Business

ปี 2566 วิกฤติเศรษฐกิจ-ภัยพิบัติ ผลักดันเข้าสู่ยุคโลกไร้ระเบียบ ธุรกิจเผชิญ 4 ความท้าทาย

อิปซอสส์ โกลบอล เทรนด์ 2566 เปิด 12 เทรนด์โลก ก้าวสู่ยุคโลกไร้ระเบียบ โลกแห่งวิกฤติ-ภัยพิบัติ ธุรกิจเผชิญ 4 ความท้าทาย 

นางสาวอุษณา จันทร์กล่ำ กรรมการผู้จัดการ และนางสาวพิมพ์ทัย สุวรรณศุข ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ บริษัท อิปซอสส์ จำกัด ผู้นำระดับโลกด้านการวิจัยตลาดและสำรวจความคิดเห็นผู้บริโภค เปิดเผยรายงานการศึกษาชุดใหญ่ อิปซอสส์ โกลบอล เทรนด์ 2023 ที่ให้เห็นถึงภาวะวิกฤติโลก ก้าวเข้าสู่ ยุคโลกไร้ระเบียบ (A New World Disorder)

โลกไร้ระเบียบ

รายงานชุดนี้เป็นรายงานชุดการศึกษาที่ใหญ่ที่สุด ที่ อิปซอสส์ เคยนำเสนอมา โดยทำการสัมภาษณ์ 4.8 หมื่นคน ใน 50 ตลาดสำคัญ ครอบคลุม 70% ของประชากรโลก และ 87% ของ GDP รวมถึงตลาดเอเชียถึง 11 แห่ง ได้แก่ ออสเตรเลีย อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์สิงคโปร์ เกาหลีใต้ ไทย และเวียดนาม

นางสาว พิมพ์ทัย กล่าวว่ อิปซอสส์ ได้เริ่มทำการศึกษาตั้งแต่ปี 2562 ครอบคลุมเนื้อหาสำคัญ ในเรื่องของกระแสประชานิยม การสร้างแบรนด์ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เทคโนโลยี ข้อมูลและความปลอดภัย การเมืองและประเด็นทางสังคม โดยไอัพเดทการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ซึ่งสรุปภาพรวม ดังนี้

อินโดนีเซีย กังวลสูงสุดเรื่องความช่วยเหลือจากภาครัฐ-บริการสาธารณะ 

ผลการศึกษา ชี้ให้เห็นถึง การก้าวเข้าสู่โลก Polycrisis ที่เต็มไปด้วยวิกฤติในหลากหลายด้าน โดยพบว่ากว่า 74% เห็นพ้องกันว่า รัฐบาลและการบริการสาธารณะของประเทศ ให้ความช่วยเหลือประชาชนน้อยเกินไป โดย ตลาดในภูมิภาคเอเชีย มีความกังวลใจสูงกับการเผชิญกับความหายนะด้านสิ่งแวดล้อม

ทั้งนี้ อินโดนีเซีย กังวลเป็นอันดับ 1 ในอัตรา 92% เวียดนาม 91% ฟิลิปปินส์ 88% ไทย 86% เกาหลี 85% และ อินเดีย 85% อย่างไรก็ตาม ชาวเอเชียส่วนใหญ่ เชื่อว่า โลกาภิวัฒน์ เป็นมาตรการที่ดีสำหรับประเทศของตน

ขณะที่คนไทย 80 % กังวลว่า รัฐบาลและบริการสาธารณะ จะไม่ดูแลประชาชนในอนาคต และ 50% ไม่ไว้วางใจผู้นำทางธุรกิจในการพูดความจริง

คุณอ้อ
อุษณา จันทร์กล่ำ

12 เทรนด์โลก กับ ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง ของ อิปซอสส์ 

สำหรับ 12 เทรนด์ สำคัญ ที่ อิปซอสส์ทำการศึกษา ประกอบด้วย

  • ความเป็นปรปักษ์ของสภาพภูมิอากาศ (Climate Antgonism)
  • การคำนึงด้านสุขภาพ (Conscientious Health)
  • ความถูกต้อง สำคัญดั่ง ราชา (Authenticity is King)
  • ภาวะวิกฤตด้านข้อมูล (Data Dilemma)
  • มิติด้านเทคโนโลยี (The TECH Dimension)
  • จุดสูงสุดของโลกาภิวัฒน์ (Peak Globalisation)
  • โลกที่ถูกแบ่งแยก ( A Divided World)
  • จุดเปลี่ยนของทุนนิยม (Capitalism’s Turning Point)
  • การโหยหาและยึดเหนี่ยวกับสิ่งเดิม (The Enduring Appeal for Nostalgia)
  • ปฏิกิริยาต่อความไม่แน่นอนและความไม่เท่าเทียม (Reactions to Uncertainty and Inequality)
  • การมองหาความเรียบง่าย (Search for Simplicity)
  • ตัวเลือกสำหรับการดูแลสุขภาพ (Choices to Healthcare)

