Lifestyle

อย.จูงมือ ‘ลาซาด้า’ กวาดล้างผลิตภัณฑ์สุขภาพเถื่อน

อย. จับมือ ลาซาด้า ป้องกันการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมายทางมาร์เก็ตเพลส เบื้องต้นสร้างโปรแกรม “สแกนคำ” ภายใน 1 เดือน ช่วยสกัดผลิตภัณฑ์ที่น่าจะผิดกฎหมายออกไปได้ 17,000 รายการก่อนขึ้นเว็บ เดินหน้าพัฒนาระบบรายงานในรูปแบบช่องให้เลือก (Drop down list) เปิดให้ผู้บริโภครายงานผลิตภัณฑ์สุขภาพ ที่ผิดกฎหมายได้ และเชื่อมฐานข้อมูลกับ อย.  เตรียมขยายไปมาร์เก็ตเพลสทุกแห่ง

S 12853293

นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ เลขาธิการ คณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า ที่ผ่านมาการแก้ปัญหาโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมาย โดยเฉพาะทางสื่ออินเทอร์เน็ต  อย.ใช้วิธีดาเนินคดี โดยแจ้งระงับโฆษณา และเปรียบเทียบปรับผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้โพสต์ขายของ เจ้าของผลิตภัณฑ์ และ พรีเซ็นเตอร์ เป็นต้น โดยดาเนินการร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ( กสทช.)  และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

อย่างไรก็ตามการดาเนินการดังกล่าวเป็นมาตรการเชิงรับ อย. จึงได้ประสาน บริษัท ลาซาด้า จำกัด เพื่อร่วมกันหารือ และให้คำแนะนำ การดำเนินกิจการการค้าออนไลน์ เกี่ยวกับข้อกฎหมายผลิตภัณฑ์สุขภาพ และแนวทางการเผยแพร่โฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางเว็บไซต์ที่ถูกต้อง ป้องกันการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ฝ่าฝืนกฎหมายทางมาร์เก็ตเพลส

ในเบื้องต้นลาซาด้าได้สร้างเครื่องมือคัดกรอง โปรแกรม“สแกนคำ” หากพบถ้อยคำผิดกฎหมาย หรือไม่อนุญาต โปรแกรมนี้จะสกัดกั้น ไม่ขึ้นไปหน้าเว็บไซต์ของลาซาด้า ซึ่งใน 1 เดือนที่ผ่านมา สามารถสกัดผลิตภัณฑ์สุขภาพ ที่น่าจะ ผิดกฎหมายออกไปได้ถึง 17,000 รายการ

โดยอาศัยข้อมูลจากการเเจ้งเบาะแส จากเครือข่าย เช่น มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค อาจารย์มหาวิทยาลัย การพัฒนาเทคโนโลยี ใหม่ ๆ มาใช้ในการปิดกั้น (Block) คำ หรือข้อความ ก่อนการเผยแพร่ การลงโทษผู้ประกอบการร้านค้าออนไลน์ โดยหักคะแนนผู้ขายที่ปฏิบัติไม่ถูกต้อง ซึ่งหากทำผิดบ่อยครั้ง จะถูกปิดกั้น และยกเลิกสัญญา ขณะเดียวกันมีการให้ความรู้กับผู้ประกอบการร้านค้าก่อนที่จะเข้ามาเป็นผู้ขายในลาซาด้า เป็นต้น

ยา1

และในอนาคต กำลังพัฒนาระบบรายงาน (Reporting system) ในรูปแบบช่องให้เลือก (Drop down list) ผู้บริโภคสามารถกดรายงาน (Report) ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ที่ละเมิดกฎหมายได้ ในขณะเดียวกันลาซาด้า จะต้องรายงานกรณีผู้ประกอบการที่มีผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ละเมิดกฎหมายให้ อย.ทราบด้วย

ทั้งนี้เพื่อจะได้ติดตามดำเนินการตามกฎหมาย และมีการเชื่อมต่อฐานข้อมูลระหว่าง ลาซาด้า และ อย. ในเรื่องของฐานข้อมูลขออนุญาตผลิตภัณฑ์ และขออนุญาตโฆษณา เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการตรวจสอบการขาย และการโฆษณาของผู้ประกอบการร้านค้าออนไลน์ด้วย

หากโมเดลนี้ทำงานอย่างสมบูรณ์ จะขยายไปยังมาร์เก็ตเพลสทุกแห่งต่อไป รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กสทช. และเครือข่ายประชาชน เช่น มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เพื่อให้การดาเนินงานเป็นมาตรฐานเดียวกัน และมีประสิทธิภาพต่อไป

Avatar photo