World News

อิโคโนมิสต์ชี้ ‘โลกาภิวัฒน์หยุดนิ่ง’ อนาคตเศรษฐกิจโลก

อิโคโนมิสต์ชี้ เศรษฐกิจโลกไม่ได้อยู่ในภาวะซบเซา แต่กำลังเกิด “ภาวะโลกาภิวัฒน์หยุดนิ่ง” เหตุประเทศต่างๆ เน้นทำการค้าภายในภูมิภาค เพราะการทำสงครามการค้าของ “โดนัลด์ ทรัมป์” ผู้นำสหรัฐ

20190126 cuk400hires 0

บทความนิตยสารดิ อิโคโนมิสต์ ระบุว่า การที่สหรัฐหันไปหานโยบายปกป้องทางการค้าเมื่อ 2 ปีที่ ได้สร้างความกังวลว่าจะเกิดภาวะยากลำบากขึ้น เหมือนช่วงทศวรรษ 30

แต่ในวันนี้ ดูเหมือนว่าการคาดการณ์ดังกล่าวจะผิดพลาด เพราะถึงแม้เศรษฐกิจจีนจะชะลอตัวลง บริษัทตะวันตกที่เข้าลงทุนในจีน อาทิ แอปเปิล อิงค์ จะตกอยู่ภายใต้แรงกดดันอย่างมาก แต่เศรษฐกิจโลกปี 2561 กลับขยายตัวในระดับพอสมควร อัตราว่างงานลดลง และกำไรเพิ่มขึ้น

เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้ลงนามในข้อตกลงการค้ากับเม็กซิโก และแคนาดา และถ้าการเจรจาที่เกิดขึ้น นำไปสู่การทำข้อตกลงกับประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ตลาดต่างๆ ก็จะได้ข้อสรุปว่า สงครามการค้าเป็นแค่ละครการเมืองที่ออกแบบมาเพื่อบีบให้จีนยอมอ่อนข้อให้ในบางเรื่อง ไม่ได้เป็นระเบิดที่โยนใส่การค้าแต่อย่างใด

ความเชื่องช้าดังกล่าวถูกมองแบบเข้าใจผิดไป ความตึงเครียดทางการค้าในทุกวันนี้ ยังประกอบไปด้วยการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่วิกฤติการเงินปี 2551 – 2552

การลงทุนข้ามพรมแดน การค้า เงินกู้ธนาคาร และซัพพลายเชนต่างหดตัวลง หรืออยุ่ในภาวะชะงักงัน โลกาภิวัฒน์ เปิดทางให้เกิดยุคใหม่ของความเฉื่อยชา ซึ่งเมื่อพิจารณาจากเเงื่อนไขในทฤษฎีของนักเขียนชาวเดนมาร์กแล้ว เราเรียกสถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในตอนนี้ว่าเป็น “slowbalisation” หรือ ภาวะโลกาภิวัฒน์หยุดนิ่ง โดยในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ยุคโลกาภิวัฒน์ได้ชะลอตัวจากการเดินหน้าไปอย่างช้าๆ มาสู่การเคลื่อนที่ที่ช้ามากเหมือนกับการคืบคลานของหอยทาก ด้วยเหตุผลหลายอย่างด้วยกัน

Trade container 960x576

ต้นทุนในการเคลื่อนย้ายสินค้าที่ไม่ลดลงไปอีก ทำให้บริษัทข้ามชาติพบว่า การขยายธุรกิจออกไปทั่วโลกผลาญเงินของพวกเขา และคู่แข่งท้องถิ่นก็มักจะโค่นพวกเขา ทั้งกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ ก็มุ่งตรงไปสู่ภาคบริการ ซึ่งเป็นธุรกิจที่ขายข้ามแดนได้ยาก และภาคการผลิตของจีน ก็สามารถพึ่งพาตัวเองได้มากขึ้น ทำให้ความต้องการนำเข้าชิ้นส่วนต่างๆ ลดลง

สถานการณ์ดังกล่าวเป็นผลมาจากการทำสงครามการค้าของทรัมป์ โดยการจัดเก็บภาษีกลายมาเป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจมากสุด

ถ้าหากสหรัฐขึ้นภาษีต่อสินค้าจีนในเดือนมีนาคมนี้ ตามที่ขู่ไว้ อัตราภาษีศุลกากรโดยเฉลี่ยต่อการนำเข้าของอเมริกัน อาจจะเพิ่มขึ้น 3.4% สูงสุดในรอบ 40 ปี ซึ่งแน่นอนว่า บริษัทส่วนใหญ่จะต้องผลักภาระในส่วนนี้ไปให้กับลูกค้า

ในกรณีที่รุนแรงน้อยกว่านั้น แต่ก็ยังเป็นอันตรายอยู่ดี คือ มีการปรับเปลี่ยนกฎด้านการค้าใหม่ทั่วโลก ส่วนหลักการที่ว่านักลงทุน และบริษัท ควรที่จะได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันทั่วโลก โดยไม่สนใจว่าจะสัญชาติอะไรกำลังจะโดนละทิ้งไป

พยานหลักฐานสำหรับเรื่องนี้มีให้เห็นอยู่ทุกแห่ง การเป็นศัตรูกันทางภูมิศาสตร์การเมือง ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมเทคโนโลยี ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนราว 20% ของตลาดหุ้นทั่วโลก

นอกจากนี้ การค้าโลกกำลังได้รับผลกระทบจากการที่บริษัทต่างๆ พากันสต็อกสินค้าคงคลังมากขึ้น จากความกังวลในเรื่องอัตราภาษีที่เพิ่มขึ้นเพราะสงครามการค้า

around 2

แต่สิ่งที่สำคัญกว่า คือ แผนการลงทุนระยะยาวของบริษัทต่างๆ ที่เริ่มลดการเข้าลงทุนในประเทศ และอุตสาหกรรมต่างๆ ที่มีความเสี่ยงด้านภูมิศาสตร์การเมืองสูง หรือมีกฎข้อบังคับที่ไม่แน่นอน

นอกจากนี้ ยังมีสัญญาณที่แสดงให้เห็นว่า เริ่มมีการปรับตัวเกิดขึ้นบ้างแล้ว โดยการลงทุนของจีนในยุโรป และอเมริกา ร่วงลง 73% ในปีที่แล้ว ขณะที่มูลค่าการลงทุนข้ามแดนของบริษัทข้ามชาติในแดนมังกร เมื่อปี 2561 ร่วงลงราว 20%

โลกใหม่จะมีการทำงานที่แตกต่างออกไป ภาวะโลกาภิวัฒน์หยุดนิ่ง จะนำไปสู่การเชื่อมโยงที่หนาแน่นกว่าเดิมในภูมิภาค ซัพพลายเชนในอเมริกาเหนือ ยุโรป และเอเชีย ต่างเลือกที่จะดำเนินการจัดหาจากผู้ผลิตที่อยู่ใกล้บ้านเกิดของตัวเองมากขึ้น

การค้าในเอเชีย และยุโรปเกือบทั้งหมด เกิดขึ้นภายในภูมิภาค และสัดส่วนของการทำการค้าภายในภูมิภาค ก็เพิ่มสูงขึ้น นับตั้งแต่ปี 2554 เป็นต้นมา

อย่างไรก็ดี ภาวะโลกาภิวัฒน์หยุดนิ่งนี้ มีข้อเสียเปรียบใหญ่อยู่ 2 ข้อด้วยกัน

อย่างแรกเลย เป็นเรื่องของการสร้างปัญหาใหม่ๆ ขึ้นมา โดยระหว่างปี 2533 – 2542 ประเทศเกิดใหม่ เกือบทั้งหมดต่างสามารถปิดช่องว่างบางส่วนกับประเทศที่พัฒนาแล้วได้ แต่ในปัจจุบันมีบริษัทจำนวนมากขึ้น ที่ดิ้นรนทำการค้า เพื่อความร่ำรวย และมีความตึงเครียดในการทำการค้าระหว่างประเทศสูงมาก ส่วนอย่างที่สอง คือ ภาวะโลกาภิวัฒน์หยุดนิ่ง ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาที่ยุคโลกาภิวัฒน์ก่อขึ้นมาแต่อย่างใด

 

Avatar photo