Economics

ไม่สำเร็จ!! ‘รณรงค์ไม่เป็นผล’ เหตุกทม.ตีช่องแดงเดินรถฉุกเฉิน

กทม.เผย เบื้องหลังตีช่องแดงสำหรับเดินรถฉุกเฉิน เหตุรณรงค์ไม่เป็นผล  ระบุ ทำในเส้นทางสั้นๆ ช่วงเข้าออกโรงพยาบาลกลางเมือง ที่การจราจรติดขัด จับกฎหมายจราจรเอาผิด คนฝ่าฝืนไม่หลีกรถพยาบาลเจอปรับ 500 บาท

som 1
สมชาย เดชากรณ์

นายสมชาย เดชากรณ์ รักษาการผู้อำนวยการสำนักการจราจร และขนส่ง กรุงเทพมหานคร กล่าวว่า กรณีการจัดช่องทางเดินรถสำหรับรถฉุกเฉิน ที่กรุงเทพมหานครกำลังตีเส้นสีแดงสำหรับช่องทางเดินรถฉุกเฉินใน 4 เส้นทางนั้น เป็นไปตามมติของคณะกรรมการบูรณาการประสานงานกรณีกู้ชีพฉุกเฉิน เลขาธิการวุฒิสภา ทำหน้าที่เลขาธิการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ที่มีนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คนที่ 1 เป็นประธาน ซึ่งได้มีการเรียกทุกภาคส่วนไปหารือ ทั้งกทม. ตำรวจ และโรงพยาบาล เป็นต้น เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับรถฉุกเฉินที่ต้องรับส่งคนไข้ไปยังโรงพยาบาลที่อยู่ในเส้นทางการจราจรติดขัด

หลังจากที่ประชุมได้สรุปร่วมกันถึงเส้นทางที่จะตีช่องทางจราจรฉุกเฉิน ทางกองบัญชาการตำรวจนครบาลจะออกระเบียบเจ้าพนักงานจราจรในเขตกรุงเทพมหานครเกี่ยวกับการจัดช่องทางเดินรถสำหรับรถฉุกเฉิน  ตามพ.ร.บ.จราจรทางบก มีบทปรับกรณีฝ่าฝืน 500 บาท

ในปี 2559 ดำเนินการเฟส 1 นำร่องทำช่องทางฉุกเฉินแล้ว 1 เส้นทางไปยังโรงพยาบาลราชวิถี หลังจากการประเมินได้ผลดี จึงมีการดำเนินการต่อในเฟส 2 จำนวน 4 เส้นทางในปลายปี 2561 เพื่อให้ทันเทศกาลปีใหม่ที่จะรณรงค์วินัยการจราจรไปพร้อมกับการรณรงค์ เรื่อง 7 วันอันตราย

เส้นสีแดง  4 เส้นทาง

  • โรงพยาบาลเลิศสิน ตั้งแต่แยกนราลม บนถนนสีลม ถึงโรงพยาบาล
  • โรงพยาบาลกลาง มี 2 เส้นทางประกอบด้วย แยกเสือป่า ถนนเสือป่า ไปยังโรงพยาบาล
    แยกบำรุงเมือง ถนนยุคล 2 ไปยังโรงพยาบาล
  • โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ ตั้งแต่แยกถนนตก ไปยังโรงพยาบาล

“เฟสแรกอาจทำถนนเส้นเดียวช่วงสั้นๆ ทำให้คนไม่ค่อยสังเกต แต่หลังจากทำ 4 เส้นทางพร้อมกันทำให้คนเริ่มมีการวิจารณ์ในแง่มุมต่างๆ และมีการร้องเรียนมายังกรุงเทพมหานคร ซึ่งเราก็ได้อธิบายไปเรียบร้อยแล้วว่า เรื่องนี้เป็นผลจากการประชุมคณะกรรมการฯที่มีหลายหน่วยงานมาพูดคุยกัน และเป็นเรื่องของการนำผู้ป่วยไปโรงพยาบาลให้รวดเร็วขึ้น ทางกรุงเทพมหานครไม่ได้ทำเองโดยพลการ และทำเฉพาะช่วงสั้นๆเท่านั้น”

นายสมชาย กล่าวต่อว่าความเห็นในทางลบก็จะมีหลากหลาย อาทิ ทำให้เกิดความสับสนในเรื่องเลนจราจร ทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณโดยใช่เหตุ แต่จากการประเมิน และวิเคราะห์หลังจากทำเฟส 1 พบว่าการนำกฎหมายมาบังคับใช้ในเรื่องจราจรนั้นได้ผลมากกว่าสำหรับประเทศไทย ถือเป็นประเทศเดียวในโลกที่ต้องมีช่องเดินรถฉุกเฉิน 

386229

สำหรับการตีเส้นจราจรสีขาวที่อาจเลือนลางนั้น ทางกรุงเทพมหานครจะได้รับการจัดสรรงบประมาณมาตีเส้นจราจรเป็นประจำทุกปี ปีละ 100 ล้านบาทเศษ ซึ่งบางปีอาจไม่เพียงพอ เพราะบางเส้นทางเช่น ในกรุงเทพฯ ชั้นใน จะมีถนนตัดผ่านจำนวนมาก บางถนนเป็นเส้นทางตัดใหม่ และจะมีการกำหนดวงรอบการปรับปรุงเส้นจราจร 2 ปีต่อครั้ง

อย่างไรก็ตามนอกจากการตีเส้นจราจรฉุกเฉินแล้ว การขับขี่อย่างมีวินัยก็เป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องรณรงค์ไปพร้อมกันด้วย

ในส่วนของการขยายช่องเดินรถฉุกเฉินไปยังเส้นทางอื่นๆนั้น ขึ้นกับการร้องขอของโรงพยาบาล และมติของคณะกรรมการฯ แต่ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับโรงพยาบาลที่อยู่ในเส้นทางจราจรติดขัดบริเวณกรุงเทพชั้นในมากกว่า ส่วนโรงพยาบาลในต่างจังหวัดจะไม่ค่อยมีปัญหาเท่ากรุงเทพ

ทางด้านนายศักดิ์ชาย บทมาตร หัวหน้ากลุ่มเครื่องหมายจราจร  2 สำนักการจราจรและขนส่ง กล่าวเสริมว่า ทั้ง 4 เส้นทางจะตีแล้วเสร็จสมบูรณ์ในคืนนี้ ( 24 ธันวาคม) ระยะทางรวม 3 กิโลเมตร ประกอบด้วย ช่องเดินรถสำหรับรถฉุกเฉิน ป้ายติดตั้งบนขอบทาง และสัญลักษณ์บนพื้นถนนรูปกากบาทขาวทุกๆ 24 เมตร 

สำหรับรถที่จะใช้ช่องทางนี้ได้นอกจากรถพยาบาลแล้ว จะเป็นรถที่ได้รับอนุญาต มีเครื่องหมาย และ มีไซเรนชัดเจน ส่วนรถบ้านหรือแท็กซี่ที่ต้องส่งผู้ป่วยเร่งด่วน หากมาใช้ช่องทางนี้น่าจะได้รับการยกเว้น สามารถทำได้ 

386223

S 36487187

27727 1

Avatar photo