Finance

เปิดแชมป์ 10 หุ้นใหญ่วิ่งสวนดัชนีปีนี้

ภาพรวมตลาดหุ้นไทยในปี 2561 ดัชนีปรับตัวลดลงจากแรงเทขายของนักลงทุนต่างชาติเป็นสำคัญ ซึ่งในรอบปีนี้มียอดขายสุทธิรวมกว่า 2.8 แสนล้านบาท และกดดันให้ดัชนีหุ้นไทยปรับตัวลดลงไปแล้วเกือบ 6%

หุ้นใหญ่ที่ราคาปรับตัวขึ้นสูงสุดตั้งแต่

หุ้นส่วนใหญ่ที่ปรับตัวลงแรงจะเป็นหุ้นขนาดใหญ่ เนื่องจากต่างชาติมีสัดส่วนการถือครองในระดับสูง  และแม้ว่าหุ้นใหญ่จะปรับตัวลง แต่ยังมีหุ้นบางตัวที่สามารถต้านกระแสแรงเทขายได้และสามารถปรับตัวขึ้นสวนทางได้อย่างน่าสนใจ

จากการสำรวจหุ้นที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด(มาร์เก็ตแคป)ขนาด 100 อันดับแรกของตลาดหุ้นไทย ตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน พบว่ามีหุ้น 10 บริษัทที่ราคาปรับตัวขึ้นเกิน 19%  ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า หากผู้ลงทุนซื้อหุ้นดังกล่าวตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน หากขายออกมาก็จะได้รับผลตอบแทนจากส่วนต่างราคาหุ้น และยังไม่นับรวมกับอัตราเงินปันผลที่ได้รับในช่วงที่ถือลงทุนในปีนี้

สำหรับหุ้นที่ราคาหุ้นสวนทางดัชนีประกอบด้วย หุ้น KTC  ราคาปรับตัวขึ้น 82.80% ,หุ้น AEONTS 82.61%, หุ้น PTTEP35%, หุ้น CKP 29.95%,หุ้นGLOBAL 29.29%,หุ้น BDMS 27.99%,หุ้น MTC 27.10%,หุ้น HMPRO 20.31%, หุ้นVGI 19.85%และหุ้น BEM 19.48%

จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นว่าราคาหุ้นที่ปรับตัวขึ้นได้ดีจะอยู่ในกลุ่มธุรกิจนอนแบงก์ หรือกลุ่มสินเชื่อ ซึ่งได้รับแรงสนับสนุนจากปัจจัยของภาพรวมอุตสาหกรรมมีแนวโน้มดีจากความต้องการสินเชื่อเพิ่มขึ้นท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่กำลังจะเติบโต ขณะเดียวกันมีปัจจัยสนับสนุนเฉพาะตัว เช่นการปรับลดราคาพาร์ 

นอกจากนี้ในอีก 2 ปีข้างหน้าเชื่อว่ากลุ่มนอนแบงก์จะยังเติบโตได้ดีเนื่องจากการเลือกตั้งจะช่วยสนับสนุนการบริโภคและการจับจ่ายใช้สอยให้ดีขึ้นด้วย

บล.ทิสโก้ มีความเห็นว่า กลุ่ม non-bank สามารถยึดตลาดทั้งเครดิตการ์ด และสินเชื่อส่วนบุคคลที่เพิ่มขึ้นตามแนวโน้มเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว แต่ฝ่ายวิจัยมองว่าปี 2561-2562 จะเป็นความเสี่ยงจากสัดส่วนของสินเชื่อบัตรเครดิตที่เพิ่มขึ้นมากแล้ว แต่สินเชื่อส่วนบุคคลอื่นๆ ยังสามารถเพิ่มขึ้นได้ และมองว่าการเลือกตั้งในปีหน้าจะเป็นปัจจัยหนุนการบริโภคและคุณภาพสินทรัพย์ ทั้ง KTC และ AEONTS หันมาเน้นสินเชื่อส่วนบุคคลเพิ่มขึ้นในช่วง 2ปีข้างหน้า

โดย AEONTS มีส่วนแบ่งการตลาดที่สูงในกลุ่มสินเชื่อส่วนบุคคลที่ 11.2% เทียบกับ KTC ที่ 7% แม้ว่า KTC จะมีนโยบายในเชิงรุกมากกว่า และมีสัดส่วนสินเชื่อส่วนบุคคลเพิ่มขึ้นเป็น 35.6% ในไตรมาส ปีนี้ และได้ลดสัดส่วนสินเชื่อในส่วนนี้ลงจากความกังวลด้านคุณภาพสินทรัพย์ ทำให้สัดส่วนสินเชื่อบุคคลลดลงเป็น 52.1% ในช่วงไตรมาส 2ปีนี้ ซึ่งฝ่ายวิจัยคาดว่าสินเชื่อส่วนบุคคลจะเพิ่มขึ้น 10-13% สำหรับทั้ง 2 บริษัท

