลีพร น่วมทนง รองเลขาธิการปฎิบัติการแทนเลขาธิการสมาคมธนาคารไทย ทำหนังสือถึงกรรมการผู้จัดการธนาคารสมาชิก โดยระบุว่าตามที่ธนาคารสามชิก สมาคมธนาคารไทย ได้มีการหารือกับกรมสรรพากรเรื่องการแก้ไขประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฉบับที่ 334 เกี่ยวกับภาษีเงินได้ดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ ซึ่งยังมีประเด็นสำคัญที่ธนาคารสมาชิกต้องพิจารณาร่วมกัน และต้องแจ้งผลให้สรรพากรทราบโดยเร็วที่สุด

ประธานสมาคมธนาคารไทย จึงขอเชิญกรรมการผู้จัดการ หรือผู้แทนเข้าร่วมประชุมเพื่อหารือเรื่องดังกล่าว วันที่ 29 เมษายน 2560  ณ ห้องประชุมโคฮากุ ชั้น 29 บางกอกคลับ ถนนสาธรใต้

จากเอกสารสรุปการประชุมเพื่อหารือเรื่องแก้ไขตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 344) วันที่ 25 เมษายน 2562 ระบุว่า ในการประชุมพิจารณาแนวทางการแก้ไขประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 344)  โดยกรมได้เชิญผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เข้าร่วมให้ความคิดเห็น ซึ่งกรมได้นำเสนอ “ร่างประกาศ” ที่กรมจะแก้ไขให้ที่ประชุมพิจารณา

S 2023435355

เปรียบเทียบข้อความการแก้ไขประกาศอธิบดีฉบับ 344 และประกาศฉบับใหม่ ที่กรมเสนอต่อที่ประชุมพิจารณาแก้ไขใหม่ ดังนี้

 

สรรพากร333

สรรพากร22 1

ในที่ประชุมมีธนาคารสมาชิกรายหนึ่งมีประเด็นคำถามเรื่องอำนาจของกรมในการให้ธนาคารส่งข้อมูล และหากธนาคารใดไม่ประสงค์นำส่งข้อมูลสามารถทำได้หรือไม่  กรมแจ้งว่า หากธนาคารใดธนาคารหนึ่งไม่ นำส่งข้อมูลให้กรม ก็สามารถทำได้เป็นการตัดสินใจของธนาคารนั้น แต่ผู้ฝากเงินก็จะเสียสิทธิ และหากผู้ฝากเงิน เสียสิทธิประโยชน์ทางภาษี ผู้ฝากเงินก็อาจฟ้องร้องธนาคารได้

ในส่วนของ ธปท. ให้ความเห็นว่า หากกรมมีฐานอำนาจที่สามารถสั่งการให้ธนาคารส่งข้อมูลลูกค้า ก็สามารถทำได้ ธปท. เห็นว่าการที่ธนาคารส่งข้อมูลให้กรมไม่ได้ล้ำสิทธิของประชาชน 

2. เปรียบเทียบประเด็นปัญหา ข้อดี/ข้อเสีย ผลกระทบระหว่างประกาศฉบับที่ 344 กับ ประกาศที่ กรมกำลังจะแก้ไข ซึ่งที่ประชุมมีข้อสรุปดังนี้

2.1 ประกาศฉบับที่ 344

ประเด็นปัญหา/ข้อเสีย

1. ลูกค้าต้องมาให้ความยินยอมกับธนาคารทุกราย/ทุกธนาคาร มีผลกระทบต่อบัญชีลูกค้า ประมาณ (80 ล้านบัญชี) ซึ่งธนาคารต้องส่งข้อมูลงวดแรกให้กรมสรรพากรในวันที่ 20 พฤษภาคม 2562 หากลูกค้าไม่ มาให้ความยินยอมลูกค้าจะเสียสิทธิทางภาษี

2. ธนาคารยังไม่มีระบบรองรับใน ดำเนินการรับหนังสือความยินยอมจากลูกค้า และถ้าลูกค้ามา ลงนามให้ความยินยอมแต่ธนาคารดำเนินการไม่ทัน ทำให้ลูกค้าเสียสิทธิ ลูกค้าอาจร้องเรียน/ฟ้องร้องธนาคารได้

