Business

รมช.มนัญญา เดินหน้าทวงราคามะพร้าว คืนให้เกษตรกรไทย ตรวจ 100% มะพร้าวนำเข้า

“มนัญญา” เดินหน้าทวงราคามะพร้าวคืนให้เกษตรกรไทย หลังพบราคาตกจาก 2 สาเหตุจากนำเข้ากะทินอก และมะพร้าวผลนอกโควต้า สั่งตรวจ 100% มะพร้าวนำเข้า

นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ในการประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อแก้ไขปัญหาราคาผลมะพร้าวตกต่ำ เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2566 ที่ผ่านมา

ราคามะพร้าว

ทั้งนี้ กรมการค้าต่างประเทศ รายงานว่า มียอดนำเข้ามะพร้าว ตั้งแต่เดือน มกราคม-พฤศจิกายน 2565 ตามกรอบเขตการค้าเสรีอาเซียน ASEAN Free Trade Area (AFTA) และองค์การการค้าโลก (World Trade Organization (WTO) รวม 1.3 แสนตัน โดยเป็นการนำเข้าตาม 2 กรอบดังกล่าว รวม 7,000 ตัน ที่เหลือเป็นการนำเข้านอกกรอบ WTO ที่เสียภาษี 54%

นอกจากนั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา รายงานว่า มียอดตัวเลขนำเข้าน้ำกะทิจากต่างประเทศ เพื่อนำมาใช้ทำอาหารและอื่น ๆ ผ่าน อย. ปีละประมาณ 3,000 ล้านบาท โดยเมื่อผ่านขั้นตอนการตรวจเรื่องการปนเปื้อน หรือเชื้อโรคและสารตกค้างตามกฎหมายอาหารและยาแล้ว อย. ไม่มีอำนาจในการติดตามปลายทางของสินค้าดังกล่าว จึงไม่ทราบว่ากะทิเหล่านั้นถูกนำไปใช้ในวัตถุประสงค์ใดบ้าง

มนัญญา ไทยเศรษฐ์
มนัญญา ไทยเศรษฐ์

ข้อมูลดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า ผู้ประกอบการลดการพึ่งพาผลผลิตของเกษตรกรภายในประเทศ จึงมีการนำเข้ามะพร้าวผลและน้ำกะทิ เพื่อมาเป็นวัตถุดิบ หรือสินค้าจำหน่ายในประเทศและส่งออก จึงส่งผลกระทบต่อราคามะพร้าวของเกษตรกรไทยโดยตรง

อีกทั้ง ภาคเอกชนยอมเสียภาษีนำเข้ามะพร้าวนอกโควต้า เพื่อเลี่ยงการปฏิบัติตามเงื่อนไขของคณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช เช่น การกะเทาะเปลือกในโรงงาน เป็นต้น

ดังนั้น การกำหนดโควต้านำเข้ามะพร้าวของ คกก.พืชน้ำมันฯ แต่ละปี จึงอาจไม่ใช่แนวทางแก้ไขปัญหาที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน อีกทั้ง จะเห็นว่าขณะนี้ราคามะพร้าวขูดสำหรับทำกะทิในท้องตลาด อยู่ที่ 70 บาทต่อกิโลกรัม ขณะที่ราคารับซื้อมะพร้าวผลจากชาวสวน อยู่ที่ 5-12 บาทต่อผล

shutterstock 637938136

จึงเป็นคำถามว่า ส่วนต่างของราคานี้หายไปไหน แต่เอกชนกลับไปนำเข้าน้ำกะทิปีละ 3,000 ล้านบาท และยอมเสียภาษีนอกโควต้า WTO ทำไมเราไม่ช่วยกันซื้อมะพร้าวภายในประเทศ และให้ราคาที่เหมาะสมกับเกษตรกร เพื่อให้เงินเหล่านี้กลับไปอยู่ในมือเกษตรกร

รมช.มนัญญา ยังได้กำชับให้กรมวิชาการเกษตร ตรวจมะพร้าวที่มีการนำเข้าทั้งใน และนอกโควต้า 100% จากเดิมที่เป็นการสุ่มตรวจ รวมถึงรวบรวมข้อมูลการขอนำเข้าว่ามีทั้งหมดกี่บริษัท ปริมาณเท่าไหร่อย่างไร

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo