COLUMNISTS

8 วิธีป้องกันผู้สูงอายุหกล้ม!!

Avatar photo
Longevity Inspirationist ผู้เชี่ยวชาญสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดการรักสุขภาพ
2516

การพลัดตกหกล้ม เป็นสาเหตุการตายอันดับสองในกลุ่มของการบาดเจ็บโดยไม่ได้ตั้งใจ (Unintentional) รองจากการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุบนท้องถนน สำหรับประเทศไทย มีผู้เสียชีวิตจากการพลัดตกหกล้มปีละกว่า 1,600 คน เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และ 1 ใน 3 เป็นผู้สูงอายุประมาณ 60 ปีขึ้นไป และแน่นอนความเสี่ยงจะเพิ่มสูงขึ้นตามอายุ โดยเพศหญิงสูงกว่าเพศชาย

ผู้สูงอายุ ถือเป็นบุคคลที่ต้องการการดูแลเอาใจใส่เป็นกรณีพิเศษ เพราะด้วยวัยที่มากขึ้น ทำให้ร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นตาที่เริ่มพร่ามัว หูที่ได้ยินไม่ชัด รวมถึงความทรงตัวที่ดูจะน้อยลงตามอายุที่มากขึ้น เป็นเหตุให้ผู้สูงอายุเกิดอุบัติเหตุหกล้มได้ง่าย และแน่นอน เมื่อผู้สูงอายุเกิดหกล้มแล้ว จะส่งกระทบต่อคนในครอบครัวเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นค่ารักษาพยาบาล และเมื่อผู้สูงอายุหกล้มแล้ว แน่นอน ไม่เหมือนเดิม และต้องใช้เวลาพักฟื้นค่อนข้างนาน บางรายอาจเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือแม้กระทั่งเสียชีวิต ก็มี ถึงแม้การพักฟื้นของผู้สูงอายุ จำเป็นอย่างมาต้องดูแลอย่างใกล้ชิด ต้องจ้างคนดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ช่วงพักฟื้น หรือ นอนติดเตียง เหล่านี้ ล้วนแล้วแต่มีค่าใช้จ่ายที่สูงทีเดียว บางครอบครัวที่ไม่มีรายได้เพียงพอที่จะจ้างคนดูแล ลูกหลานจำเป็นต้องลาออกจากงาน เพื่อมาดูแลผู้สูงอายุที่บ้านด้วยตัวเอง และแน่นอน รายได้ในบ้านก็ลดลง เป็นผลให้คุณภาพชีวิตลดลงตามรายได้ที่ขาดหายไป มีงานศึกษาวิจัย จากมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ระบุว่า ผู้สูงอายุที่หกล้ม 1 ใน 5 ไม่สามารถกลับมาเดินได้เหมือนเดิม บางรายถึงกับต้องนั่งรถเข็นไปตลอดชีวิตที่เหลือ สร้างความทุกข์ใจกับผู้สูงอายุนั้น ๆ

ทีนี้ เมื่อเราทราบถึงอันตรายที่เกิดขึ้นในกรณีผู้สูงอายุหกล้ม เรามาดูวิธีป้องกัน พร้อมกันเลยค่ะ :-

EC3E81CD DA54 4C7F 8700 BC19C67E73E6

1) หาอุปกรณ์ช่วยเวลาเดินสำหรับผู้สูงอายุ

แน่นอน ในวัยนี้ การทรงตัวย่อมจะไม่แน่น แข็งแรงเหมือนวัยหนุ่มสาว ดังนั้นเวลาเดิน แนะนะควรมีตัวช่วยในการทรงตัว เพื่อป้องกันการหกล้ม ไม่ว่าจะเป็น ไม้เท้าสามขา วอลค์เกอร์ (ไม้เท้าสี่ขา) ไม้ค้ำยัน ต่าง ๆ และแนะนำควรเลือกให้เหมาะสมกับความสูง (ปรับขนาดต้องไม่ยาวหรือสั้นเกินไป) เพราะถ้าปรับขนาดไม่พอดีกับความสูง แทนที่จะป้องกันหกล้ม กับกลายเป็นเหตุให้หกล้ม ก็เป็นได้

A1DFB

2) จัดอุปกรณ์ภายในบ้านเพื่อเอื้อต่อผู้สูงอายุ

• ทางลาดในบ้าน ควรจะมีเพื่อผ่อนแรงผู้สูงอายุในกรณีที่ต้องใช้ Wheel Chair (เก้าอี้รถเข็นผู้ป่วย) ควรทำทางลาดไว้ตามบันไดต่าง ๆ ความชันไม่ควรเกิน 5 องศา และมีความกว้างไม่น้อยกว่า 90 ซม. และมีความลาดยาว ต้องไม่เกิน 5 เมตร

• ขนาดเตียงต้องเหมาะสม
ควรจัดให้นอนบนเตียงที่มีความยาวไม่น้อยกว่า 180 ซม. สูงประมาณ 40 ซม.

