The Bangkok Insight

‘วิถีซีเอสอาร์’…วัฒนธรรมซีพี

เครือซีพีเป็นอาณาจักรธุรกิจขนาดใหญ่ มีบริษัทในเครือเป็นผู้นำตลาดแทบทุกกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มอาหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ถือเป็นหัวหอกสำคัญ สร้างยอดขายในปี 2560 กว่า 5 แสนล้านบาท เติบโตกว่า 8% ทั้งที่มีฐานธุรกิจค่อนข้างใหญ่ 

ธุรกิจเติบโตแล้วให้อะไรกับสังคมบ้าง คงเป็นคำถามที่อยู่ในใจใครหลายคน และก็เป็นคำถามในใจผู้บริหารซีพีเช่นเดียวกัน จึงสะท้อนออกมาผ่านโครงการซีเอสอาร์ Corporate Social Responsibility (CSR) การแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ทำมาอย่างต่อเนื่อง 

44FE36A4 8537 45DB B71B 46DF928FCB1E
นายสุขสันต์ เจียมใจสว่างฤกษ์

นายสุขสันต์ เจียมใจสว่างฤกษ์ ประธานคณะผู้บริหาร ธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม และกรรมการผู้จัดการใหญ่ (ร่วม) ซีพีเอฟ กล่าวว่า ไม่เฉพาะบริษัทเท่านั้นที่ทำกิจกรรมซีเอสอาร์ แต่ในระดับพนักงานของซีพีเอฟ ส่วนใหญ่ก็ซึมซับกับวัฒนธรรมซีเอสอาร์ มีมุมมอง และเป้าหมายเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมด้วยเช่นกัน

36F37EC2 EA0F 4F6F 9403 02A4266F521D
โครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน

แน่นอนด้วยความเป็นบริษัทใหญ่ ซีพีเอฟมีนโยบายชัดเจนเรื่องซีเอสอาร์ ด้วยจำนวนโครงการนับไม่ถ้วน รวมเม็ดเงินในกิจกรรมซีเอสอาร์ของซีพีเอฟ เฉพาะในประเทศไทยปีละไม่น้อยกว่า 200 ล้านบาท ผ่านโครงการต่างๆ ที่ทำมาอย่างต่อเนื่อง เช่น โครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน   โครงการเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชนบท เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่เน้นเรื่องความยั่งยืน และความมั่นคงทางอาหาร สร้างสังคมพึ่งตนเอง

A2FB649C 2C6D 4CF6 97EE 1A82EDE4C951
โครงการคืนสุขผู้สูงวัย

“คืนสุขผู้สูงวัย” เป็นอีกหนึ่งโครงการที่ซีพีเอฟ ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องเช่นกัน โดยเข้าไปเสาะหาผู้สูงวัยที่ยากลำบาก และยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือ มอบค่าใช้จ่ายช่วยเรื่องการครองขีพ ทั้งตัวเงินและสิ่งของ รวมเดือนละ 2,000 บาทต่อราย โดยปัจจุบันมีผู้สูงวัยที่ได้รับความช่วยเหลือกว่า 700 ราย

ทุกโครงการที่ทำล้วนตอบโจทย์ ความรับผิดชอบต่อสังคม นำไปสู่ความยั่งยืน ภายใต้แนวคิด 3 เสาหลัก คือ  “อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดินน้ำป่าคงอยู่” ด้วยการดูแลแหล่งต้นน้ำ ซึ่งซีพีเอฟทำมาตลอด ตอบโจทย์ทั้งเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม 

ซีเอสอาร์กับทุกประเทศที่ลงทุน

นายสุขสันต์ เผยว่า ไม่เพียงประเทศไทยเท่านั้น ที่ซีพีเอฟทำโครงการซีเอสอาร์ แต่กับทุกประเทศที่ซีพีเอฟเข้าไปลงทุนทั้ง 17 ประเทศ จะมีโครงการซีเอสอาร์ทุกที่ แตกต่างไปตามความเหมาะสม