3. ธนาคารต้องจัดเก็บหนังสือให้ความยินยอมไว้ เพื่อให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบ

4. ธนาคารต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้ ลูกค้าทุกคน/ทุกครั้งที่จ่ายภาษี

5.หากลูกค้าให้ความยินยอมภายใต้ประกาศฉบับนี้ เมื่อ พ.ร.บ.ข้อมูลส่วนบุคคลมีผลบังคับใช้ ลูกค้าก็ต้องให้ความยินยอมใหม่ ทำให้ธนาคาร/ลูกค้ามีภาระในการปฏิบัติงานเป็น 2 เท่า

6. ลูกค้าที่ไม่รู้ข่าวสาร ไม่ได้มาให้ความยินยอม จะเสียสิทธิยกเว้นภาษี ลูกค้าบางรายอาจยกขึ้น มาโต้งแย้งได้ว่า ธนาคารไม่ได้ติดต่อลูกค้าให้มาให้ความยินยอม

7. ปัญหาด้านสถานการณ์ เนื่องจากสื่อมวลชนนำเสนอข่าวอย่างต่อเนื่อง ว่ากรมกำลังพิจารณา แก้ไขประกาศ เพื่อลดผลกระทบต่อประชาชนส่วนใหญ่ หากธนาคารยืนยันว่าควรใช้ประกาศฉบับนี้ ธนาคารจะถูกมองว่าไม่ยืนเคียงข้างประชาชนส่วนใหญ่ และผู้ฝากเงินอาจเคลื่อนย้ายเงินฝากไปยังธนาคารออมสินและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ. ก.ส.) หรือ สหกรณ์ออมทรัพย์ เพราะได้รับยกเว้นภาษี

S 1136251199

ข้อดี

1. ธนาคารไม่มีความเสี่ยงด้านกฎหมายในเรื่องการเปิดเผยข้อมูลให้กรมสรรพากร

2. บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ทุกประเภทได้รับยกเว้นภาษีเมื่อเทียบกับ ประกาศเดิมฉบับที่ 55

2.2 ประกาศที่กรมจะแก้ไข (ฉ.34X)

ประเด็นปัญหา/ข้อเสีย

1. ธนาคารมีความเสี่ยงในการนำส่งข้อมูลดอกเบี้ยให้กรมสรรพากร เนื่องจากชมรมนักกฎหมายมี ความเห็นว่า กรมฯ ไม่มีอำนาจให้ธนาคารนำส่งข้อมูลให้กรมฯ การที่ธนาคารนำส่งข้อมูลให้กรมฯ อาจไม่เป็นไป ตามพ.ร.บ.สถาบันการเงิน มาตรา 155 และอาจถูกลูกค้าฟ้องร้องได้ตาม ป.พ.พ.หรือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

ข้อดี

1. ลูกค้าทั้งหมดไม่ต้องมาให้ความยินยอมกับธนาคาร ทำให้ไม่มีผลกระทบกับลูกค้าส่วนใหญ่ของธนาคาร ลดปัญหาในการรับมือกับลูกค้าส่วนใหญ่

2. ลดภาระทั้งด้านระบบงาน บุคลากร ที่จะต้องเตรียมการเพื่อให้ลูกค้าให้ความยินยอม

3. ลดปัญหากรณีที่ธนาคารไม่พร้อมให้ลูกค้ามาลงนามให้ความยินยอม หรือดำเนินการไม่ทัน ทำให้ลูกค้าเสียสิทธิ ลูกค้าอาจร้องเรียน/ฟ้องร้องธนาคารได้

4. ลดปัญหาในจัดเก็บหนังสือให้ความยินยอมไว้เพื่อให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบ

5. ลดปัญหาในออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้ ลูกค้าทุกคน/ทุกครั้งที่จ่ายภาษี

6. ลูกค้าที่มาแจ้งความประสงค์ไม่ให้ธนาคาร นำส่งข้อมูลให้กรม น่าจะมีจำนวนจำกัดมาก ซึ่งธนาคารสามารถรับมือได้