ยุคโลกไร้ระเบียบ ที่เต็มไปด้วยวิกฤติ-ภัยภิบัติ

วิกฤติที่เกิดขึ้นในหลายมิตินี้ ไม่ได้เป็นเพียงสถานการณ์ที่ต้องเผชิญหลายครั้งเท่านั้น แต่ยังเป็นสถานการณ์ส่งผลที่น่าอันตรายยิ่งกว่า อิปซอสส์ จึงได้ศึกษาประเด็นหลักที่ทำการสำรวจและประเมินผล ได้ดังนี้

shutterstock 1310446387

วิกฤตเศรษฐกิจกระทบกระเป๋าเงินและจิตใจ  

คนไทยอยู่ในความรู้สึกที่ยังคงต้องดิ้นรนต่อสู้ เห็นได้จากสถิติความยากลำบากด้านการหารายได้ โดยเฉลี่ยของโลกอยู่ที่ 34% ขณะที่ ไทยอยู่ในอัตรา 27% นอกจากนี้ยังมีความกดดันกับรายได้ที่ใช้จ่ายได้ โดย 53% มีความกังวลปัญหาเงินเฟ้อ และ 48% กังวลรายได้ตนเองจะไม่พอใช้

วิกฤตความตึงเครียดระหว่างโลกกับท้องถิ่น

แม้ว่าหลายคนจะพูดถึง de-globalization แต่สถิติอย่างน้อย 6 ใน 10 คนทั่วโลกยังเชื่อว่า โลกาภิวัตน์ ยังเป็นสิ่งที่ดีสำหรับพวกเขาและประเทศของพวกเขา ซึ่งอัตราเฉลี่ย 66% ของทั่วโลก เห็นว่าดีสำหรับประเทศของตน ส่วนภาพรวมของประเทศไทย อยู่ที่ 72%

สำหรับประเทศไทย ยังพบว่า คนส่วนใหญ่ยังคงยินดีที่จะซื้อของในไทย มากกว่าสินค้านอก อยู่ในสัดส่วน 73% และเป็นที่น่าสังเกตว่า 75% พอใจในช่องทางออนไลน์ ที่เสนอเงื่อนไขให้ดีกว่าช่องทางปกติ

พิมพ์ทัย
พิมพ์ทัย สุวรรณศุข

ต้องการคนช่วยแก้ปัญหาสภาวะวิกฤติของดินฟ้าอากาศ 

จากการสำรวจยังพบว่า 8 ใน 10 คน มีความเห็นตรงกันว่า กำลังมุ่งหน้าสู่ภัยพิบัติด้านสภาวะแวดล้อม สูงถึง 80% ขณะที่ ภาพรวมของไทย สูงกว่าอัตราเฉลี่ยโลก ที่ 86% ขณะที่ภาพรวมของอัตราเฉลี่ยโลก 75% ยังเชื่อว่า เหล่านักวิทยาศาสตร์ขณะนี้ ยังไม่เห็นทางที่จะแก้ไขในจุดนี้ได้

บทบาทของแบรนด์ในการสร้างความต่าง

ประชาชนเห็นว่า วิธีการต่าง ๆ ในปัจจุบันของผู้นำธุรกิจ ไม่ได้ทำเพื่อคนไทย โดย 80% ของคนไทยกังวลว่า รัฐบาลและบริการสาธารณะ จะไม่ดูแลอนาคตของพวกเขา ซึ่งสูงกว่าอัตราเฉลี่ยของ APAC ถึง 9% อย่างไรก็ตาม 36% ของคนไทย คิดว่ารัฐบาลแห่งชาติ เป็นเรื่องดี และค่อนข้างดี ในการวางแผนระยะยาว

นอกจากนี้ ยังพบว่า ผู้คนคาดหวังที่จะเห็นความชัดเจนของแบรนด์และธุรกิจในเรื่องของความรับผิดชอบ โดย 81% รู้สึกว่า มีความเป็นไปได้ที่แบรนด์ที่ให้ความสนับสนุนที่ดี จะส่งผลให้สามารถทำเงินได้ในเวลาเดียวกัน ขณะที่ 71% ยินดีซื้อสินค้าจากแบรนด์ที่มีความรับผิดชอบ ถึงแม้จะต้องจ่ายมากกว่าก็ตาม และ 57% ยอมจ่ายแพงขึ้นให้กับแบรนด์ที่มีภาพลักษณ์โดนใจ