KTC

ทั้งนี้ คาดผลประกอบการ KTC เพิ่มขึ้น 58.6% เป็น 5.24 พันล้านบาท สำหรับปี 2561 และ AEONTS เพิ่มขึ้น 22% เป็น 3.58  พันล้านบาท ซึ่งประเมิน กำไรก่อนการตั้งสำรองของ KTC เพิ่มขึ้น 8.6%, 10.1% และ 9.1% สำหรับปี 2561-2563 และสำหรับ AEONTS ที่ 13.8%, 11.3% และ 12.1%

หากรวมการตั้งสำรองส่วนเกินแล้ว ผลประกอบการของ KTC จะเพิ่มขึ้น 58.6%, 12.4% และ 10% ทำให้มีอัพไซด์สำหรับปี2562-2563 และผลประกอบการของ AEONTS จะเพิ่มขึ้น 22%, 15.9% และ 15.1% สำหรับปี 2561-2562 หนุนโดยสินเชื่อที่เพิ่มขึ้น และหนี้เสียที่ฟื้นตัว

บล.โนมูระ พัฒนสิน ระบุว่า  KTC มีแผนจะทำ นาโนไฟแนนซ์ และ Pico-Finance ซึ่งอยู่ในระหว่างการส่งเรื่องไปขออนุมัติจากทาง KTB โดยมองว่าหาก KTC สามารถทำได้จริง จะช่วยเพิ่มอัตราผลตอบแทน และสินเชื่อได้ อย่างไรก็ตาม บริษัทยังไม่ได้ให้รายละเอียดที่ชัดเจน ดังนั้นจึงยังไม่ให้น้ำหนักในธุรกิจนี้ โดยในปี 2561 ผู้บริหารตั้งเป้ากำไรสุทธิขั้นต่ำอยู่ที่ 10%จากงวดเดียวกันของปีก่อน ปัจจัยหนุนหลักจากสินเชื่อรวมโต ตั้งเป้า 10%จากปีก่อน และยังสามารถคุม NPL ให้อยู่ในระดับใกล้เคียงกับปีนี้ได้

บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส คาดว่าการที่ AEONTS ได้ปรับโครงสร้างสาขา ใช้ดิจิทัลเพิ่มขึ้น และบริษัทขยายธุรกิจต่างประเทศ และการปรับโครงสร้างระหว่างบริษัทแม่กับบริษัทย่อย ACS Servicing โดยมีการย้ายพนักงานเรียกเก็บหนี้เข้ามาที่ AEONTS ทำให้ค่าใช้จ่ายเพิ่ม 20-30 ล้านบาท ทั้งนี้บริษัทกำลังทยอยปิดจุดบริการขนาดเล็กตามมอลล์ต่างๆ ยกเว้น Big C และปิดตัวแทนที่ไม่ค่อยมีลูกค้า ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายดำเนินงานในระยะต่อไป ปัจจุบันมีลูกค้าที่ดาวน์โหลดแอพ AEON ราว 1 ล้านราย (Active ประมาณ 50%)

การเติบโตในไทยแข็งแกร่งสินเชื่อโตดีต่อในครึ่งปีหลัง(งบปีสิ้นสุดก..2562) หลังเปิดตัว AEON Happy Pay เมื่อ 30 ..61 ซึ่งลูกค้าสามารถใช้เครดิตไลน์เปลี่ยนเป็นเงินกู้ด้วยการเบิกเงินสดออกมา ทำให้สินเชื่อส่วนบุคคลเติบโตได้แข็งแกร่ง ด้านบัตรเครดิตก็จับมือกับพันธมิตรที่เป็นร้านค้าต่างๆ มากขึ้น รวมทั้งมุ่งเน้นไปยังลูกค้าระดับกลางบนเพิ่มขึ้นด้วย

ธุรกิจต่างประเทศ (ในกัมพูชา, เมียนมา, ลาว) ขยายตัวสูงและมีกำไร คาดว่าปีนี้ (สิ้นสุดก..2562) จะเติบโตเท่าตัว โดยเฉพาะในเมียนมาและกัมพูชาที่ขยายตัวสูงทั้งสินเชื่อส่วนบุคคลและสินเชื่อไฟแนนซ์ (โทรศัพท์มือถือ) และบัตรเครดิตในกัมพูชา ทั้งนี้ปัจจุบันรายได้ต่างประเทศคิดเป็น 4% ของรายได้และเป็น 3% ของกำไรสุทธิ บริษัทมีเป้าเพิ่มเป็น 10% ในปี 2566/2567

อย่างไรก็ตาม จากการประเมินของนักวิเคราะห์ ยังคงเชื่อว่ากลุ่มนอนแบงก์จะยังสามารถเติบโตได้ดีไปอีก 1-2 ปีข้างหน้าดังนั้นโอกาสที่ราคาหุ้นของกลุ่มดังกล่าวน่าจะสามารถปรับตัวเพิ่มขึ้นได้อีกอย่างแน่นอน

Avatar photo