7. ธนาคารและลูกค้าไม่มีภาระในการทำหนังสือให้ความยินยอมภายใต้ประกาศฉบับนี้ เมื่อพ.ร.บ.ข้อมูลส่วนบุคคลมีผลบังคับใช้ ธนาคารก็สามารถออกแบบหนังสือให้ ความยินยอมให้ครอบคลุมถึงกรณี การส่งข้อมูลดอกเบี้ยให้กรมสรรพากรได้

8. ภายใต้สถานการณ์ที่สื่อนำเสนอข่าวอย่างต่อเนื่อง ธนาคารจะได้ภาพลักษณ์ที่ดีในการพยายาม ช่วยหาทางออกให้กับประชาชน

สรรพากร22

ข้อสรุปของที่ประชุม

1. ที่ประชุมเห็นว่าการที่กรมฯ แก้ไขประกาศ มีข้อดีมากกว่า จึงเห็นควรเลือกแนวทางการยกเลิก ประกาศที่ 344 และออกประกาศใหม่ และหากธนาคารปฏิบัติในแนวทางเดียวกัน จะทำให้เกิดความเข้มแข็ง

2. ความเสี่ยงด้านกฎหมาย โอกาสเกิดน้อยมาก

1. ความเสี่ยงด้าน พรบ.สถาบันการเงิน เคยมีฏีกาว่าผู้ยื่นฟ้องธนาคารตาม พ.ร.บ.ต้องเป็น ธปท. กรณีการแก้ไขประกาศนี้ ธปท.ก็สนับสนุนกรมฯ จึงไม่น่าเกิดความเสี่ยงในเรื่องนี้

2. ความเสี่ยงด้าน ปพพ. ลูกค้าจะฟ้องร้องธนาคารได้ ก็ต่อเมื่อได้รับความเสียหาย แต่กรณีที่ธนาคารส่งข้อมูลให้กรมนี้เป็นคุณต่อผู้ฝากเงินเพราะจะทำให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี โอกาสที่ลูกค้าจะฟ้องธนาคารมีน้อยมาก หากมีเคสที่ลูกค้าฟ้องร้อง ก็ขอให้ชมรมนักกฎหมายมีแนวปฏิบัติ ข้อต่อสู้ ร่วมกัน

3. การจัดทำหนังสือแจ้งความประสงค์ไม่ให้ธนาคารส่งข้อมูลให้กรมสรรพกร (Negative Consent) ชมรมนักกฎหมายรับไปดำเนินการ โดยชมรมจะมีการประชุมวันที่ 29 เมษายน 2562 โดยขอให้ออกแบบฟอร์มเป็น 2 ส่วน ส่วนบน เป็นการแจ้งความประสงค์ไม่ให้ธนาคารนำส่งข้อมูล ให้กรมสรรพากร ส่วนล่าง เป็นการแจ้งยกเลิกการความประสงค์

4. การรับ (Negative Consent) ที่ประชุมกำหนดให้ เปิดรับ Negative Consent เฉพาะที่สาขาธนาคารเท่านั้น โดยกำหนด ระยะเวลาการดำเนินรับ และการมีผลในแต่ละรอบการส่งข้อมูลดังต่อไปนี้

สรรพากร55

ก่อนหน้านี้ประกาศกรมสรรพากรเดิมต้องให้ผู้ที่มีเงินฝากมีรายได้ดอกเบี้ยไม่เกิน 20,000 บาทต่อปี ทุกรายจะต้องเซ็นยินยอมให้ธนาคารส่งข้อมูลให้กรมสรรพากร แต่จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีสำหรับผู้ฝากเงินที่ไปเซ็นยินยอมเท่านั้น หากไม่เป็นเซ็นยินยอมกับธนาคารจะถูกหักภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก หัก ณ ที่จ่าย 15% ประกาศดังกล่าวเกิดกระแสวิพากวิจารณ์หนัก จนทำให้สรรพากรต้องมีการหารือกับสมาคมธนาคาร ประกาศยอมถอยประกาศฉบัที่ 344 ใหม่ ขณะนี้อยู่ระหว่างเจรจากับสมาชิกสมาคมธนาคารไปไทยเพื่อจะประกาศหลักเกณฑ์ใหม่

Avatar photo
ทีมบรรณาธิการข่าว The Bangkok Insight