อย่างประเทศเวียดนาม โครงการซีเอสอาร์ที่นั่น ประสบความสำเร็จสูงมาก ด้วยโครงการบริจาคโลหิต และโครงการแพทย์อาสาเข้าไปรักษาผู้ป่วยในชนบทห่างไกล ลงทุนไม่มากแต่ช่วยคนได้เยอะ 

การทำซีเอสอาร์ ต้องเป็นการให้ที่ไม่มุ่งหวังผลประโยชน์หรือสิ่งตอบแทน

นโยบายซีเอสอาร์ ของซีพีเอฟ รับแนวคิดตรงมาจากท่านประธานอาวุโสธนินท์ เจียรวนนท์ ที่ย้ำตลอดว่า ซีพีต้องทำซีเอสอาร์ควบคู่ไปกับธุรกิจ ต้องอยู่เคียงข้างและเป็นมิตรกับสังคม สร้างความยั่งยืน และความมั่นคงระยะยาว   

นอกจากนี้ สิ่งแวดล้อมเป็นอีกเรื่องที่ซีพีเอฟให้ความสำคัญ เพราะเราทำธุรกิจเกษตร เรื่องสิ่งแวดล้อมจึงสำคัญมาก

C5AD6ADB 4D9D 4B88 83B3 3BF17BC7FCBD
โครงการคืนสุขผู้สูงวัย

ซีพีเรามองว่าการทำงาน ทุกคนเป็นหุ้นส่วนกัน ชุมชนอยู่ได้เราก็อยู่ได้ เราจึงเน้นด้านความยั่งยืน ต่อเนื่องต่อยอดการพัฒนา สร้างเสริมอาชีพให้ชุมชนพึ่งตนเองได้ เช่นโครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน เป็นโครงการที่ทำแล้วสามารถปล่อยได้  ทำให้โรงเรียนมีรายได้ เลี้ยงตนเองได้

ธุรกิจโตต่อเนื่องเป้า 5 ปี 6 แสนล้าน 

แต่การจะทำซีเอสอาร์ได้ บริษัทต้องประสบความสำเร็จ เศรษฐกิจต้องได้ ตัวเองต้องแข็งแรง จึงจะทำซีเอสอาร์ให้กับสังคมได้เต็มที่ ซึ่งซีพีเอฟวันนี้แข็งแรง และยังคงก้าวไปข้างหน้า

“หลังจากนี้ ซีพีเอฟจะไปเติบโตในต่างประเทศมากขึ้น ขณะที่เมืองไทย จะให้น้ำหนักอาหารแปรรูป โดยต่อไปอาจเป็น 10 ปีข้างหน้า เราจะไม่ขายหมู-ไก่มีชีวิต แต่จะเน้นพัฒนาอาหารแปรรูปมากขึ้น” นายสุขสันต์ กล่าว

สำหรับยอดขายซีพีเอฟตั้งเป้าภายใน 5 ปีข้างหน้า หรือปี 2566 จะมียอดขาย 6 แสนล้านบาท และในอนาคตตลาดต่างประเทศ จะเป็นยอดขายหลักของบริษัท

โดยอีก 5 ปียอดขายในไทยจะมีสัดส่วน 25-30% ขณะที่ยอดขายต่างประเทศจะอยู่ที่ 70-75% ทั้งนี้ ไม่ได้หมายความว่าตลาดในประเทศไม่ดี แต่เป็นเพราะเราขยายตลาดต่างประเทศมากขึ้น

“การรุกไปต่างประเทศ จะเป็นการลงทุนตามสเตปท์ คือ เริ่มจากอาหารสัตว์ ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ แล้วค่อยทำอาหารแปรรูป“ นายสุขสันต์ กล่าวและว่า ซีพีเอฟยังคงเดินหน้า ผลิตอาหารป้อนตลาด ทั้งในและต่างประเทศ แต่จะแยกการให้ความสำคัญ แต่ละตลาดอย่างชัดเจน

Avatar photo