COLUMNISTS

เทียบโฉนดสีฟ้า-โฉนดสีทอง แบบไหน ‘ยั่งยืน’ แบบไหน ‘ย่ำแย่’

Avatar photo
2546

ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีข้อถกเถียงเรื่องนโยบายที่ดินที่น่าสนใจและประชาชนควรติดตามคือ การเปิดพิมพ์เขียว 5 ข้อ ยกเครื่องกฎหมาย สปก.ของพรรคพลังประชารัฐ ผ่านการแถลงของ สุชาติ ตันเจริญ คณะกรรมการสรรหาผู้สมัครสส.ของพรรค เปิดทางให้ใช้ประโยชน์กับที่ดิน สปก.ได้มากกว่าการเกษตร โดยอ้างว่าจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำ

sad

แนวคิด “โฉนดสีทอง” หรือ “ที่ดินทองคำ” ของพลังประชารัฐ 

  1. สปก.เปลี่ยนมือได้ผ่าน “ใบสลักสิทธิ์” แทนที่จะเป็นโฉนดที่ดิน
  2. เพิ่มการใช้ประโยชน์จากการเกษตร เป็นจำแนกที่ดินตามสภาพพื้นที่จริง-กำหนดอัตราภาษีและค่าธรรมเนียมที่เหมาะสม
  3. พัฒนากองทุน สปก.ให้สอดรับกับบทบาทใหม่
  4. จัดสรรที่ดินทำกินให้ผู้มีคุณสมบัติที่ขึ้นทะเบียนไว้ก่อนปี 2554 โดยรายใหม่ต้องถือครองไม่ต่ำกว่า 10 ปีจึงจะสามารถเปลี่ยนมือได้

คนที่ติดตามเรื่องสปก.มาตลอด จะเห็นว่านโยบายพลังประชารัฐ มีความเชื่อมโยงกับคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 31/2560 เรื่อง การใช้ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่เกษตรกรและประโยชน์สาธารณะของประเทศ ซึ่งมีเนื้อหาปลดล็อกให้นำ สปก.ไปทำกิจการ 3 ประเภท นอกเหนือจากเกษตรกรรม คือ กิจการเหมืองแร่ ผลิตปิโตรเลียม และผลิตไฟฟ้าจากกังหันลม

ดังนั้นรากความคิดที่ต้องการเปิดช่องให้กิจการอื่นเข้ามาใช้ที่ดินสปก.ได้จึงไม่ได้เพิ่งเกิดจากสมองของแกนนำพลังประชารัฐ แต่ต่อยอดมาจากแนวทางที่คสช.ได้วางไว้

ที่หยิบเรื่องนี้มาเขียนก็เพราะเห็นว่าเป็นโอกาสที่คนไทยจะได้เปรียบเทียบนโยบายพรรคการเมืองให้ชัด ก่อนตัดสินใจกาบัตรเลือกตั้ง ว่านโยบายแบบไหนที่จะสร้างความยั่งยืนให้กับประเทศชาติ

พรรคประชาธิปัตย์ เปิดตัว “โฉนดสีฟ้า” มีหลักคิดต่อยอดจาก นโยบายโฉนดชุมชน ที่เคยทำไว้แต่ขาดความต่อเนื่อง เพราะรัฐบาลใหม่ที่เข้ามาไม่สานต่อ ด้วยการออกร่าง พ.ร.บ.โฉนดชุมชน เพื่อความมั่นคงของเกษตรกรที่ไม่มีเอกสารสิทธิ และจะยกระดับสปก.ให้เข้าถึงแหล่งทุนได้มากขึ้น โดยสามารถนำไปเป็นหลักประกันในสถาบันการเงินและในชั้นศาลได้

แต่ที่ดินจะขายเปลี่ยนมือไม่ได้ ตกทอดให้ลูกหลานได้เท่านั้น รวมถึงยังจำกัดให้ สปก.เป็นพื้นที่สำหรับเกษตรกรรมเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีนโยบายที่ดินเพิ่มเติมในการยกระดับกระบวนการแแปลงเอกสารครอบครองทั้ง ส.ค.1 น.ส.3 และเร่งสะสางโฉนดค้างท่อ ไปจนถึงเดินหน้าธนาคารที่ดิน

S 10936349

จะเห็นว่านโยบายเกี่ยวกับ สปก.ระหว่างประชาธิปัตย์กับพลังประชารัฐ แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง คือของพลังประชารัฐ กำลังทำให้ สปก. กลายเป็นสินค้า ซื้อขายเปลี่ยนมือได้ สุ่มเสี่ยงที่จะทำให้ที่ดินเปลี่ยนมือไปเป็นของนายทุน ขยายช่องว่างการถือครองที่ดินระหว่างคนรวยกับคนจนเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นการทำลายเจตนารมณ์ของ สปก.ที่รัฐใช้แก้ปัญหาให้กับเกษตรกรผู้ยากไร้ ไม่มีที่ดิน ได้ใช้ทำกินสืบทอดในครอบครัว

การเปิดช่องให้ซื้อขาย สปก.ได้ เป็นดาบสองคมให้เกษตรกรละทิ้งที่ทำกินของตัวเอง เปิดช่องให้นายทุนระดมกว้านซื้อที่ดิน สปก.ได้ สุดท้ายเกษตรกรก็จะไร้ที่ทำกิน เพิ่มวิกฤติการขาดแคลนที่ดินมากขึ้น จนอาจนำไปสู่การบุกรุกแผ้วถางแบบไม่มีวันสิ้นสุด แม้จะมีข่าวว่านายกฯ ฉุนขาดกับนโยบายนี้ สั่งให้ไปทบทวนใหม่ แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่มีการประกาศยกเลิกนโยบายนี้จากพรรคพลังประชารัฐออกมา

นี่คือสองแนวทางเกี่ยวกับที่ดิน ที่ประชาชนจะต้องเป็นผู้เลือกผ่านการตัดสินในสนามเลือกตั้งที่กำลังจะเกิดขึ้น ชะตาชีวิตของคนไทยและของประเทศ จึงเป็นเรื่องที่ประชาชนกำหนดได้

“ได้เลือก เลือกได้” เอาตามใจที่เห็นว่าดีที่สุดสำหรับประเทศ อำนาจกำลังจะกลับไปอยู่ในมือประชาชน นี่คือโอกาสที่ “คนไทยเลือกได้”