• ต้องเพิ่มราวจับ
เพิ่มราวจับบริเวณทางเดินรอบบ้าน ในห้องน้ำ การติดตั้งราวจับ ควรเน้นให้มีลักษณะสั้น – ยาว หรือเป็นรูปตัวซี ได้เลยค่ะ ติดตั้งที่ผนังห้องน้ำ ทางเดินลาด ทางเดินในบ้าน ห้องครัว และออกแบบติดตั้งไว้สูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 80 ซม.

• ต้องเพิ่มแรงเสียดทานให้พื้น
แน่นอน เพื่อระวังการหกล้ม พื้นต้องพื้นแรงเสียดทาน เช่น ติดแผ่นกันลื่น เป็นแถบยางกันลื่น หรือ วัสดุไม้สังเคราะห์ หรือถ้าเป็นกระเบื้อง ควรเป็นกระเบื้อง ลวดลายกันลื่นโดยเฉพาะ ที่ปัจจุบัน มีหลายแบรนด์ หลายลวดลายให้เลือก เพื่อความสวยงามด้วย

8D3D770A 1338 44FC 8F53 AE65B87474DC

3) หมั่นสังเกตอาการของการมองเห็น

สังเกตอาการ หรือสิ่งผิดปกติของการมองเห็น เช่น ตาพร่า มัว บอกระยะห่างชัดเจนไม่ได้ และการที่ไม่สามารถแยกความต่างของสีได้ เหล่านี้ ควรต้องสังเกต เพื่อปรึกษาแพทย์เพื่อแก้ไข

750CB

4) หมั่นสังเกตอาการผิดปกติด้านการรับรู้

ไม่ว่าจะเป็นอาการสับสน ความหลงลืม ของวันเวลาต่าง ๆ ชื่อเพื่อน ชื่อลูกหลาน หรือ สมาชิกครอบครัว รวมถึงการทำการตัดสินใจช้าลง ตอบสนองต่อการรับรู้ช้า นั่นเอง

984F6

5) หมั่นสังเกตผิดปกติการเดิน

การเดิน การทรงตัวในการเดิน เพราะผู้สูงอายุมีกลไกการทำงานที่จะควบคุมการทรงตัวลดลง ทำให้บางที ยืนเฉย ๆ อาจเซ ได้ เรียกว่า เด็กวิ่งชน สามารถทำให้ท่านล้มได้เลย

0B645ACE E2CA 4064 9689 694562856E15

6) ดูยาที่รับประทานประจำ

การทานยาประจำ อาจมีผลให้เสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มได้ ไม่ว่าจะเป็น ยาแก้โรคซึมเศร้า ยากล่อมประสาท ยาลดความดันเลือด หรือมีประวัติการใช้ยาไม่ต่ำกว่า 4 ชนิดเป็นต้นไป

03F4FBC2 3DA6 44CB BCD0 7AC10CF3906D

7) ควรเปลี่ยนอิริยาบถอย่างช้า ๆ

เพื่อป้องกันภาวะความดันตกในท่ายืน ท่านั่ง อาการหน้ามืด วิงเวียน ขณะลุก หรือยืนทุกครั้ง

AA6F

8) เน้นการออกกำลังกาย
ถึงแม้ผู้สูงอายุ จะเป็นวัยที่อายุมาก แต่การออกกำลังกายให้เหมาะสมกับวัยยังเป็นหนึ่งความสำคัญเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อในร่างกาย และยังช่วยเพิ่มความสามารถในการทรงตัวได้เป็นอย่างดี แต่สิ่งที่ควรพึงระวัง คือ ต้องเลือกชนิดการออกกำลังกายให้เหมาะกับอายุด้วย เพื่อป้องกันอาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดจากการออกกำลังกาย

ผู้สูงอายุในครอบครัว ถือเป็นบุคคลที่เป็นที่รัก เราควรเอาใจใส่ท่านให้มาก การดูแลสุขภาพให้ปลอดภัยแล้ว มีความสำคัญไม่น้อยกว่า การดูแลสุขภาพทางจิตใจด้วย เพื่อให้ท่านได้อยู่กับเรานาน ๆ ถ้าเป็นไปได้ ผู้สูงอายุในวัยนี้ ไม่ต้องการอะไรมากกว่าไปกว่า การที่ลูกหลานมีเวลาพูดคุย ทานอาหาร กับท่าน เพียงเท่านี้ ท่านก็สุขใจมากที่สุดแล้วค่ะ

#คินน์เพื่อชีวิตยืนยาวและยั่งยืน