Ipsos Global

ในขณะที่ 53% ไม่เชื่อว่า ผู้นำธุรกิจจะพูดความจริง แต่ในส่วนของไทยอยู่ในอัตรา 50% ที่ไม่เชื่อใจ และ 74% ประชากรโลกรู้สึกว่า รัฐบาลและบริการสาธารณะ ยังทำน้อยมากให้กับผู้คนสำหรับอนาคตอันใกล้นี้

Ipsos Global Trends

ภาวะวิกฤติด้านข้อมูล และ ข้อจำกัดด้านเทคโนโลยี

ในตลาด APAC มีความกลัวในจุดนี้ ในระดับใกล้เคียงกัน ทั้งนี้ 60% โดยเฉลี่ย มีความกลัวว่าเทคโนโลยีจะเข้ามาทำลายคุณภาพชีวิต และไทยอยู่ในระดับเดียวกับอัตราเฉลี่ยที่ 61% ส่วน 81% รู้สึกว่า หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะสูญเสียความเป็นส่วนตัวในอนาคต เมื่อเทคโนโลยีเข้ามาแทนที่

ท่ามกลางความต้องการที่เพิ่มขึ้นสำหรับการควบคุมเทคโนโลยีขนาดใหญ่ โดย 6 ใน 10 กลัวว่าความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีกำลังเข้ามาทำลายคุณภาพชีวิตของเรา ทั้งนี้ ผู้คนในเอเชียพูดเหมือนกันหมดว่า จินตนาการไม่ได้เลย หากอยู่โดยปราศจากอินเตอร์เน็ต

สรุปความท้าทายหลัก 4 ประการในยุคโลกไร้ระเบียบ

1. วิกฤติเศรษฐกิจ กระทบกระเทือนกระเป๋าสตางค์ของผู้คน มีโอกาสที่จะคิดใหม่เกี่ยวกับ โครงสร้างและวัตถุประสงค์ของธุรกิจและระบบ เพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคม

2. ผู้บริโภคต้องการให้มีใครมาช่วยแก้ปัญหาสภาวะวิกฤติของดินฟ้าอากาศ ไม่ใช่แค่เพียงออก นโยบาย แต่เป็นการลงมือทำ

3. เป็นหน้าที่ของธุรกิจและองค์กร ที่มีบทบาทในการเชื่อมช่องว่างระหว่างความคาดหวังของผู้บริโภค และการตอบสนองของรัฐบาล

4. ความตึงเครียดระหว่างโลกกับท้องถิ่น ด้วยพลังอำนาจของแบรนด์ระดับโลกที่มีจุดยืนเฉพาะ ที่พวกเขาสามารถเชื่อมโยงช่องว่าง

นางสาวพิมพ์ทัย เปิดเผยเพิ่มเติมว่า อิปซอสส์ได้นำผลการศึกษา พัฒนาเป็น Ipsos’s Theory of Change ภายใต้แนวคิด 3 ด้าน คือ

  • Macro Forces จากการทำวิจัยขั้นทุติยภูมิ ประกอบด้วย 6 กรอบแนวคิด
  • Shifts การเปลี่ยนแปลง ที่ได้จากการทำแบบสอบถาม
  • Signals สัญญาณที่บ่งบอกถึงการเปลี่ยนแปลง อิงจากการสังเกตในท้องถิ่น

3 ทฤษฏี

สำหรับ Marco Forces ประกอบ ด้วย 6 แนวคิด ที่เน้นด้านสังคม แรงกระตุ้นทางเทคโนโลยี โอกาสและความไม่เสมอภาค ภาวะฉุกเฉินของวิกฤตสิ่งแวดล้อม ความแตกแยกทางการเมือง และ สุขภาพดีถ้วนหน้า ที่เป็นปัจจัยส่งผลกระทบต่อสังคม ตลาด และผู้คนในวงกว้าง ทั้งในระดับประเทศ และ ข้ามพรมแดน

โดยสรุปแล้ว รายงานการศึกษาชุด Ipsos Global Trend 2566 และ Ipsos’s Theory of Change เป็นแนวโน้มที่ชี้ให้เห็นถึงวิกฤตการณ์ที่กำลังเผชิญและอาจเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อสนับสนุนให้องค์กรต่าง ๆ เห็นภาพชัดเจนและวางแผนได้ดีขึ้น ทั้งด้านดี และด้านร้ายให้เกิดประสิทธิสูงสุดเพื่อการอยู่รอด

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo