Business

อู่ตะเภาเนื้อหอม!! แอร์เอเชียรุกลงทุนMRO – โลว์คอสต์ เทอร์มินอล

11

การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี) ในพื้นที่ 3 จังหวัดชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา  ถือเป็นงานสำคัญของรัฐบาลในการพื้นที่รวมทั้งการดึงการลงทุนทั้งนักลงทุนที่เป็นทั้งคนไทยและต่างชาติ สิ่งสำคัญที่จะทำให้การลงทุนเกิดขึ้นได้ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานจะต้องเกิดขึ้นก่อน

“เป็นเรื่องจำเป็นถ้าจะดึงดูดการลงทุน และสร้างความเชื่อมั่น ให้กับนักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งคนในพื้นที่ การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานต้องให้เกิดขึ้นในพื้นที่อีอีซี” อุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม  ระบุ

มิ.ย.ออกทีโออาร์ลงทุนรถไฟความเร็วสูง

ขณะนี้โครงการหลัก อย่างโครงการรถไฟความเร็วสูง มีความคืบหน้าตามแผนโดยประมาณเดือนมิถุนายน 2561 สามารถออกทีโออาร์ได้ เพื่อที่จะนำไปสู่การคัดเลือกผู้สนใจเข้ามาลงทุนได้

เช่นเดียวกับธุรกิจซ่อมเครื่องบิน (Maintenance Repair and Overhaul, MRO) สนามบินอู่ตะเภา ในส่วนของ MRO ได้มีการลงนามในสัญญาความร่วมมือเพื่อประเมินโอกาสทางธุรกิจของโครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานอู่ตะเภา ระหว่างบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และบริษัท แอร์บัส ไปแล้วมื่อปลายปี2560

ทางแอร์บัสได้เจรจากับการบินไทยมาอย่างต่อเนื่อง ใกล้จะได้ข้อยุติในการ จอยเวนเจอร์” ร่วมกันเพื่อมาพัฒนา MRO ในพื้นที่ ขณะนี้สำนักงานอีอีซีได้กำหนดไว้แล้วว่าจะให้เกิดอุตสาหกรรม MRO ในโครงการสนามบินอู่ตะเภาพื้นที่ประมาณ 500-600ไร่  ได้กันไว้เพื่อทำ MRO นี่เป็นหนึ่งรายที่แสดงความสนใจ

แอร์เอเชียรุกโลว์คอสต์ เทอร์มินอล – MRO

อุตตม บอกด้วยว่าอีกรายที่แสดงความสนใจและอยู่ระหว่างการเจรจานั่นคือแอร์เอเชีย ที่ สนใจที่จะสร้าง MRO เพื่อให้เป็นศูนย์กลางซ่อมบำรุงของสายการบิน ทั้งสองรายต้องการที่จะเซอร์วิสของตัวเอง จึงสนใจที่จะมา

ส่วนแอร์เอเชียสนใจMRO เพราะเครื่องบินของเขาแตกต่างเพราะเป็นสายการบินโลว์คอสต์ และยังสนใจที่ที่จะขอสร้างโลว์คอสต์ เทอร์มินอล ที่สนามบินอู่ตะเภา ฉะนั้นต่อไปที่สนามบินอู่ตะเภาจะมีทั้งเทอร์มินอลปกติ และเทอร์มินอล โลว์คอสต์ ที่อื่นทำแล้วประสบความสำเร็จ

“ตอนนี้แอร์เอเชียเขาสนใจทั้งการพัฒนา MRO และการมีส่วนร่วมในการพัฒนาอู่ตะเภา ข้อเสนอตอนนี้อยู่ระหว่างเจรจาในรายละเอียด” อุตตม ระบุ

แอร์ไลย์ยุโรปสนลงทุน MRO

นอกจากนี้ ยังได้รับแจ้งจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) มีนักทุนอีก 2รายที่สนใจพัฒนา MRO ซึ่งเป็นนักลงทุนจากยุโรป ซึ่งเป็นแอร์ไลน์รายใหญ่ ส่วนอีกรายเป็นนักธุรกิจใหญ่เช่นกัน ในหลักการแล้วรัฐบาลต้องการให้เกิด MRO ขึ้นควบคู่กับสนามบินอู่ตะเภา

อย่างไรก็ตาม การกันพื้นที่ไว้ 600 ไร่ รัฐบาลต้องการให้เอกชนที่สนใจเข้าไปลงทุนได้หลายรายไม่ใช่รายเดียวเข้าไปลงทุนทั้ง 600 ไร่ ตอนนี้การบินไทยกับแอร์บัส จะมีการใช้พื้นที่อยู่ประมาณ 200 ไร่ ส่วนแอร์เอเชีย จะอยู่ที่ 100ไร่

“เราจะจัดให้เต็มพื้นที่ต้องการให้มีความหลากหลายไม่ใช่มีเพียงรายเดียว มันจะสามารถยึดโยงไปถึงอุตสาหกรรมชิ้นส่วนตรงนี้คนไทยมีศักยภาพอยู่แล้ว ส่วนแอร์บัสเขาบอกว่าเขาจะช่วยส่งเสริมพัฒนาเอสเอ็มอีไทย มาผลิตชิ้นส่วน เราก็จะได้อุตสาหกรรมชิ้นส่วน อากาศยานเพิ่มขึ้นมา”

คาดภายใน5ปีเห็นการเชื่อมโยง

อุตตม ย้ำด้วยว่า 2โครงการกำลังเกินหน้าไปแต่จะให้เต็มรูปแบบต้องใช้เวลา 5 ปี ทั้งรถไฟความเร็วสูงกับการพัฒนาอู่ตะเภา ต้องเชื่อมโยงกัน 2 โครงการ การบริหารโครงการต้องสอดรับกัน เรื่องแบบนี้ผมว่าคนกำลังรอดู ถ้าเกิดขึ้นได้ก็จะสร้างความมั่นใจ ให้ทุกภาคส่วน นักธุรกิจก็สามารถเข้ามาลงทุนได้โครงการใหญ่ๆแบบนี้ที่เชื่อมโยงกันประเทศไทยยังไม่เคยทำมาก่อนเลย

เป็นประสบการณ์ใหม่ ที่ไทยจะบริหารโครงการแสนล้านเชื่อมโยงกัน

อันนี้จะเป็นประสบการณ์ใหม่ ที่ไทยจะบริหารโครงการขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงกัน โครงการเป็นแสนล้านทั้งนั้น ถ้าทำอย่างนี้ได้โครงการที่จะตามมาทั้งโครงการท่าเรือมาบตาพุด หรือแหลมฉบัง นี่เป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยในพื้นที่อีอีซี ที่จะบริหารโครงการเหล่านี้ให้เกิดขึ้นและเชื่อมโยงกันในเวลาที่เหมาะสม ถ้าทำได้เป็นก้าวสำคัญของประเทศไทย วันนี้เรากำลังเชื่อมและบริหารควบคู่กันประเทศไทยยังไม่เคยมีแบบนี้มีแต่ทำทีละโครงการ

“ผมเชื่อว่าขั้นต้นภายใน 5 ปี เราจะเห็นการเชื่อมโยงของโครงการ และประมาณปี 2564-2565 ที่รถไฟความเร็วสูงน่าจะเสร็จ พอสมควร MRO ก็น่าจะเสร็จแน่  ถ้าทำได้เป็นที่ประจักรของต่างชาติ หากทำได้อุตสาหกรรมเป้าหมายก็จะตามมา นี่คืออีอีซี ”

Avatar photo
ทีมบรรณาธิการข่าว The Bangkok Insight