Business

เปิดประวัติศาสตร์หน้าใหม่ ส้มโอไทยไปสหรัฐ เพิ่มโอกาสส่งออกผลไม้ไทย

นายกฯ ยินดีผลสำเร็จการส่งออก ส้มโอไทย ไปสหรัฐ ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ เชื่อมั่นเพิ่มโอกาสผลไม้ไทยในตลาดต่างประเทศ

นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกลาโหม ยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ประเทศไทยสามารถขยายตลาดส่งออกได้เพิ่มขึ้น ผ่านการส่งออกส้มโอฉายรังสี 4 สายพันธุ์ ไปยังกรุงวอชิงตัน ดีซี สหรัฐ ถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของไทย

ส้มโอไทย

พร้อมกันนี้ ยังส่งออกมะม่วงของฤดูกาลปี 2566 มังคุด และผลไม้อื่น ๆ ของไทย เพื่อนำไปร่วมงานเฉลิมฉลองในวันชาติของสหรัฐ และเพื่อกระชับความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-สหรัฐ ครบรอบ 190 ปี ในงานจัดแสดงผลไม้เทศกาล Sawasdee DC Thai Festival ที่กรุงวอชิงตัน ดีซี ระหว่างวันที่ 2-4 กรกฎาคม 2566

ทั้งนี้ กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงรายงานการส่งออกส้มโอไทยไปสหรัฐ ครั้งแรก เป็นส้มโอฉายรังสี 4 สายพันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ทองดี พันธุ์ขาวใหญ่ พันธุ์ขาวน้ำผึ้ง และพันธุ์ขาวแตงกวา พร้อมด้วย มะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้ มหาชนก แดงจักรพรรดิ และเขียวเสวย รวมทั้งมังคุด รวมทั้งสิ้น จำนวน 72 กล่อง น้ำหนัก 864 กิโลกรัม

การส่งออกส้มโอไปสหรัฐ รั้งนี้ ถือเป็นความสำเร็จสำหรับเกษตรกรผู้ปลูกส้มโอ รวมถึงผู้ประกอบการส่งออกผลไม้ ที่จะมีตลาดส่งออกเพิ่มมากขึ้น ซึ่งสหรัฐ  เป็นตลาดที่มีศักยภาพสูง เป็นประเทศที่เข้มงวดด้านมาตรการสุขอนามัยพืชอย่างสูง

อนุชา 9

ขณะที่กระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา (USDA) ได้มอบหมายหน่วยงานบริการตรวจสอบสุขภาพสัตว์และพืช (Animal and Plant Health Inspection Service : APHIS) ให้แจ้งถึงผลการทดสอบประสิทธิภาพการแพร่กระจายรังสีในบรรจุภัณฑ์ส้มโอ ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้ายที่จะอนุญาตให้นำเข้า

สำหรับส้มโอส่งออก จะต้องผ่านการฉายรังสีแกรมมา (Gamma: γ) ที่ระดับ 400 เกรย์ นาน 3 ชั่วโมง จากศูนย์ฉายรังสี สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (สทน.) พร้อมโรงคัดบรรจุที่ได้รับอนุญาตให้คัดบรรจุส้มโอเพื่อการส่งออกได้ โดยผลไม้ของไทยที่ส่งออกไปจำหน่ายยังสหรัฐ ต้องฉายรังสีแกรมมา ปริมาณ 400 เกรย์ ก่อนส่งออก

ปัจจุบัน ผลไม้ที่ส่งออกไปสหรัฐ มี 8 ชนิด ได้แก่ มะม่วง ลิ้นจี่ ลำไย สับปะรด มังคุด แก้วมังกร เงาะ และล่าสุดได้แก่ ส้มโอ

ส้มโอ

 

นอกจากนี้ กรมวิชาการเกษตร ยังมีแนวทางที่จะสนับสนุนภาคเอกชนให้มีการจัดส่งทางเรือ เพื่อลดต้นทุน และจัดส่งได้ครั้งละจำนวนมาก ซึ่งอยู่ระหว่างการทดสอบในเชิงคุณภาพ โดยหากได้ผลดี จะเป็นการเพิ่มช่องทางให้ผู้ประกอบการนำไปใช้ในเชิงการค้าต่อไป

นายกฯ เชื่อมั่นว่า เมื่อไทยผ่านมาตรฐานการส่งออกไปสหรัฐ จะเพิ่มโอกาสให้ผลไม้ไทยสามารถขยายตลาดส่งออกได้เพิ่มมากขึ้นอีกในอนาคต พร้อมขอบคุณความร่วมมือ การทำงานของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo